important day thai

วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วันคุ้มครองโลก Earth Day 22 เมษายน 2555

วัน Earth Day หรือวันคุ้มครองโลกทุกวันที่ 22 เมษายนของทุกปี  

ที่เป็นโอกาสอันดีที่คนทั่วโลกจะพร้อมใจกันทำประโยชน์ เพื่อรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกัน และให้โลกของเราคงอยู่ด้วยอากาศที่บริสุทธิ์และสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อไป เพราะระยะหลังมานี้ โลกของเราเริ่มประสบกับปัญหาสิ่งแวดล้อม และนับวันจะมนุษย์จะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงมากขึ้น เห็นได้จากการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ มลพิษ โดยเฉพาะปัญหาการเกิดปรากฎการณ์เรือนกระจก หรือ Green House Effect ที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างรวดเร็ว จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในหลาย ๆ ด้าน และ วันนี้กระปุกดอทคอมจึงจะพาไปรู้จัก วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day กันให้มากขึ้นค่ะ

ประวัติความเป็นมา วันคุ้มครองโลก (Earth Day)

           โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations Environment Program หรือ "UNEP") ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 22 เมษายนของทุกปีเป็น วันคุ้มครองโลก หรือ Earth Day (เอิร์ธเดย์)  โดยผู้ที่ริเริ่มแนวคิด วันคุ้มครองโลก เป็นคนแรกก็คือ เกย์ลอร์ด เนลสัน (Gaylord Nelson) สมาชิกวุฒิสภาของสหรัฐอเมริกา

           โดยเมื่อปี พ.ศ.2505 เกย์ลอร์ด เนลสัน ได้ขอให้ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ หยิบยกเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคนเนดี้ ก็เห็นด้วยและได้ออกทัวร์ทั่วประเทศ เป็นเวลา 5 วัน 11 รัฐ ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2506 ซึ่งการทัวร์ครั้งนี้นับเป็นจุดเริ่มต้นของการริเริ่ม วันคุ้มครองโลก

           ต่อมาในปี พ.ศ.2512 วุฒิสมาชิกเนลสัน ได้ผลักดันให้มีการชุมนุม แสดงความคิดเห็นเรื่องสิ่งแวดล้อมในระดับประชาชนรากหญ้าทั่วประเทศ ทำให้เกิดเป็นกระแสตื่นตัวเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปทั่ว สหรัฐอเมริกา

           จนเมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 ประชาชนอเมริกันที่ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม กว่า 20 ล้านคน ได้พร้อมใจกันมาชุมนุม เพื่อประท้วงการเพิ่มขึ้นของมลภาวะ และการทำลายทรัพยากรธรรมชาติบนพื้นโลก ผลจากการชุมนุมก่อให้เกิดการออกพระราชบัญญัติแก้ไขมลพิษในอากาศของสหรัฐ อเมริกา และมีการจัดตั้งสำนักงานป้องกันสิ่งแวดล้อมแห่งชาติขึ้น จนในที่สุดก็มีการกำหนดให้วันที่ 22 เมษายน ของทุกปีเป็นวันคุ้มครองโลก หรือ "Earth Day" โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ.2513 เป็นต้นมา

           ทั้งนี้ นิตยสาร อเมริกัน เฮริเทจ (American Heritage Magazine) ฉบับเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 ได้หวนรำลึกถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า "เป็นเหตุการณ์ที่โดดเด่นที่สุดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ ของประชาธิปไตย"

ประเทศไทยกับวันคุ้มครองโลก


          
และ เมื่อทั่วโลกต่างจัดกิจกรรมร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ประเทศไทยเองก็ไม่ได้น้อยหน้า ได้เริ่มจัดให้มีการรณรงค์ วันคุ้มครองโลก ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2533  โดยโรงเรียนสอนภาษาสมาคมนักเรียนเก่าสหรัฐอเมริกา และในปี พ.ศ.2533 นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หลังจาก สืบ นาคะเสถียร หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งกระทำอัตวินิบาตกรรม และตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาก็ได้มีการรณรงค์อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อมมาโดยตลอด เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติ ป่าไม้ และผลกระทบอันร้ายแรงจากการตัดไม้ทำลายป่า  นอกจากนี้ก็ยังมีการจัดกิจกรรมรักษ์ธรรมชาติ เพื่อหารายได้เข้ามูลนิธิ สืบ นาคะเสถียร ผู้บุกเบิกด้านการอนุรักษ์ป่าไม้คนสำคัญของประเทศไทยอีกด้วย


วันคุ้มครองโลก : Earth Day

 เป้าหมายของวันคุ้มครองโลก

           1. เพื่อลดอัตราการเกิดคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีอยู่อย่างหนาแน่นในบรรยากาศ

           2. เพื่อกำจัดคลอโรฟลูออโรคาร์บอน ซึ่งเป็นตัวทำลายสภาพโอโซนและก่อให้เกิดการสะสมความร้อนให้หมดสิ้นไป

           3. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าที่เหลืออยู่ ทั้งที่เป็นป่าเบญจพรรณและป่าดงดิบ

           4. เพื่อห้ามการซื้อ-ขายสิ่งมีชีวิต ที่อาจทำให้ภาวะการเจริญพันธุ์ลดลงหรือหมดสิ้นไป

           5. เพื่อคงสภาพระดับประชากรไว้ ให้อยู่ในสภาพที่สมดุลกับทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่

           6. เพื่อสร้างพลังอำนาจจากองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกให้ร่วมกันปกป้องบรรยากาศ น้ำ และสภาพอื่น ๆ ให้พ้นจากการกระทำที่มิชอบของมนุษย์

           7. เพื่อสร้างสำนึกที่จะรักษาโลกไว้ทั้งบุคคล ชุมชน และชาติ

 กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันคุ้มครองโลก

           ปัจจุบันมีหลายหน่วยงานทั่วโลกที่เห็นความสำคัญของ วันคุ้มครองโลก มากขึ้น จึงได้ร่วมกันรณรงค์ และจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ทุกคนตระหนักถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น

           1. ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ทั่วทุกหนทุกแห่ง โดยเฉพาะแถบแอฟริกา เคนยา ไนจีเรีย และนามิเบีย เป็นต้น

           2. อนุรักษ์ต้นไม้ใหญ่ที่เหลืออยู่ในเมือง หมู่บ้าน และภูเขา

           3. รณรงค์ให้มีการอนุรักษ์ป่าธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและที่อยู่ อาศัยของสัตว์ป่า

           4. เน้นการคุมกำเนิด เพื่อให้จำนวนประชากรได้คงอยู่ในระดับคงเดิม

           5. ให้การศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

           6. ร่วมกันรักษาความสะอาดตามถนนหนทาง ชายหาด อุทยาน และสถานที่สาธารณะต่าง ๆ

           7.รณรงค์ให้มีการคัดแยกขยะในแต่ละครัวเรือน เพื่อนำไปรีไซเคิล หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณขยะ

            เนื่องจากวันนี้ 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก (Earth Day) กระปุกดอทคอม จึงขอเชิญชวนทุกท่านที่ยังไม่มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ ใช้โอกาสนี้เป็นวันเริ่มต้นในการทำกิจกรรมเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ช่วยกันรักษาความสะอาดตามที่ต่าง ๆ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำลายชั้นบรรยากาศ และลดการใช้พลังงานต่าง ๆ เท่าที่จะทำได้ ทั้งนี้ก็เพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนที่กำลังเข้าขั้นวิกฤตอยู่ในขณะนี้ ซึ่งถ้าหากเราทุกคนช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมกันตั้งแต่วันนี้ แน่นอนว่าคนที่ได้รับผลประโยชน์จากการรักษาธรรมชาติก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่คือมนุษย์ทุกคนนั่นเอง

วันครอบครัว 14 เมษายน ของทุกปี 

ความสำคัญของวันครอบครัว
ครอบครัว คือ สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้

ประวัติวันครอบครัว

เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกัรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก
การ ที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว อีกทั้งลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม

กิจกรรมในวันครอบครัว

1. จัดนิทรรศการเพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ ของสมาชิกในครอบครัว
2.จัดมอบรางวัลให้สำหรับครอบครัวดีเด่น เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัวที่ทำคุณประโยชน์แก่สังคม และประเทศชาติ

แหล่งที่มา : ศิริวรรณ คุ้มโห้. วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์

 

ครอบครัว
 
14 เมษายนของทุกปีเป็นวันครอบครัว
 
          13 เมษายน ของทุกปีเป็นวันสงกรานต์ คนไทยได้ยึดถือประเพณีอันดีงามสืบต่อกันมาแต่ โบราณกาล ถัดมาอีก 1 วันคือวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันครอบครัว” เพื่อมุ่งหวังจะให้มีการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีแต่ดั้งเดิม ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจบ้านเมือง และยังเป็นช่วงที่คนไทยส่วนได้เดินทางกลับบ้าน ทำให้เทศกาลสงกรานต์ จึงถือเป็นโอกาส รวมญาติ รวมครอบครัว ทำบุญอุทิศ ส่วนกุศลให้กับบุพการี รดน้ำดำหัว ขอพร ผู้เฒ่าผู้แก่ เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล และเพื่อความอบอุ่น เป็นสุขของครอบครัว ตามประเพณีไทยที่เคยปฏิบัติกันมา และรัฐบาลได้กำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงคุณค่า ของสถาบันครอบครัว และใช้เวลาว่างในวันหยุดสุดสัปดาห์ร่วมกันอีกทั้งยังส่งเสริมให้สมาชิกใน ครอบครัวได้อยู่พร้อมหน้าและ ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันเพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกในครอบครัวและสร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัวจะส่งผลให้ สังคมไทยเป็นสังคม ที่มีครอบครัวแข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาสังคมไทยในด้านต่าง ๆ
 
ดูแลกันและกัน 
ประเพณีอันดีงานสือต่อกันมาแต่ โปราณกาล
 

ประวัติวันครอบครัว


           เมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2532 คณะรัฐมนตรี ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เสนอมติโดยคุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เป็นผู้เสนอ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยและอนุมัติ ให้ วันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เป็นวันแห่งครอบครัว ซึ่งตรงกับวันสงกรานต์ของไทย เพราะโดยส่วนใหญ่ในวันนี้เป็นวันที่สมาชิกในครอบครัวมีโอกาสพบปะกันได้โดย สะดวก
 
          การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากคณะกรรมมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน สภาผู้แทนราษฎร ได้สรุปผลจากการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน ว่าปัญหาครอบครัวเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามมาเป็นอันมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติดอาชญากรรม และปัญหาต่าง ๆ อีกมากมาย ปัญหาเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากครอบครัวด้วย เนื่องจากครอบครัว ที่ไม่มีความอบอุ่น ขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกันระหว่างคนในครอบครัว ลักษณะวิถีชีวิตของครอบครัวในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก สมาชิกในครอบครัวต่างต้องดิ้นรนทำมาหาเลี้ยงชีพ หนุ่มสาวที่อยู่ต่างจังหวัดก็เข้ามาในเมืองเพื่อหางานทำ ทำให้ต้องทิ้งพ่อแม่ที่ชราภาพไว้ตามลำพัง พ่อแม่ที่ต้องทำงานหนักเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับลูก และครอบครัว ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูก สิ่งเหล่านี้ล้วน แต่จะสร้างปัญหาให้กับสังคม
 
