important day thai

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

      สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ ณ บ้านพักของท่านพระยาวงษานุประพันธ์ ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า "สิริกิติ์"
 
        พระองค์ ทรงศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินีล่าง แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังต์ ซีสซาเวียร์ตำบลสามเสน เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้เสด็จตามพระราชบิดาซึ่งไปดำรงตำแหน่งแห่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก และทรงศึกษาด้านภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นอย่างดี
 
    
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งแรก ณ ฟองเทนโบล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2492 จนกระทั่งถึงวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
 
        วัน ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นในวังสระปทุม พร้อมทั้งได้มีพระราชโองการดำรัสให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ครั้นถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีให้ทรงฐานันดรเพิ่มขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
 
        วัน ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาได้ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นผลดีทุกประการ ต่อมาได้ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ" นับเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถองค์ที่สองแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุก หนทุกแห่ง ทรงรับทราบทุกข์สุขของราษฎร ได้ทรงหาทางแก้ไข เพื่อให้ราษฎรได้กินดีอยู่ดี ด้วยการพระราชทานพระราชดำริเป็นโครงการอาชีพเสริม โดยต้นเป้นครั้งแรกที่กลุ่มแม่บ้านหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
 
        โครงการ อาชีพเสริมได้แพร่หลายไปในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศจึงเป็นที่รับทราบกันอย่างกว้างขวาง จึงได้มีผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าฯถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อใช้จ่ายในกิจการเหล่านี้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิขึ้นใน พ.ศ. 2519 พระราชทานชื่อว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เพื่อสนับสนุนการประดิษฐ์ศิลปะพื้นบ้านให้เป็นอาชีพเสริมแก่ชาวไร่ชาวนาใน ยามว่างจากฤดูทำไร่ทำนา
 
        ได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วยเช่น
        1.    โครงการป่ารักน้ำ ณ ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
        2.    โครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ที่เกาะมัน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
        3.    โครงการสวนสัตว์ธรรมชาติภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
        4.    โครงการศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่ช่องกล่ำบน จังหวัดสระแก้ว และที่โคกไม้เรือ จังหวัดนราธิวาส
        5.    โครงการสวนสัตว์เปิด ศูนย์ป่าตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
 
 
        นอก จากนี้ยังทรงปฏิบัติพระราชกิจเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ อาทิ การต้อนรับประมุขของนานาประเทศที่มาเยือนประเทศไทย และเสด็จไปเยี่ยมเยียนประเทศต่าง ๆ อันเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยในอนาคต
 
        เมื่อ ทรงว่างเว้นจากพระกรณียกิจดังกล่าว จึงจะมีเวลาว่างสำหรับถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลกระหม่อมทุกพระองค์ ทรงเป็นพระมารดาที่น่าเคารพของทูลกระหม่อม พระองค์ทรงอบรมทูลกระหม่อมด้วยพระองค์เองตามแบบไทย ให้รู้จักเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ และหัดทรงงานด้วยพระองค์เอง
 
        ด้วย พระกรณียกิจของพระองค์ท่านได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พสกนิกรชาวไทยและประเทศ ชาติอย่างใหญ่หลวง จึงถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถเป็นวันสำคัญของไทย
 
 
 


แหล่งอ้างอิง :
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque volutpat volutpat nibh nec posuere. Donec auctor arcut pretium consequat. Contact me 123@abc.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น