วันแห่งความสุข 
สร้างความรักความอบอุ่นในครอบครัว
 

ความสำคัญของวันครอบครัว


          ครอบครัว คือ  สถาบันมูลฐานของมนุษย์ชาติ เป็นหน่วยขนาดเล็กที่สุดของสังคม เป็นผู้สร้างและกำหนดสถานภาพ สิทธิ หน้าที่ของบุคคลอันพึงปฏิบัติต่อกันในสังคม เป็น สถาบันแห่งแรกในการถ่ายทอดวัฒนธรรมและพัฒนา ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร การที่ทางราชการกำหนดวันครอบครัวขึ้นมานั้น เนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัวให้มากขึ้น เพราะการที่วิถีชีวิตของคนในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป ย่อมทำให้ครอบครัวมีความขัดแย้ง และห่างเหินกันมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาสังคมตามมาทีหลังได้
 
ทำบุญร่วมกัน 
ทำบุญอุทศิส่วนกุศลให้กับบุพการี

ความหมายของสถาบันครอบครัว

 
1. ความหมายทั่วไป
 
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า " สถาบัน" และ " ครอบครัว " ไว้ดังนี้          
           สถาบัน หมายถึง สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคมจัดตั้งให้มีขึ้นเพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจำเป็นแก่วิถีชีวิตของตน เช่น สถาบันครอบครัว ฯลฯ
           ครอบครัว หมายถึง ผู้ร่วมครัวเรือน คือ สามี ภรรยา และบุตร
 
2. ความหมายตามแนวพุทธศาสตร์
 
            ครอบครัวตามแนวพุทธศาสตร์ ไม่มีการกำหนดตายตัว แต่กล่าวถึงลักษณะอันเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัวของสมาชิกในครอบครัวเท่านั้น ในทางพุทธศาสนาจะกล่าวถึงครอบครัวในรูปของสามีภรรยา บิดา มารดา เท่านั้น ซึ่งถือว่า มารดา บิดาก็ดี สามี ภรรยาก็ดี เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของครอบครัว
 
3. ความหมายในแง่สถาบัน
 
            ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของชายหญิง ในรูปของสามี ภรรยา มีหน้าที่ให้กำเนิดบุตรและเลี้ยงดูบุตร เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ สมาชิกในครอบครัวมีการแสดงออกทางพฤติกรรมต่อกันและกัน ในรูปของการปฏิบัติตามสถานภาพและบทบาทอันเป็นหน้าที่ของสมาชิก
 
ดูแลกันและกัน 
ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัว
 

บทบาทหน้าที่ของสมาชิกในครอบครัวที่พึงปฏิบัติต่อกัน


1. ให้ความรัก ความอบอุ่นและความเอื้ออาทรต่อกัน
2. หันหน้าเข้าหากันและยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
3. ช่วยเหลือ ดูแล เกื้อกูล ซึ่งกันและกัน 
4. ดูแลเอาใจใส่และให้เวลากับครอบครัวมากขึ้น
5. รู้จักวางแผนการใช้จ่ายอย่างประหยัด/ไม่ฟุ่มเฟือย
6. รู้จักให้อภัยซึ่งกันและกัน
7. ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมกันเช่น การเข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่นครอบครัวสนุกกับห้องสมุด ศิลปะสุดสัปดาห์
 
วัฒนธรรม 
ปฏิบัติกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
 
หลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่ง่าย ๆ สำหรับครอบครัวคือ ใช้หลัก 5 อ.
 
1. อ. อภัย เมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดทำผิดพลาดไปบ้างให้นึกถึงคำว่าอภัยเสมอ และจะไม่นำเอาสิ่งที่ผิดพลาดนั้นมาพูดซ้ำเติมอีก
 
2. อ. เอื้อเฟื้อ สมาชิกทุกคนในครอบครัว ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันอย่าคิดว่าไม่ใช่เรื่องของฉันไม่ใช่หน้าที่ของ ฉัน ฉันไม่เกี่ยวเช่น คุณพ่อซักผ้า แม่ถูบ้าน ลูกล้างจาน อย่าคิดว่าเป็นงานของใครคนใดคนหนึ่ง
 
3.  อ. อารมณ์ขัน ฝึกให้มีอารมณ์ขันเสียบ้าง มีการกระเซ้าเย้าแหย่กันบ้างในบางโอกาสอาจเป็นทั้งพ่อทั้งแม่ เพื่อนและพี่สำหรับลูกก็ได้
 
4.  อ. อดทน อดกลั้น อดออม ชีวิตครอบครัวที่จะต้องมี 3 อ นี้ด้วย อดทนต่อความยากลำบากต่าง ๆ ในครอบครัวอดกลั้นต่อสิ่งที่มากระทบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือกิเลสที่มา กระตุ้นเราให้หลุ่มหลง และให้รู้จักอดออมเงินทองที่หามาได้แบ่งไว้ใช้เป็นสัดส่วน ส่วนที่หนึ่ง ใช้จ่ายในครอบครัวส่วนที่สองสำหรับการศึกษาของบุตร สวนที่สามสำหรับค่ารักษาพยาบาลเมื่อยามเจ็บไข้ ส่วนที่สี่บริจาคทานทำบุญสร้างกุศลไว้เป็นเสบียง เมื่อยามจะจากโลก นี้ไป แล้วอีกส่วนหนึ่ง เก็บออมไว้ใช้เมื่อยามแก่เฒ่า
 
5.   อ. อบอุ่น เมื่อเราปฏิบัติได้ 4 อ. ข้างต้นแล้ว อ.ที่ 5 ก็จะตามมาอย่างแน่นอน คือ อบอุ่น เมื่อสมาชิก ทุกคนรู้หน้าที่และบทบาทของตัวเองแล้ว ชีวิตครอบครัวก็คงหนีไม่พ้นคำว่า “สุขภาพจิตเริ่มต้นที่บ้าน” ดังคำขวัญที่ว่าไว้อย่างแน่นอน
 
ความสุข 
เข้าวัดอบรมปฏิบัติธรรมนำครอบครัวอบอุ่น
 
            จากหลักในการปฏิบัติในชีวิตประจำวันจะเห็นได้ว่า สมาชิกทุกคนในครอบครัวต่างมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบและความสำคัญไม่ยิ่ง หย่อนไปกว่ากัน โดยเฉพาะการเสียสละเวลาแก่ครอบครัวเพื่อสร้างความสุขความสัมพันธ์ที่ดีของ สมาชิกในบ้าน เพราะการได้มีเวลาอยู่ด้วยกันมากเท่าใดทุกคนในครอบครัวจะมีโอกาสได้พูด คุยอบรมสั่งสอน รับฟังความคิดเห็น ให้ความช่วยเหลือหรือมีคำแนะนำที่ดีให้แก่กัน สร้างความผูกพัน ความรักใคร่สามัคคีและที่สำคัญคือเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลาน เมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้นในอนาคต วันครอบครัว จึงถือเป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญเพราะเป็นวัน ที่รวมความหมายของความอบอุ่นในครอบครัวเพื่อมอบแก่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะในวันครอบครัวเท่านั้น แต่หมายถึงทุกวันที่มีโอกาสด้วย  
 
วันผู้สูงอายุ

          แม้จะเป็นวัยที่หลายคนนิยามว่าเป็น "ไม้ใกล้ฝั่ง" แต่ "ผู้สูงอายุ" ทั้งหลายคือผู้สร้างประโยชน์ให้แก่ชาติบ้านเมืองมาแล้วนับไม่ถ้วน หรืออย่างน้อย ๆ ก็เป็นหนึ่งในผู้มีพระคุณของครอบครัวที่เราจะละเลยเสียไม่ได้ อีกทั้งผู้สูงอายุ ยังนับเป็นประชากรที่มีสัดส่วนมากถึง 3 ใน 5 ของประชากรโลก ด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงพากันรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ ด้วยการกำหนด "วันผู้สูงอายุ" ขึ้น ประหนึ่งเป็นเครื่องเตือนใจให้บรรดาลูกหลานทั้งหลายหันมอง และเอาใจใส่บุคคลสำคัญเหล่านี้ที่เป็นคนใกล้ตัว

          สำหรับประเทศไทย วันผู้สูงอายุ ถูกผูกรวมไว้กับวันขึ้นปีใหม่ไทย หรือวันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ซึ่งเป็นที่รู้กันดีว่านอกจากจะทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าตามวิถีชาวพุทธแล้ว กิจกรรมสำคัญอันดับต้น ๆ ของวัน ก็คือการรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือนั่นเอง



ผู้สูงอายุ


ความเป็นมาของวันผู้สูงอายุ

          ในประเทศไทยเริ่มจุดประกายเรื่องนี้ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ.2496 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

           1. เพื่อให้การสงเคราะห์คนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ หรือประสบปัญหาความทุกข์ยาก เดือดร้อน ยากจน ไม่มีที่อยู่อาศัย หรือไม่สามารถอยู่กับครอบครัวได้

           2. เพื่อให้บริการแก่คนชราที่อยู่กับครอบครัวของตน แต่มีความต้องการบริการสงเคราะห์คนชราบางอย่าง เช่น การรักษาพยาบาล กายภาพบำบัด นันทนาการ

           3. เพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวผู้มีรายได้น้อย หรือยากจน ที่ไม่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูคนชราไว้ในครอบครัวได้

           4. เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอันเกี่ยวกับคนชรา ไม่ให้เร่ร่อน ทำความเดือดร้อนรำคาญแก่สังคมและให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างผาสุกตามสมควร แก่อัตภาพ

           5. เพื่อเป็นการตอบแทนคุณความดีที่คนชราได้ทำประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ

           6. เพื่อผู้สูงอายุจะได้คลายวิตกกังวล เมื่อชราภาพ ไม่สามารถประกอบอาชีพต่อไปได้แล้วทางรัฐบาลมีหน้าที่จะเป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูต่อไป


ผู้สูงอายุ


          ต่อมา ในปี พ.ศ.2525 ได้มีการจัดประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังได้กำหนดให้ปี พ.ศ.2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า "Add life to Years" เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ช่วยกันส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้คำขวัญเป็นภาษาไทยว่า "ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"

          ในส่วนของรัฐบาลไทยสมัยนั้น ซึ่งตรงกับรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้เห็นความสำคัญต่อนโยบายดังกล่าว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและจัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุของทุกปี


ผู้สูงอายุ


วันผู้สูงอายุสากล

          องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็น "วันผู้สูงอายุสากล" เริ่มมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1999 หรือ พ.ศ.2542 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ.2525 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ให้ความหมายของคำว่า ...

          "ผู้สูงอายุ" หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิง


ดอกลำดวน


ดอกไม้สัญลักษณ์ผู้สูงอายุ

          รัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากจะอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ แล้วกำหนดให้ "ดอกลำดวน" เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย

          สำหรับสาเหตุที่เลือก "ดอกลำดวน" เนื่องจากต้นลำดวน หรือหอมหวล (Melodorum fruticosum Lour) ตามชื่อไทยพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerocoryne clavipes จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae เป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มาก ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น กลีบแข็งแรงไม่ร่วงง่าย เปรียบเหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมคุณงามความดีให้กับลูกหลานไว้เป็น แบบอย่างสืบต่อไป


วันผู้สูงอายุ


กิจกรรมวันผู้สูงอายุ          

          โดย ทั่วไปจะมีการจัดกิจกรรมรดน้ำดำหัว มอบของขวัญ และขอพรจากผู้สูงอายุตามหมู่บ้าน และชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ จะมีการให้สิทธิพิเศษในการใช้บริการ

          สำหรับในปี พ.ศ.2555 นี้ ทางรถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT ได้ให้ความสำคัญแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษด้วยการให้ผู้โดยสารที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป สามารถใช้บริการรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีฟรี 18 สถานี ตั้งแต่วันที่ 13-15 เมษายนนี้

          เช่นเดียวกับรถไฟฟ้า BTS ที่จัดกิจกรรมให้ผู้มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เดินทางด้วยรถไฟฟ้า BTS ฟรี ระหว่างวันที่ 13-15 เมษายน 2555 ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. โดยแสดงบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่พนักงานสถานี เพื่อรับคูปองโดยสารรถไฟฟ้า BTS ฟรีได้ทุกสถานี รวมทั้งสถานีส่วนต่อขยาย
 
          ส่วนรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ก็ได้จัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สามารถโดยสารรถไฟฟรีด้วยเช่นกัน เพียงแค่แสดงบัตรประชาชนต่อเจ้าหน้าที่เท่านั้น

        13 เมษายนนี้ อย่าลืมมาร่วมให้ความสำคัญกับ "ผู้สูงอายุ" กันด้วยนะคะ

วันสงกรานต์


คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ ๑๓,๑๔,๑๕ เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ ๑๓ เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศก  กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทำในเทศกาลนี้ก็มี การทำความสะอาดบ้านเรือน ทำบุญทำทาน สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ และเล่นสาดน้ำกัน เป็นต้น อย่างไรก็ดี นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ประเพณีสงกรานต์ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกหลายอย่าง สำหรับเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์มีดังนี้




ก่อนที่เราจะถือวันสงกรานต์เป็นปีใหม่แบบไทยนั้น สมัยโบราณ เราถือเอาวันขึ้น ๑ ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพราะถือว่าฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปี ซึ่งจะตกราวเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามคติพราหมณ์ ซึ่งมีรากเหง้ามาจากการสังเกตธรรมชาติและฤดูการผลิต เป็น วันขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ หรือประมาณเดือนเมษายน ครั้นในปีพ.ศ. ๒๔๓๒ สมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ ๑ เมษายน และต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๘๓ จอมพลป.พิบูลสงครามก็ได้ประกาศให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จนปัจจุบัน อันเป็นการนับแบบสากล อย่างไรก็ดี คนไทยในหลายภูมิภาคก็ยังยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็นเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ ซึ่งแต่เดิมแม้จะอยู่ในช่วงเดือนเมษายน ก็ไม่ได้ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน ดังเช่นปัจจุบัน จนเมื่อพ.ศ.๒๔๔๔ เป็นต้นมา จึงได้กำหนดเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ตามปฏิทินเกรกอรี่

                 ๒.       นอกจากประเทศไทยแล้ว ยังมีมอญ พม่า ลาว และชนชาติไทยเชื้อสายต่างๆอันเป็นชนส่วนน้อยในจีน อินเดีย ก็ถือว่าสงกรานต์เป็นเทศกาลฉลองวันขึ้นปีใหม่ของเขาด้วยเช่นกัน


                 ๓.       ภาคกลางเรียกวันที่ ๑๓ เมษายน ว่า “วันมหาสงกรานต์” ซึ่งวันนี้ทางการได้ประกาศให้เป็น “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” วันที่ ๑๔ เมษายน เรียก “วันเนา” และรัฐบาลสมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณได้ประกาศให้เป็น “วันครอบครัว” ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียก “วันเถลิงศก” คือวันเริ่มจุลศักราชใหม่


                 ๔.       ทางล้านนาเรียกวันที่ ๑๓ เมษายนว่า “วันสังขารล่อง” ซึ่งบางท่านให้ความหมายว่า หมายถึงอายุสิ้นไปอีกปี วันที่ ๑๔ เมษายน เรียก“วันเน่า” เป็นวันห้ามพูดจาหยาบคาย เพราะเชื่อว่าจะทำให้ปากเน่าและไม่เจริญ ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายนเรียก “วันพญาวัน” คือวันเปลี่ยนศกใหม่

                 ๕.       ภาคใต้ เรียกวันที่๑๓ เมษายนว่า “วันเจ้าเมืองเก่า”หรือ “วันส่งเจ้าเมืองเก่า” เพราะเชื่อว่าเทวดารักษาบ้านเมืองกลับไปชุมนุมกันบนสวรรค์ ส่วนวันที่ ๑๔ เมษายน เรียกว่า “วันว่าง” คือวันที่ปราศจากเทวดาที่รักษาเมือง ดังนั้น ชาวบ้านก็จะงดงานอาชีพต่างๆ แล้วไปทำบุญที่วัด ส่วนวันที่ ๑๕ เมษายน เรียกว่า “วันรับเจ้าเมืองใหม่” คือวันรับเทวดาองค์ใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้มาดูแลเมืองแทนองค์เดิมที่ย้ายไป ประจำเมืองอื่นแล้ว


                 ๖.        ตำนานสงกรานต์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับสงกรานต์และนางสงกรานต์ที่เรารู้จักกันดีเป็น ตำนานที่ รัชกาลที่ ๓ โปรดให้จารึกไว้ในแผ่นศิลา ๗ แผ่น ติดไว้ที่ศาลารอบพระมณฑปทิศเหนือ ในวัดพระเชตุพนฯหรือวัดโพธิ์


                 ๗.       นางสงกรานต์เป็นนางฟ้าบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ซึ่งเป็นสวรรค์ชั้นต่ำสุด มีด้วยกัน ๗ องค์เป็นพี่น้องกัน และต่างก็เป็นบาทบริจาริกา แปลว่า นางบำเรอแทบเท้า หรือเรียกง่ายๆว่า เป็น “เมียน้อย”ของพระอินทร์ จอมเทวราช และเป็นธิดาของท้าวกบิลพรหมในตำนาน


                 ๘.       นางสงกรานต์ มีชื่อตามแต่ละวันในสัปดาห์คือ วันอาทิตย์ ชื่อ นางทุงษะ วันจันทร์ ชื่อ นางโคราคะ วันอังคาร ชื่อ นางรากษส วันพุธ ชื่อ นางมณฑา วันพฤหัสบดี ชื่อ นางกิริณี วันศุกร์ ชื่อ นางกิมิทา วันเสาร์ชื่อ นางมโหทร


                 ๙.       นางสงกรานต์แต่ละองค์จะมีพาหนะทรงต่างกัน ตามลำดับแต่ละวัน คือ นางทุงษะขี่ครุฑ นางโคราคะขี่เสือ นางรากษสขี่หมู นางมณฑาขี่ลา นางกิริณีขี่ช้าง นางกิมิทาขี่ควาย และนางมโหทรขี่นกยูง ซึ่งสัตว์ที่เป็นพาหนะทรงจะมิใช่ปีนักษัตรของปีนั้นๆ ตามที่หลายคนเข้าใจผิด


              ๑๐.         คำว่า “ดำหัว”ปกติแปลว่า “สระผม” แต่ในประเพณีสงกรานต์ล้านนา จะหมายถึง การไปแสดงความเคารพ ขออโหสิกรรมที่อาจได้ล่วงเกินในเวลาที่ผ่านมา รวมทั้งการไปขอพรจากผู้ใหญ่ ซึ่งหมายถึงญาติผู้ใหญ่ ผู้อาวุโสในหมู่บ้าน ในเมืองหรือครูบาอาจารย์ ผู้บังคับบัญชา โดยส่วนมากจะใช้น้ำขมิ้นส้มป่อยไปไหว้ท่าน และท่านก็จะจุ่มแล้วเอาน้ำแปะบนศีรษะเป็นเสร็จพิธี


              ๑๑.        ในสมัยก่อนเมื่อใกล้สงกรานต์หรือวันสงกรานต์ จะมีสัตว์ชนิดหนึ่งที่คนแต่ก่อนเรียกว่า “ตัวสงกรานต์” เป็นสิ่งมีชีวิตลักษณะคล้ายไส้เดือน แต่เล็กขนาดเส้นด้าย ยาวประมาณ ๒ นิ้ว มีสีเลื่อมพราย เป็นสีเขียว เหลือง แดง ม่วง เปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ จะอยู่กันเป็นฝูงในแม่น้ำลำคลอง เมื่อกระดิกตัวว่ายน้ำจะทำให้เกิดประกายสีต่างๆสวยงามแปลกตา ถ้าจับพ้นน้ำ สีจะจางหายไป ตัวจะขาดเป็นท่อนเล็กๆและเหลวละลาย ปัจจุบันเข้าใจว่าน่าจะสูญพันธุ์ไปแล้ว


              ๑๒.       มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดัง กล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุก วันนี้...


  ประวัติ ตำนานวันสงกรานต์           มีท่านเศรษฐีผู้หนึ่งไม่มีบุตรแต่ต้องการบุตรมาก ด้วยถูกนักเลงสุราที่บ้านใกล้กันนั้นกล่าวคำหยาบช้าต่อเศรษฐี ท่านเศรษฐีจึงกล่าวถามว่า "เหตุใดท่านจึง กล่าวดูถูกเราผู้มีสมบัติมาก" นักเลงสุราตอบกลับว่า "ถึงแม้ท่านเป็นผู้มีสมบัติมาก แต่ท่านก็ไม่มีบุตร เมื่อเสียชีวิตแล้ว สมบัติเหล่านี้ก็สูญเปล่า เรานั้นมีบุตร ย่อมประเสริฐกว่า" ท่านเศรษฐีจึงได้จัดพิธีบวงสรวงขอบุตรจากพระอาทิตย์ และพระจันทร์ รอนานสามปีก็มิได้เกิดบุตร เมื่ออาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ท่านเศรษฐีจึงพาบริวารไปบวงสรวงขอบุตรจากพระไทร พระไทรมีความเมตตาสงสารเศรษฐีผู้นี้ จึงได้ขึ้นไปบนสวรรค์ทูลขอบุตรจากพระอินทร์ให้แก่เศรษฐี ผู้นั้น พระอินทร์จึงให้ธรรมบาลกุมารเทวบุตรลงมาเกิดเป็นบุตรของท่านเศรษฐี
          เมื่อภรรยาของท่านเศรษฐีคลอดบุตร ท่านเศรษฐีได้ปลูกปราสาทเจ็ดชั้นให้อยู่ใต้ต้นไทรริมฝั่งแม่น้ำ และตั้งชื่อให้ว่าธรรมบาลกุมารธรรมบาลกุมารนี้เป็น เด็กที่มีปัญญาเฉลียวฉลาดอย่างมาก เรียนรู้ไตรเทพจบเมื่ออายุ ๗ ขวบอีกทั้งยังสามารถเรียนรู้ภาษานกได้อีก ความดังกล่าวได้ล่วงรู้ถึงท้าวกบิลพรหม ท่านจึงต้องการที่จะทดสอบปัญญาของธรรมบาลกุมาร ท้าวกบิลพรหมจึงได้เสด็จลงมายังโลกมนุษย์ ถามปัญหาธรรมบาลกุมาร ๓ ข้อคือ



          ข้อที่ ๑ เช้าราศีสถิตอยู่แห่งใด
          ข้อที่ ๒ เที่ยงราศีสถิตอยู่แห่งใด
          ข้อที่ ๓ ค่ำราศีสถิตอยู่แห่งใด

          และตกลงกันว่า ถ้าธรรมกุมารสามารถตอบปัญหา ๓ ข้อนี้ได้ ภายใน ๗ วัน จะตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าธรรมบาลกุมารไม่สามารถตอบปัญหาได้ ธรรมบาลกุมารต้องตัดศีรษะของตนบูชาท้าวกบิลพรหมเช่นกัน



          เวลาล่วงเลยไปถึง ๖ วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังไม่สามารถหาคำตอบได้ ด้วยความกลัวอาญาท้าวกบิลพรหม ธรรมบาลกุมาร จึงได้หนีไปแอบซ่อนอยู่ใต้ต้นตาลและบนต้นตาลนั้นมีนกอินทรี ๒ ตัว ผัวเมียทำรังอยู่นกอินทรีทั้งสองได้สนทนากันอยู่ในเรื่องการออกไปหากินในวัน พรุ่งนี้ นางนกอินทรี : "พรุ่งนี้เราจะไปหากินที่ไหนกันดี "นกอินทรีตัวผู้ : "พรุ่งนี้เราไม่ต้องออกไปหากินไกลหรอก ด้วยพรุ่งนี้ธรรมบาลกุมารจะต้องตัดศีรษะบูชาท้าวกบิลพรหม เนื่องจากตอบปัญหาไม่ได้"
นางนกอินทรี : "น่าสงสารกุมารน้อยยิ่งนัก ท้าวกบิลพรหมก็ช่างถามปัญหาที่มนุษย์เกินจะตอบได้"
นกอินทรีรู้สึกหมั่นไส้นางนกอินทรีจึงได้บอกถึงคำตอบที่ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารให้นางนกอินทรีได้รู้
นก อินทรีตัวผู้ : "ราศีแห่งมนุษย์นั้นจะสถิตอยู่ที่ร่างกายต่างวาระกัน คือ เวลาเช้าจะสถิตอยู่ที่หน้า มนุษย์จึงต้องล้างหน้า เวลาเที่ยงราศีสถิตอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องปะพรมน้ำที่หน้าอก และเวลาค่ำสถิตอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้า จึงจะพ้นอัปรีย์จัญไรทั้งปวง"



          ธรรมบาลกุมารเมื่อได้ยินดังนั้น ก็ได้จดจำคำตอบและนำไปบอกแก่ท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงจำต้องตัดเศียรของตนบูชาธรรมบาลกุมาร แต่เศียรของท้าวกบิลพรหมมีพิษมาก คือ ถ้าตัดแล้วตั้งไว้บนแผ่นดิน แผ่นดินก็จะลุกเป็นไฟ ถ้าโยนขึ้นสู่ท้องฟ้าฝนก็จะตกไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และถ้าทิ้งลงมหาสมุทรน้ำก็จะเหือดแห้ง ท้าวกบิลพรหมจึงรับสั่งเรียกธิดาทั้ง ๗ เพื่อให้นำเศียรของท้าวกบิลพรหมไปแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ ๖๐ นาที แล้วจึงนำไปเก็บไว้ในมณฑปถ้ำธุลีเขาไกรลาศ ครั้นครบกำหนด ๓๖๕ วัน (โลกสมมุติว่าเป็น ๑ปี) เป็นสงกรานต์ ซึ่งหมายถึงขึ้นปีใหม่นั้นเอง นางสงกรานต์ก็จะต้องนำเศียรของท้าวกบิลพรหมแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุเป็น ประจำทุกปี


 ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์
 








         สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น" นั้นหมายถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ ๑๒ เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์
         มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมายถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว



         วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา ๑ วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว



         วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ ๓ ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ ๓ ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า ๑ องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ ๒ หรือที่ ๓ ก็ได้
วันสงกรานต์เป็นวัน เปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่งกษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. ๑๑๘๑ โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ ๑ องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ ๑๓ เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ ๑๓ เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ ๑๓ จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี



         ปกติวันสงกรานต์จะมี ๓ วัน คือ เริ่มวันที่ ๑๓ เมษายน ถึงวันที่ ๑๕ เมษายน วันแรกคือวันที่ ๑๓ เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ ๑๔ เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที่ ๐ องศา) วันที่ ๑๕ เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริงๆ มีถึง ๔ วัน คือวันที่ ๑๓ -๑๖ เป็นวันเนาเสีย ๒ วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว
จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ.๒๔๘๓ ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติ อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ

นางสงกรานต์
      






                      เป็นธิดาของท้าวกบิลพรหม หรือท้าวมหาสงกรานต์ และเป็นนางฟ้าอยู่บนสรวงสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช (สวรรค์ชั้นที่ ๑ ในทั้งหมด ๖ ชั้น) ซึ่งมีหน้าที่ในการรับศีรษะของท้าวกบิลพรหมแห่รอบเขาพระสุเมรุในแต่ละรอบปี หรือในวันสงกรานต์นั้นเอง โดยมีเกณฑ์กำหนดที่ว่าวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๓ เมษายน ตรงกับวันใดก็ให้นางสงกรานต์ประจำวันนั้นเป็นผู้แห่ นางสงกรานต์มีทั้งหมด ๗ องค์ ได้แก่

๑. นางสงกรานต์ทุงษเทวี
                     ทุงษเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอาทิตย์ ทัดดอกทับทิม มีปัทมราค (แก้วทับทิม) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ อุทุมพร (มะเดื่อ) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือสังข์ เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์ครุฑ


๒. นางสงกรานต์โคราดเทวี                    โค ราดเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันจันทร์ ทัดดอกปีป มีมุกดาหาร (ไข่มุก) เป็นเครื่องประดับภักษาหาร คือ เตละ (น้ำมัน) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จประทับเหนือพยัคฆ์ (เสือ)


๓. นางสงกรานต์รากษสเทวี                    รากษส เทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันอังคาร ทัดดอกบัวหลวง มีโมรา (หิน) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ โลหิต (เลือด) อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายถือธนู เสด็จประทับเหนือวราหะ (หมู)


๔. นางสงกรานต์มัณฑาเทวี
                 
มัณ ฑาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพุธ ทัดดอกจำปา มีไพฑูรย์ (พลอยสีเหลืองแกมเขียว) เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ นมและเนย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ ขวาถือเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายถือไม้เท้า เสด็จไสยาสน์เหนือปฤษฎางค์คัสพะ (ลา)


๕. นางสงกรานต์กิริณีเทวี
               
กิริณี เทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันพฤหัสบดี ทัดดอกมณฑา (ยี่หุบ) มีมรกตเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ ถั่วและงา อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือปืน เสด็จไสยาสน์เหนือปฏษฎางค์ชสาร (ช้าง)


๖. นางสงกรานต์กิมิทาเทวี
               
กิ มิทาเทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันศุกร์ ทัดดอกจงกลนี มีบุษราคัมเป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ กล้วยและน้ำ อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายถือพิณ เสด็จประทับยืนเหนือมหิงสา (ควาย)


๗. นางสงกรานต์มโหทรเทวี
                 
มโหทร เทวีเป็นนางสงกรานต์ประจำวันเสาร์ ทัดดอกสามหาว (ผักตบชวา) มีนิลรัตน์เป็นเครื่องประดับ ภักษาหาร คือ เนื้อทราย อาวุธคู่กาย พระหัตถ์ขวาถือจักร พระหัตถ์ซ้ายถือตรีศูล เสด็จประทับเหนือมยุราปักษา (นกยูง)
 






วันประมงแห่งชาติ
ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี


วันประมงแห่งชาติ
ทุกวันที่ 13 เมษายน ของทุกปี

เป็นที่ทราบกันดีว่า ปริมาณสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติในปัจจุบันได้ลดจำนวนลงเป็นย่างมาอัน เนือ่งมาจากหลายสาเหตุ ดังนั้น กรมประมงจึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน อันเป็นวันสงกรานต์เป็นวันขยายพันธุ์ปลา เพื่อเป็นการทดแทนสัตว์น้ำที่ถูกจับขึ้นมาใช้ประโยชน์อย่างมากมายในแต่ละวัน ตลอดจนการรณรงค์เพื่อให้ประชาชนได้ระลึกถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สัตว์น้ำ
จากการที่สหกรณ์ประมงสมุทรสาครได้ทำหนังสือ ลงวันที่ 17 พฤษภาคม 2525 ถึงนายกรัฐมนตรี พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ เสนอให้รัฐบาลกำหนดวันประมงแห่งชาติขึ้นเพื่อให้เป็นกำลังใจในการประกอบ อาชีพและอาสาปกป้องประเทศทางด้านทะเล นายกรัฐมนตรีได้มีบัญชาให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมอบให้กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่งได้มอบให้กรมประมงเป็นผู้รับเรื่อง เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากนี้สำนักเลขาธิการฯ ได้ขอให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้ราชบัณฑิตยสถานและกรมศิลปากรร่วมกัน พิจารณาความเหมาะสมอีกด้วย
กรมประมงพิจารณาเห็นว่าอาชีพการประมงทะเล เป็นอาชีพที่ต้องเสี่ยงภัยจากอันตรายในน่านน้ำ และทำรายได้ให้แก่ประเทศชาติปีละหลายพันล้านบาท นอกจากนี้ยังช่วยทำหน้าที่แจ้งข่าวความเคลื่อนไหว ที่อาจเป็นภัยอันตรายแก่ประเทศให้ทางราชการทราบทันแก่เหตุการณ์ สมควรที่จะจัดให้มีวันสำคัญ เพื่อเป็นที่ระลึก เป็นขวัญกำลังใจในการประกอบอาชีพ และเป็นการสนับสนุนอาชีพประมง ทั้งยังเป็นการช่วยเตือนใจคนไทยทั้ง ชาติให้ช่วยกันอนุรักษ์รักษาทรัพยากร
สาเหตุที่ทำให้จำนวนสัตว์น้ำลดปริมาณลง
  • กางไทยถูกจำกัด
  • ความก้าวหน้าทางวิทยาการ คือจะมีอุปกรณ์ในการจับสัตว์น้ำ ที่ทันสมัยขึ้น
  • การระบายน้ำเสียจากโรงงานลงสู่แหล่งน้ำลำคลอง
  • การขยายแหล่งชุมชน เช่นการสร้างเขื่อน การถมคลอง การขยายถนน
  • การทำประมงผิดกฎหมาย เช่น การใช้วัตถุระเบิด การใช้อวนตาถี่ การใช้ไฟฟ้าช็อตปลา ในการจับปลา
กรมประมงจึงได้ประสานงานกับกองทัพเรือ และมีความเห็นร่วมกันให้ วันสงกรานต์ ซึ่งประชาชนชาวไทยยึดถือเสมือนเป็นวันขึ้นปีใหม่มาตั้งแต่อดีต เป็นวันที่หยุดปฏิบัติภารกิจประจำวันในวันดังกล่าว เพื่อไปทำบุญตักบาตร ปล่อยนก ปล่อยปลา เพื่อความเป็นสิริมงคล รัฐบาลจึงเล็งเห็นโครงการบำรุงพันธุ์ปลา แบบประชาอาสา สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์ของวันประมงแห่งชาติ
และในวันนี้ทางราชการได้ถือว่าเป็น วันขยายพันธุ์ปลาแห่งชาติ โดยสนับสนุนให้ประชาชนนำพันธุ์ปลา ไปปล่อยตามแหล่งน้ำต่างๆ ในโอกาสที่วันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่งโดยมีศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง จึงสมควรกำหนดให้ วันที่ 13 เมษายน ของทุกปีเป็น วันประมงแห่งชาติ เมื่อเดือนมกราคม 2527 เป็นต้นมา และเห็นสมควรให้หยุดทำการประมง มีการปล่อยปลาในแหล่งน้ำต่างๆ รวมทั้งในทะเลด้วย เพื่อเป็นการชดเชยสำหรับการที่ได้ทำการประมงมาตลอดปี
วัตถุประสงค์ของวันประมงแห่งชาติ
1. เพื่อระลึกถึงความสำคัญของการประมงไทย และให้กำลังใจแก่ชาวประมงผู้ประกอบอาชีพสุจริตที่ต้องเสี่ยงภัยในทะเล เพื่อนำทรัพยากรขึ้นมาเป็นอาหารของปวงชนและพัฒนาประเทศ
2. เพื่อสนับสนุนการปล่อยปลาในวันสงกรานต์อันเป็นประเพณีนิยมของชาวไทยมาแต่โบราณ
4. เพื่อเสริมสร้างทัศนคติในการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำแก่ประชาชนทั่วไป เพราะสัตว์น้ำมีคุณค่า เป็นอาหารของประชาชน
5. เพื่อสร้างความรู้สึกที่ดีทางจิตใจ คือ ก่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชาติ เพราะได้ทำกิจกรรมร่วมกัน และมีอานิสงส์ร่วมกันในอันนี้ที่จะต้องช่วยกันรักษาทรัพยากรของชาติ และมีความสุขที่ได้บุญกุศลในวันสงกรานต์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- ชมรมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย – เขื่อนสิริกิติ์
ประวัติความเป็นมาของวันจักรี
วันจักรี  Chakri Day ตรงกับวันที่ 6  เมษายนของทุกปี
เป็นวันที่ระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และมหาจักรีบรมราชวงศ์
วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี

วันจักรี 6 เมษายน ประวัติวันจักรี
ประวัติการตั้งชื่อวันจักรีมี ว่า เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จปราบดาภิเษก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของไทย มาจนทุกวันนี้
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 พระองค์ ( ร.1-4) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น
ในรัชกาลที่ 6 โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง 4 (ร.1-4) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5? พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า วันจักรี
ตราราชวงศ์จักรี และพระราชลัญจกร ประจำพระมหากษัตริย์ในรัชกาลต่างๆ
ราชวงศ์จักรี
ตราราชวงศ์จักรี

ตราประจำรัชกาลที่ ๑
“มหาอุณาโลม” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ “อุ” อยู่ตรงกลาง
(“อุ” มีลักษณะ เป็นม้วนกลม คล้ายลักษณะความหมายของพระนามเดิมว่า “ด้วง”)
ตรามหาอุณาโลมนี้ หมายถึงตาที่สามของพระอิศวร ซึ่งถือเป็นปฐมฤกษ์ในการตั้งพระบรมราชจักรีวงศ์ ล้อมด้วยกลีบบัว ซึ่งเป็นพฤกษชาติที่เป็นสิริมงคล ทางพระพุทธศาสนา

ตราประจำรัชกาลที่ ๒
“ครุฑจับนาค” เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ฉิม” ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ

ตราประจำรัชกาลที่ ๓
“มหาปราสาท” เป็นตรางา
ลักษณะกลม รูปปราสาท เนื่องจากพระนามเดิมคือ “ทับ” ซึ่งหมายถึงที่อยู่หรือเรือน จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระลัญจกรเป็นรูปปราสาท

ตราประจำรัชกาลที่ ๔
“พระมหาพิชัยมงกุฎ” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี รูปพระมหามงกุฎ (ตามพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามงกุฎ) อยู่ในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชรข้างหนึ่ง (พระแว่นสุริยกานต์ หรือ เพชร หมายถึง พระฉายา เมื่อทรงผนวชว่า วชิรญาณ)
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา (หมายถึง ทรงศึกษาเชี่ยวชาญในทางอักษรศาสตร์ และดาราศาสตร์)

ตราประจำรัชกาลที่ ๕
“พระจุลมงกุฎ หรือพระเกี้ยว” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. มีรูปพระเกี้ยวยอดมีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น (หมายถึงพระเกี้ยวเจ้าฟ้าในคราวโสกัณฑ์) เคียงด้วยฉัตรปริวาร ๒ ข้าง ที่ริมขอบทั้ง ๒ ข้าง มีพานทอง ๒ ชั้น วางพระแว่นสุริยกานต์ หรือเพชรข้างหนึ่ง
อีกข้างหนึ่ง วางสมุดตำรา(เป็นการเจริญรอยจำลอง พระราชลัญจกร ของรัชกาลที่ ๔)

ตราประจำรัชกาลที่ ๖
“มหาวชิราวุธ” เป็นตรางา
ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๕ ซ.ม. ยาว ๖.๘ ซ.ม. รูปวชิราวุธ มีรัศมีประดิษฐานบนพานทอง ๒ ชั้น ตั้งอยู่เหนือตั่ง มีฉัตรปริวาร ๒ ข้าง (รูปตรานี้ใช้ตามพระนามของพระองค์ คือ วชิราวุธ ซึ่งหมายความถึงศัตราวุธของพระอินทร์)
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๗
“พระไตรศร” เป็นตรางา ลักษณะกลมรี กว้าง ๕.๔ ซม. ยาว ๖.๗ ซม. รูปราวพาดพระแสงศร ๓ องค์
คือ พระแสงศรพรหมศาสตร์, พระแสงศรอัคนีวาต และพระแสงศรประลัยวาต
(เป็นศรของพระพรหม, พระนารายณ์ และของพระอิศวร ซึ่งใช้ตามความหมายของพระนามเดิมคือ “ประชาธิปกศักดิเดชน์” คำว่า “เดชน์” แปลว่า “ลูกศร”) เบื้องบนมีรูปพระแสงจักรและพระแสงตรีศูร อยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ มีบังแทรกตั้งอยู่ ๒ ข้าง มีลายกนกแทรกอยู่ระหว่างพื้น
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๘
“รูปพระโพธิสัตว์” เป็นตรางา
ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง ๗ ซ.ม. รูปพระโพธิสัตว์ประทับบน
บัลลังก์ดอกบัวห้อยพระบาทขวาเหยียบบัวบาน หมายถึงแผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วด้านหลังแท่นรัศมี มีแท่น
รองรับตั้งฉัตร บริวาร ๒ ข้าง (รูปพระโพธิสัตว์นี้เดิมเป็นตราประจำในพระราชวังดุสิต) เป็นสัญลักษณ์ปรมาภิไธยว่า อานันทมหิดล แปลความหมายว่า เป็นที่ยินดีของแผ่นดิน
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นสำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน

ตราประจำรัชกาลที่ ๙
“พระแท่นอัฏทิศ อุทุมพรราชอาสน์” เป็นตรางา ลักษณะรูปไข่ กว้าง ๕ ซ.ม. สูง ๖.๗ ซ.ม.
รูปพระที่นั่งอัฎทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระ “อุ” รอบๆ มีรัศมี
(วันบรมราชาภิเษกได้เสด็จได้เสด็จประทับที่นั่งอัฎทิศ)
แปลความหมายว่า ทรงมีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน
ตราพระราชลัญจกรนี้ สร้างขึ้นเมื่อวันบรมราชาภิเษก สำหรับใช้ประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในต้นเอกสารสำคัญส่วนพระองค์ ไม่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน
พระราชประวัติพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2327 – 2352)
พระนามเดิม ทองด้วง เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก (พระอักษรสุนทรทองดี) ทรงพระราชสมภพเมื่อ พ.ศ. 2378 ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ ได้สมรสกับธิดาคหบดีบ้านอัมพวา ตำบลบางช้าง จังหวัดสมุทรสงคราม หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าในพ.ศ. 2310 แล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินกรุงธนบุรี ได้กู้อิสรภาพและสร้างกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้เข้ารับราชการกับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงพระปรีชาสามารถในการรบจนเป็นที่โปรดปราน นับเป็นขุนพลคู่พระทัยฝ่ายขวา ได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพในสงครามครั้งสำคัญหลายครั้ง ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึก ใน พ.ศ. 2319
พ.ศ. 2325 เกิดจลาจลขึ้นในบ้านเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงปราบปรามจนราบคาบ ข้าราชการทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันอัญเชิญขึ้นปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ต่อมาโปรดให้สร้างราชธานีใหม่ขึ้น ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ กรุงเทพมหานคร ทรงย้ายมาประทับในพระนครใหม่ใน พ.ศ. 2327 พระราชกรณียกิจส่วนใหญ่ในรัชกาลได้แก่การสงครามเพื่อรักษาอธิปไตยของชาติ หลายครั้ง ครั้งสำคัญที่สุด คือ สงครามเก้าทัพ ในปี พ.ศ. 2327 การปกครองประเทศทรงจัดแบ่งตามแบบกรุงศรีอยุธยา และโปรดให้ ชำระกฎหมายบทต่างๆ ให้ถูกต้องและจารลงสมุดไว้เป็นหลักฐาน 3 ฉบับ
ทางด้านศาสนา โปรดให้สังคายนาพระไตรปิฎก พ.ศ. 2331 และจารฉบับทองประดิษฐานไว้ในหอพระมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นอกจากนี้ยังทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามและพระพุทธรูปต่างๆ เป็นอันมาก
ทางด้านวรรณคดีและศิลปกรรม ทรงฟื้นฟูวรรณคดีไทยซึ่งเสื่อมโทรมตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาแตกให้ กลับคืนดีอีกวาระหนื่ง ทรงส่งเสริมและอุปถัมภ์กวีในราชสำนัก บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญ เช่น บทละคร เรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น งานทางด้านศิลปกรรมนั้นเป็นผลเนื่องมาจากการที่ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และสร้าง พระอารามเป็นจำนวนมาก เป็นการเปิดโอกาสให้ช่างฝีมือด้านต่างๆ มีงานทำและได้ผลิตงานฝีมือชิ้นเอกไว้
ปัจจุบันมีวันที่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬา โลก คือ วันที่ระลึกมหาจักรี ได้แก่วันที่ 6 เมษายนของทุกปี จะมีพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ณ เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า


พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2310 – 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม เป็นพระโอรสพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ประสูติแต่สมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 เมื่อยังทรง พระเยาว์ ได้ทรงศึกษาอักขรสมัยในสำนักสมเด็จพระวนรัต (ทองอยู่) วัดบางหว้าใหญ่ ด้านวิชาการรบ สำหรับขัตติยราชกุมารนั้น พระองค์ได้ทรงศึกษาจากประสบการณ์ที่เป็นจริง กล่าวคือได้ทรงตามเสด็จ พระบรมชนกนาถไปในราชการสงครามทุกครั้ง ซึ่งพระปรีชาสามารถและความจัดเจนนี้ย่อมเป็นที่ ประจักษ์ จนได้รับโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระองค์ท่านขึ้นเป็นกรมพรราชวังบวรสถานมงคล ที่พระมหาอุปราชแทน
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระ องค์ที่ 2 แห่งพระราชวงศ์จักรี เมื่อ พ.ศ. 2352
พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงเริ่มทำเร่งด่วนครั้งแรกคือ การรวบรวมผู้คนที่กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ครั้ง กรุงแตกให้อยู่ตั้งมั่นเพื่อความเป็นปึกแผ่นของประเทศ โดยออกพระราชกำหนดสักเลข และ ทำทะเบียนราษฎรอย่างจริงจัง และได้ทรงผ่อนผันการเข้าเดือนเหลือเพียงปีละ 3 เดือน คือ เข้าเดือนออก สามเดือน นอกจากนี้ยังได้ทรงออกกฎหมายฉบับสำคัญอีกฉบับหนึ่งเรียกว่า พระราชกำหนดเรื่องห้าม สูบฝิ่น ขายฝิ่น
ในการทำนุบำรุงความเจริญของบ้านเมืองก็มีการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ และได้มีการแต่ง สำเภาไปค้าขายยังเมืองต่างๆ และเมืองจีนมากขึ้น ทำให้การเศรษฐกิจของชาติดีขึ้นมาก และเหตุที่มีการ แต่งเรือสำเภาไปค้าขายต่างประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เกิดการใช้ธงประจำชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำสัญญลักษณ์ช้างเผือกสำคัญที่ได้มาสู่พระบารมี 3 เชือก ประทับลงบนธงสีแดง ธงประจำชาติไทยจึงมีขึ้นเป็นครั้งแรก
ด้านศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงทำนุบำรุง ตลอดจนทรงเป็นกษัตริย์ศิลปินโดยแท้จริง


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 – 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และกรมสมเด็จพระศรีสุลาลัย ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2330 ต่อมาได้รับ สถาปนาพระอิสริยยศ เป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ พระองค์ทรงเริ่มปฏิบัติราชการมาตั้งแต่ ่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ยังดำรงตำแหน่งกรมพระราชวังบวรสถานมงคล จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยให้ปฏิบัตพระราชกรณียกิจ ต่างพระเนตรพระกรรณหลายประการ พระราชกรณียกิจสำคัญที่ทรงบำเพ็ญในรัชกาลที่ 2 ได้แก่ ราชการในกรมท่าซึ่งมีหน้าที่ด้านการค้าและสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ เงินผลประโยชน์ จากการค้าสำเภาของพระองค์ครั้งนี้ ต่อมาได้นำมาใช้ในภาวะคับขันของบ้านเมือง ด้านการป้องกันพระนคร ได้ทรงเป็นแม่กองอำนวยการสร้างป้อมปราการ ด้านชายทะเลตะวันออก และเป็นแม่ทัพยกไปตีขัดตาทัพพม่า ที่ตำบลปากแพรก เมืองกาญจนบุรี เป็นเวลา 1 ปี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นเสวยสิริราชสมบัติใน พ.ศ. 2367 ทรงทำนุบำรุง ประเทศให้เจริญรุ่งเรืองทุกด้าน เช่น ด้านเศรษฐกิจ โปรดให้ปรับปรุงการค้าขายกับต่างประเทศ และ ระเบียบวิธีการเก็บภาษีอากรต่างๆ ด้านความมั่นคง โปรดให้สร้างป้อมปราการตามหัวเมืองสำคัญและ ตามชายฝั่งทะเล ตลอดจนต่อเรือรบเรือกำปั่นไว้ใช้ในราชการเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการปราบปราม ผู้ก่อความไม่สงบต่อแผ่นดินอย่างเด็ดขาด เป็นต้นว่า การปราบปรามเวียงจันทน์ ญวน และหัวเมืองปักษ์ ใต้ ทั้งยังทรงยกฐานะหมู่บ้านต่างๆ ขึ้นเป็นเมืองเพื่อขยายความเจริญในการปกครอง ด้านศาสนา ทรง บำเพ็ญพระราชกุศลเป็นนิจ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์พระอารามเป็นจำนวนมาก โปรดให้มีการสอนพระ ปริยัติธรรมแก่พระภิกษุ และโปรดให้จารึกสรรพตำราต่างๆ 8 หมวดบนแผ่นศิลา ประดับไว้ ณ ศาลาราย ในวัดพระเชตุพนฯ เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน เสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ด้าน วรรณกรรมนั้นทรงเป็นกวีด้วยพระองค์เอง และทรงส่งเสริมผู้มีความรู้ด้านนี้ ส่วนงานด้านศิลปกรรมนับ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้าง บูรณะปฏิสังขรณ์พระอาราม มีผู้กล่าวว่า ลักษณะศิลปกรรมในรัชกาลที่ 3 เป็นแบบที่งดงามยิ่ง เพราะหลังจากนี้ศิลปกรรมไทยรับอิทธิพลศิลปตะวันตกมากเกินไป
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงสิริราชสมบัติได้ 26 ปี เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 พระชนมายุ 63 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 – 2411)
ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่สอง ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่ สมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ ณ พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อพระชน มายุ 13 พรรษา ประกอบพระราชพิธีโสกันต์อย่างใหญ่ หลังจากนั้นทรงผนวชเป็นสามเณร 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยศอย่างมาก เมื่อพระชนม์ครบอุปสมบททรงผนวชอีกครั้ง และการทรงผนวชครั้งนี้ ต้องทรงผนวชอยู่นานตลอดรัชกาลที่ 3 ระหว่างทรงผนวช จำพรรษา ณ วัดราชาธิวาส ได้ทรงศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างชำนิชำนาญ เช่น วิชาการ โหราศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ตลอดจนทรงแตกฉานในพรไตรปิฎกเป็นอย่างมาก ขณะทรงผนวชทรงพิจารณาเห็นการปฏิบัติสงฆ์หย่อนยาน จึงทรงตั้งธรรมยุติกนิกายขึ้นใหม่ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่สงฆ์ที่เคร่งครัดการปฏิบัติต่อไป
ใน พ.ศ. 2344 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เสด็จสวรรคต บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการผู้ใหญ่ทั้งปวง ได้พร้อมกันอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขึ้นครองราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งบรมราชจักรีวงศ์
หลังจากเสด็จขึ้นครองราชย์แล้วก็ทรงทำนุบำรุงประเทศชาติ ให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน ทรง เป็นพระมหากษัตริย์ผู้เริ่มศักราชการติดต่อกับนานาอารยประเทศทั้งปวงอย่าง จริงจัง ดังจะเห็นได้จากการ ที่ประเทศต่างๆ ส่งคณะทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรี และติดต่อค้าขาย และพระองค์ได้ทรงแต่งคณะทูต ออกไปเจริญสัมพันธไมตรีตอบแทนหลายครั้ง เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส เดน มาร์ค ฯลฯ ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาศิลปวิทยาการใหม่ๆ เช่น วิชาการต่อเรือใบ เรือกลไฟ เรือรบ การฝึกทหารอย่างยุโรป การยกเลิกธรรมเนียมที่ล้าสมัยบางประการ เช่น ประเพณีการเข้าเฝ้าให้ใส่เสื้อเข้าเฝ้า การให้ประชาชนเฝ้าแหนรับเสด็จตลอดระยะรายทางเสด็จได้ ฯลฯ พระปรีชาสามารถส่วนพระ องค์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ วิชาการด้านโหราศาสตร์ และดาราศาสตร์ ทรงสามารถคำนวณระยะเวลา การเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ ดังได้เสด็จพระราชดำเนินพร้อมพระราชอาคันตุกะทั้งปวง ไปชม สุริยุปราคาที่หว้ากอ ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2411
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเสวยสวรรยราชสมบัติอยู่ 18 ปี ก็เสด็จสวรรคตเมื่อ วันพฤหัสบดี เดือนสิบเอ็ด ขึ้น 15 ค่ำ จ.ศ. 1230 (พ.ศ. 2411) สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 – 2453)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ทรงได้รับการศึกษาเป็นอย่างดีทั้งด้านอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี วิชาการสงคราม และการปกครอง ทั้งยังทรงใฝ่พระทัยศึกษาพระธรรมวินัย ทรงผนวชเป็นสามเณรเมื่อ พ.ศ. 2409 และเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับบรมราชาภิเษก 2 ครั้ง ครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 ขณะทรงมี พระชนมพรรษาเพียง 16 ปี โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราช การแทนพระองค์ จนทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติอีกครั้งเมื่อ พ.ศ. 2416 เสด็จ ครองราชย์นานถึง 42 ปี สวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นนักปฏิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศ จากแบบเก่ามาสู่แบบใหม่ ทรงเป็นผู้นำในการปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี ระบบสังคม และ ระบอบการปกครองของไทยให้ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เช่น ทรงยกเลิกประเพณีการเฝ้าแหนแบบโบราณ มาเป็นการยืนถวายบังคมแบบตะวันตก ทรงยกเลิกการไต่สวนพิจารณาคดีแบบจารีต นครบาลมาเป็นการไต่สวนพิจารณาคดีในศาลแบบปัจจุบัน ทรงยกเลิกระบบทาสได้อย่างละมุนละม่อม ทรงจัดการศึกษาแผนใหม่ ทรงตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นทั้งในพระบรมมหาราชวังและตามวัดต่างๆ โปรดให้ ปรับปรุงการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น การประปา การรถไฟ และการไปรษณีย์-โทรเลข ทางด้านศาสนา ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามต่างๆ ทรงปรับปรุงระบอบการปกครองโดย เสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้าน มีชวา สิงคโปร์ และอินเดีย เพื่อทรงศึกษาการปกครองแบบตะวันตกที่ นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศตะวันออก แล้วทรงปรับปรุงการปกครองของไทยให้ทันสมัย โดยทรงแบ่ง ส่วนราชการการบริหารราชการส่วนกลางเป็น 12 กระทรวง และแบ่งส่วนราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นมณฑล พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงดำเนินวิเทโศบายอย่างสุขุม คัมภีรภาพ ทรงผ่อนปรน ยอมสูญเสียดินแดนบางส่วนให้แก่ประเทศมหาอำนาจที่แสวงหาอาณานิคมอยู่ในขณะ นั้น เพื่อรักษาเอกราชของประเทศไว้ ทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกชั้น จนทรงได้รับพระสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิย มหาราช
ทรงเลิกทาส
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหฤทัยอันเต็มเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิ คุณแก่พสกนิกรอย่างหาที่สุดมิได้ ทรงเห็นการณ์ไกล และตระหนักในความเจริญรุ่งเรืองและสันติสุข ของบ้านเมือง การเปลี่ยนแปลงต่างๆ จะเป็นผลสำเร็จได้ต้องทำให้คนไทยได้เป็นไท ไม่มีทาสอีกต่อไป พระองค์จึงได้ทรงดำเนินการเลิกทาสโดยมิให้กระทบกระเทือนถึงเจ้าของทาสและทาส ด้วยพระราช หฤทัยแน่วแน่และทรงพระราชอุตสาหะอย่างยิ่งเป็นเวลาถึง ๓๐ ปี ก็ทรงเลิกทาสสำเร็จลงตามพระราช ปณิธานที่ได้ทรงตั้งไว้
การเสด็จประพาสต้น
เหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใฝ่พระทัยในทุกข์สุข ของอาณาประชาราษฎร์คือ การเสด็จประพาสต้น เป็นการเสด็จไปเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างง่ายๆ โดยไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองจัดทำที่ประทับแรม เมื่อพอพระราชหฤทัยจะประทับที่ใดก็ประทับที่นั้น บางครั้งก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จโดยสารรถไฟไป โดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ ทำให้ได้ประทับปะปนในหมู่ ราษฎร ทรงทราบทุกข์สุขของราษฎรจากปากราษฎรโดยตรง ทำให้ได้ทรงแก้ไขปัดเป่าความทุกข์ยากให้ ราษฎรของพระองค์ได้ผลโดยตรง


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 – 2468)
ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้า เจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ทรงศึกษาภาษาไทยอย่างแตกฉาน แล้วจึงเสด็จไปศึกษาวิชาทหาร ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2436 ขณะทรงมีพระชนม์พรรษาเพียง 14 ปี ต่อมาทรงเข้าศึกษาวิชาประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ์ที่มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (Oxford) เสด็จนิวัติคืนสู่ประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2445 รวมเวลาประทับ ณ ประเทศอังกฤษถึง 9 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จครองราชย์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 สวรรคต เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมสิริราชสมบัติ 16 ปี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำเนินนโยบายการปกครองสืบต่อจาก สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในรัชสมัยของพระองค์ การศึกษาของชาติเจริญก้าวหน้ามาก ทรงสถาปนาจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย การพระศาสนาเจริญสูงขึ้น ทรงทำนุบำรุงปฏิสังขรณ์วัดวาอาราม และขยายการศึกษาของสงฆ์ให้กว้างขวาง การคมนาคม เช่น การรถไฟ สะดวกสบายขึ้นมาก ทรงดำเนินนโยบายต่างประเทศได้ อย่างถูกต้อง เห็นการณ์ไกล โดยทรงนำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งทหารเข้าช่วยฝ่ายสัมพันธ มิตรรบในสมรภูมิยุโรป ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยมากขึ้น และยังทำให้ประเทศได้รับผลประโยชน์ ด้านต่างๆ ในฐานะประเทศชนะสงคราม พระราชกรณียกิจที่สำคัญยิ่งก็คือ ทรงบำรุงกำลังรบและปลุกใจ พลเมืองให้รักชาติ ทรงวางระเบียบแบบแผนการทหารแบบยุโรป ทรงจัดตั้งกองทัพอากาศเพิ่มขึ้นอีก กองทัพหนึ่ง ทรงจัดตั้งกองเสือป่าและกองลูกเสือเพื่อปลุกใจพลเมืองให้รักชาติ นอกจากจะทรงเป็นนักการปกครองที่เล็งเห็นการณ์ไกลแล้ว ยังทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในเชิงอักษรศาสตร์ ดังจะเห็นได้ จากพระราชนิพนธ์คำประพันธ์ทุกชนิดในทุกด้าน เช่น ปลุกใจเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร โคลงสยามานุสติ เป็นต้น รวมเป็นพระราชนิพนธ์เกินกว่า 200 เรื่อง สมดังที่มหาชนชาวไทยถวายพระนามว่า พระมหาธีรราชเจ้า
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงทราบว่าราษฎรเบื่อหน่ายการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ก็โปรดให้สร้างบ้านเมืองจำลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี เพื่อเป็นโรงเรียนสอน เสนาบดีและอำมาตย์ราชบริพารให้รู้จักการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงโปรดให้กระทรวงมหาดไทย เตรียมร่างกฎหมายปกครองท้องที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อเริ่มการปกครองส่วนท้องถิ่นแบบเทศบาลอย่าง แท้จริง แต่เสนาบดีบางท่านเห็นว่ากฎหมายนี้ให้สิทธิแก่ราษฎรกว้างขวางเกินไป เรื่องจึงค้างพิจารณา จน กระทั่งเสด็จสวรรคต


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 – 2477)
ทรงเป็นพระราชโอรสองค์สุดท้าย ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 พระนามเดิม สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ พระนามทั่วไปเรียกว่า ทูล กระหม่อมเอียดน้อย
พระราชประวัติและพระราชกรณียกิจ
เมื่อเยาว์วัยทรงศึกษาวิชาภาษาไทย และราชประเพณีโบราณ ครั้นเจริญวัยทรงศึกษาวิชาการทหารม้าปืนใหญ่ แห่งกองทัพอังกฤษ สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการในกองทัพบกไทย ต่อมาได้ไปศึกษาวิชา ฝ่ายเสนาธิการ ประเทศฝรั่งเศส ทรงอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2460 ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอภิเษกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงรำไพพรรณี เมื่อ พ.ศ. 2461 ทรงดำรงตำแหน่งในกองทัพบก ในรัชกาลพระ บาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ 2 และผู้บังคับการพิเศษทหารปืน ใหญ่ที่ 2 ระยะนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมผู้ สืบราชสมบัติต่อ ซึ่งตกแก่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นในปี พ.ศ. 2467 ทรงได้ศึกษาวิชา การปกครองบ้านเมืองและราชการแผ่นดิน ทรงศึกษาขนบธรรมเนียมและหน้าที่ราชการของพระเจ้าแผ่น ดินจากหนังสือราชการที่สำคัญในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทำให้ได้ตระหนักว่า ประชาธิปไตยในประเทศไทย เกิดขึ้นอย่างแจ่มชัดมาแล้วตั้งแต่รัชกาลที่ 5 เพียงแต่ยังมิได้เป็นทางการ เท่านั้น
ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พ.ศ. 2468 พระองค์ก็ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบต่อ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ทรงมีพระราชกรณียกิจสรุปได้ดังนี้ เศรษฐกิจ สืบเนื่องจากผลของสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั่วโลกประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจ ตกต่ำ ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนมาสู่ประเทศไทย พระองค์ได้ทรงพยายามแก้ไขการงบประมาณของประเทศให้งบดุลย์อย่างดีที่สุด โดยทรงเสียสละตัดทอนรายจ่ายส่วนพระองค์ โดยมิได้ขึ้นภาษีให้ราษฎร เดือดร้อน
การศึกษา ทรงส่งเสริมการศึกษาของชาติทั้งส่วนรวมและส่วนพระองค์ โปรดให้สร้างหอพระสมุดสำหรับพระนคร เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าศึกษาได้อย่างเสรี ทรงตั้งราชบัณฑิตยสภา เพื่อมีหน้าที่บริหารและเผยแพร่วิชาการด้านวรรณคดี โบราณคดี และศิลปกรรม ในด้านวรรณกรรม โปรด ตราพระราชบัญญัติคุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรมใน พ.ศ. 2475 พระราชทานเงินส่วนพระองค์ เป็นรางวัลแก่ผู้แต่งหนังสือยอดเยี่ยม และให้ทุนนักเรียนไปศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์จากต่างประเทศ การศาสนา ทรงปลูกฝังเยาวชนให้มีคุณธรรมดีงาม โดยยึดหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา โปรดให้ราชบัณฑิตยสร้างหนังสือสอนพระพุทธศาสนาสำหรับเด็ก ซึ่งนับว่าพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ทรงสร้างหนังสือสำหรับ เด็ก ส่วนการศึกษาในเนื้อแท้ของพระพุทธศาสนานั้น ทรงโปรดให้สร้างหนังสือพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ เรียกว่าฉบับสยามรัฐ ชุดหนึ่ง จำนวน 42 เล่ม ซึ่งใช้สืบมาจนทุกวันนี้
การสุขาภิบาลและสาธารณูปโภค โปรดให้ปรับปรุงงานสุขาภิบาลทั่วราชอาณาจักรให้ทัดเทียมอารยประเทศ ขยายการสื่อสารและการคมนาคม โปรดให้สร้างสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งแรกใน ประเทศไทย ในส่วนกิจการรถไฟ ขยายเส้นทางรถทางทิศตะวันออกจากทางจังหวัดปราจีนบุรี จน กระทั่งถึงต่อเขตแดนเขมร
ในปี พ.ศ. 2475 เป็นระยะเวลาที่กรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ทรงจัดงานเฉลิมฉลองโดยทำนุบำรุง บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งสำคัญอันเป็นหลักของกรุงเทพฯ หลายประการ คือ บูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง สร้างสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเชื่อมกรุงเทพฯและธนบุรี เป็นการขยายเขต เมืองให้กว้างขวาง และสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ด้านการปกครอง ทรงมีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญในโอกาสกรุงเทพฯ มีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ. 2475 แต่ก็มีเหตุที่ยังไม่อาจทำได้ในระยะนั้น ซึ่งเป็นช่วงที่มีคณะบุคคลคณะหนึ่งถือ โอกาสยึดอำนาจการปกครอง ขอเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน การกระทำดังกล่าวเป็น พระราชประสงค์ที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แต่แรกแล้ว จึงทรงพระราช ทานอำนาจและยินยอมให้ปกครองแบบประชาธิไตย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองชาติเดียวใน โลกที่เลือดไม่นองแผ่นดิน ทรงยินยอมสละพระราชอำนาจ เป็นพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้กฎหมาย ทรงให้ตรวจตราตัวบทกฎหมายรัฐธรรมนูญที่จะเป็นหลักในการปกครองอย่างถี่ถ้วน การที่พระองค์ทรง เป็นนักประชาธิปไตยอย่างแท้จริงนี่เอง เมื่อคณะรัฐบาลบริหารงานไม่ถูกต้องตามหลักการที่วางไว้ พระองค์จึงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 รวมเวลาครองราชย์ 9 ปี พระองค์ทรงประทับอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ และเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระหทัยพิการ ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รวม พระชนมายุ 48 พรรษา


พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 – 2489)
ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบอร์ก ประเทศเยอรมนี พระองค์ไม่เพียงแต่ทรงพระราชสมภพในต่างประเทศ เท่านั้น หากยังทรงต้องประทับอยู่ต่อมา พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนก และพระราชชนนี เนื่องจากสมเด็จพระบรมราชชนก ประทับทรงศึกษาวิชาแพทย์อยู่ในขณะนั้น ทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในประเทศไทย แล้วเสด็จไปทรงศึกษา ต่อ ณ ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
ทรงขึ้นครองราชยสมบัติ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 นั้น คณะรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร จึงอัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราชสมบัติ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ ทรงพระนามว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์สยามินทราธิราช ขณะทรงมีพระชนมายุ 9 พรรษา โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ระหว่างประทับทรงศึกษาอยู่ในประเทศสวิสเซอร์ แลนด์นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันท มหิดลได้เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย 2 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2481 และปี พ.ศ. 2488 ถึงแม้จะทรง เป็นยุวกษัตริย์ แต่ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทยได้อย่างดียิ่ง ทรงโปรดที่จะ เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎรอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเสด็จพระราชดำเนินสำเพ็ง เพื่อทรง เยี่ยมประชาชนชาวจีนและอินเดียในบริเวณนั้น เป็นผลให้ความแตกแยกระหว่างประชาชนชาวไทยและจีน ซึ่งมีขึ้นก่อนหน้านั้นระงับไปได้ด้วยพระปรีชาอันสามารถ
สวรรคต
ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลประทับอยู่ในพระนคร เมื่อคราวเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทยครั้งที่ 2 นั้น โดยมิได้คาดฝันพระองค์เสด็จสวรรคต เพราะถูกพระแสงปืน ณ พระแท่นบรรทมในพระที่นั่งบรมพิมาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 หลังจากเสวยราชสมบัติอยู่เป็น เวลา 12 ปีเท่านั้น


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9
ทรงพระราชสมภพที่โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเสทท์ ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ทรงเป็นพระโอรสองค์ที่ 3 ของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรมบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นพระอนุชาของ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระองค์ทรงศึกษาวิชาสามัญชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี แล้วเสด็จไปประทับและศึกษาต่อที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิสเซอร์ แลนด์ ในปี พ.ศ. 2481 พระองค์ได้โดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดลนิวัติประเทศไทย ประมาณ 2 เดือน ก็เสด็จกลับสวิสเซอร์แลนด์ จนภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ใน พ.ศ. 2488 จึง ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล กลับประเทศไทย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อ จากนั้นทรงเสด็จกลับไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับประเทศไทย พ.ศ. 2493 ทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2493 และทรง ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จากนั้นทรงเสด็จไปสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อทรงศึกษาต่อ และเสด็จกลับ พ.ศ. 2494 ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยาม มกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬา ภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
แม้ว่าบทบาทของพระมหากษัตริย์หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จะลดลงเป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พระองค์ยังคงพยายามปฏิบัติพระราชภารกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ใน ด้านต่างๆ คือ ทางด้านเศรษฐกิจ ทรงพยายามช่วยเหลือ โดยการส่งเสริมอาชีพ เช่น การทำฟาร์มโคนม พระราช ทานความคิดในการประดิษฐ์เครื่องยนต์กลไก ส่งเสริมการเลี้ยงไหม การประมง ป่าไม้ โครงการ เกษตรหลวงที่ดอยอ่างขางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อชักชวนให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น มาปลูกพืชผลและดอกไม้ ที่จะเป็นประโยชน์กว่า โครงการเกษตรกรรมที่หุบกระพง ประจวบคีรีขันธ์
ทางด้านสังคม เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมราษฎรจังหวัดต่างๆ อย่างทั่วถึง ทรงก่อตั้งมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย มูลนิธิราชประชาสมาสัย เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเรื้อน ทรง ตั้งหน่วยแพทย์พระราชทาน มูลนิธิพัฒนาอนามัย มูลนิธิวิจัยประสาทวิทยา ฯลฯ
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ทรงฟื้นฟูสืบทอดประเพณีหลายอย่างเพื่อเป็นขวัญ เช่น พระราชพิธี จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น
ด้านศาสนา ทรงออกผนวชตามพระราชประเพณี เมื่อ พ.ศ. 2495 ทรงอุปถัมภ์การทำนุบำรุง ศาสนาทุกด้าน เช่น การสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป ประกอบพิธีทางศาสนา เช่น การทอดกฐิน ผ้าป่า และการบำเพ็ญกุศลต่างๆ นอกจากนี้ยังทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ทุกๆ ศาสนาที่ประชาชนนับถือ ด้านการเมืองการปกครอง เนื่องจากฐานะของพระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ภายใตัรัฐธรรมนูญ จึงไม่มีบทบาทโดยตรงทางการเมือง แต่ในทางปฏิบัติทรงเป็นประมุข ทรงเป็นผู้พระราชทานรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นแบบอย่างในการปกครอง ทรงเป็นศูนย์รวมทางจิตใจของประชาชน เวลาที่เกิดวิกฤตการณ์หรือ ความไม่มั่นใจในชาติ ดังเมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ยามที่เดือดร้อนที่สุด ประชาชนก็ไปขอ รับพระราชทานความร่มเย็นจากพระองค์ พระองค์ยังทรงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนชาวไทยเสมอมา
image
วันจักรี (6 เมษายน)
ประวัติวันเช็งเม้ง

สมัยชุนชิว เจี้ยจือทุยเป็นองครักษ์ขององค์ชายเหวินกง แห่งแคว้นจิ้น ตอนวัยเยาว์เกิดความวุ่นวายทางการเมือง เหวินกงต้องลี้ภัยไปอยู่ต่างแดนเป็นเวลานาน

ครั้งหนึ่ง เหวินกงเกิดล้มป่วย หมอบอกว่าสาเหตุเกิดจากพักผ่อนไม่เพียงพอและขาดสารอาหาร จะต้องบำรุงด้วยเนื้อสัตว์จึงจะหาย เวลานั้นลี้ภัยอยู่ในพื้นที่กันดาร ไม่สามารถหาเนื้อสัตว์มาเสวย เจี้ยจือทุยจึงเฉือนเนื้อที่น่องของตนปรุงเป็นอาหารให้เหวินกงเสวยครั้นเหวิ นกงหายเป็นปกติ ทุกคนก็รีบเดินทางต่อไป เหวินกงเห็นเจี้ยจือทุยเดินช้ากว่าคนอื่น จึงถามด้วยความแปลกใจว่า “จือทุย เจ้าเป็นคนเดินเร็วที่สุด ไฉนวันนี้จึงเดินช้านัก” เจี้ยจือทุยได้แต่ยิ้มไม่ตอบอะไร คนรับใช้คนหนึ่ง

ได้ชี้ไปที่น่องของเจี้ยจือทุยพลางบอกว่า “อาหารที่องค์ชายเสวยปรุงจากเนื้อที่น่องเขานั่นเอง” เหวินกงตกตะลึงตบบ่าของเจี้ยจือทุยด้วยความรู้สึกขอบคุณจนน้ำตาคลอ คิดว่าได้ครองแผ่นดินเมื่อไหร่จะประทานรางวัลอย่างถึงที่สุด

19 ปีต่อมา โดยความช่วยเหลือของแคว้นฉิน ในที่สุดเหวินกงก็ได้เป็นเจ้าผู้ครองแคว้นจิ้น เรื่องแรกที่เหวินกงคิดจะทำ ก็คือตอบแทนความดีของเจี้ยจือทุย จึงส่งคนไปเยือนเจี้ยจือทุย ทว่าเขาและมารดาได้ไปจำศีลอยู่บนเขาเสียแล้ว เหวินกงจึงสั่งให้ออกค้นหาที่อยู่ของเจี้ยจือทุย ในที่สุดก็รู้ว่าสองแม่ลูกอยู่บนเขาหมินซัน แต่เจี้ยจือทุยไม่ยอมลงจากเขา แม้เหวินกงจะขอร้องอย่างไรก็ตาม พวกขุนนางจึง
เสนอแผนให้เผาป่า ยังไงเสียเขาก็ต้องหนีลงมาแน่ เหวินกงจึงสั่งให้วางเพลิงเผาป่าเมื่อไฟสงบคนของเหวินกงขึ้นไปบนเขา ได้พบแต่ศพ 2 ศพถูกเผาจนไหม้เกรียม “เพื่อนรัก อภัยให้ข้าเถิดที่โง่เขลา
เหวินกงกอดศพร่ำไห้ หลังจากนั้นก็ออกคำสั่งไปทั่วประเทศให้วันนั้นเป็นวันเช็งเม้ง เพื่อรำลึกถึงความซื่อสัตย์ภักดีของเจี้ยจือทุย โดยให้ทุกคนถือศีลกินเจอุทิศกุศลไปให้ ต่อมาเทศกาลเช็งเม้งได้แปรเปลี่ยนเป็นการไหว้บรรพบุรุษตราบจนทุกวันนี้


ชิงหมิง   
    (qing-ming, อักษรจีนตัวเต็ม: 清明節, อักษรจีนตัวย่อ: 清明节, พินอิน: Qīngmíngjié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) “เช็ง” หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ “เม้ง” หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์
    เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง ในประเทศจีน เริ่มต้นประมาณ 5 – 20 เมษายน เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น เริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง (เป็นที่มาของชื่อ เช็งเม้ง)
    สำหรับในประเทศไทยเทศกาลเช็งเม้ง ถือวันที่ 5 เมษายนของ ทุกปีเป็นหลัก แล้วนับวันก่อนถึง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน รวมเป็น 7 วัน (2 – 8 เมษายน) แต่ในปัจจุบันเนื่องจากมีปัญหาการจราจรคับคั่ง เลยขยายช่วงเวลาเทศกาลให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ (ประมาณ 15 มีนาคม – 8 เมษายน) แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ เช่น จังหวัดตรังจะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน ประมาณวันที่ 4 เมษายนของทุกปี
   ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน (ฮวงซุ้ย) เป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อ ที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ

ตำนานการเกิดเชงเม้ง
    ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมี เจี้ยจื่อทุย ติดตามไปดูแลรับใช้
    เจี้ย จื่อทุย มีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อ ประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น เจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ
    จิ้น เหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน
เนื่อง จากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึง วันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

เทศกาลเช็งเม้ง
   ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีน คือ ไหว้บรรพบุรุษ ที่ สุสาน (ฮวงซุ้ย หรือ ฮวงจุ้ย ) เทศกาล เชงเม้ง เป็นเทศกาลประจำปีในการบูชาและแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของชาวจีน  ก่อน วันพิธีจะมีการทำความสะอาดหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ หลังจากนั้นในวันพิธีจะมีการเซ่นไหว้อาหารหวานคาว ที่หลุมฝังศพ เพื่อเป็นการ รำลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ และเป็นการส่งอาหารให้ทุกปี เพื่อมิให้อดอยาก เมื่อไปอยู่อีกภพหนึ่ง คนจีนส่วนใหญ่ จะหยุดงานมาร่วมพิธีกัน พร้อมหน้าพร้อมตา หรือถือว่าเป็นวันพบญาติของคนจีนก็ว่าได้
การบูชาบรรพบุรุษ (Ance stor Worship) และการไว้ทุกข์ (Mourning) ถือ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญที่สุดพิธีกรรมหนึ่งของชาวจีน และปฏิบัติกันแพร่หลายสืบมาหลายพันปีจวบจนทุกวันนี้ แม้ว่าการไว้ทุกข์และการบูชาบรรพบุรุษจะเป็นความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน แต่ก็ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากปรัชญาขงจื้อ เพราะขงจื้อถือว่าเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามในการปลูกฝังความกตัญญู กตเวทีแก่ชนรุ่นหลัง เป็นโอกาสที่พี่น้องลูกหลานจะมาพบปะกัน และประเพณีก็เป็นเครื่องร้อยรัดผู้คนในสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ขงจื้อจึงมองเทศกาล เชงเม้ง ในแง่ของจริยธรรมทางสังคม มากกว่าในแง่อภิปรัชญาเรื่องชีวิตหลังความตาย

ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ย
เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้น แล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนลางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิฐานต่อสวรรค์ด้วย การโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุ่มศพก็เริ่มมาจากตรงนี้ เอง

ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง
1.    เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา
ลำบากเพื่ื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต
"เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"
2.    เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล
โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน )
ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า
เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ
3.    เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน"
เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตาม
4.    เป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน
ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง
1.    การทำความสะอาด สุสาน ( เซ้าหมอ )
ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง
( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม
เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ )

บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง
( สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง :: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้ )
ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม
และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว
2.    กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแล
การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย )
1.    เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก ( อาจปักลงบนฟักได้ )
2.    ชา 5 ถ้วย
3.    เหล้า 5 ถ้วย
4.    ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
*** ควรงดเนื้อหมู - เพราะเคยมีปรากฎว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม ***
5.    กระดาษเงิน กระดาษทอง
กราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่ บรรพบุรษ
ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน
การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น )
6.   ชา 3 ถ้วย
7.  เหล้า 3 ถ้วย
8.   ของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้
* ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย *
9.  กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
10.  เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก
หมายเหตุ
*** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจีี๊ยะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***
พิธีเช็งเม้ง

ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน

ลูกหลาน
ตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ
เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ
ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี

บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ เพื่อเป็นการ
แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ

ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย
1.    เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง
ลงบนเนินหลังเต่า
( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือ มีลูกหลานมาก
ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชา
2.    ทุกครั้งที่มาไหว้ จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน
ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์
โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี
3.    ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ
ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว
แต่ปลูกหญ้าได้
4.    หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น
ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็น เทศกาลเช็งเม้ง ขึ้นอยู่กับฤกษ์
หากทำในสารทนี้โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูร
5.    จุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป
ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น
หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภ หากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา

( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี )
6.    บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง
ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับ
7.    บางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ
นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ
ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มี
8.    การไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี
ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง
โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลัก
9.    การไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์
ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย
โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้
หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย
*** ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น
***

และไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นช่วง เช็งเม้ง เท่านั้น
ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก

เทศกาล ใน การไหว้บรรพบุรุษ
 
สารท
ราศีเดือน
ห้ามทิศ
( ชง ปะทะ )
ห้ามทิศด้านหลัง
สุสาน
ชุนฮุน
( 21 มีนา - 4 เมษ )
/4
/10
( 270 +/- 15 องศา )
ทิศตะวันตก
เช็งเม้ง
( 5 เมษ - 20 เมษ )
/5
/11
( 300 +/- 15 )
ทิศใต้
ตังโจ่ย
( 22 ธค. - 5 มค. )
/1
/7
( 180 +/- 15 )
ทิศใต้

ใน ทุกวันนี้เราจะพบเห็นลูกหลานชาวจีนทั้งหลายไม่ว่าจะในท้องถิ่นใด เดินทางไปที่สุสานอากงอาม่าของพวกเขา เพื่อเก็บหญ้าล้างสุสาน ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นบ้านที่อยู่อาศัยของบรรพบุรุษ และไปวางเครื่องเซ่นไหว้ประกอบพิธี รวมทั้งประดับตกแต่งสุสานด้วยดอกไม้ กระดาษสี เช่นที่พบเห็นในเมืองไทย
   
       สำหรับชาวจีนรุ่นใหม่ที่นิยมเผาศพแทนการฝัง ก็จะไปไหว้บรรพบุรุษตามสถานที่ที่บรรจุอัฐิแทน ส่วนชาวจีนโพ้นทะเลที่สิงคโปร์นิยมไปไหว้ป้ายศพของบรรพบุรุษที่วัด ชาวจีนบางถิ่นก็ไหว้ที่บ้าน
   
       แม้ ว่ารูปแบบการไหว้ของชาวจีนในถิ่นต่างๆจะแตกต่างกันไป แต่ความหมายที่แท้จริงของวันเช็งเม้งก็คงยังไม่หลีกหนีไปจากการรำลึกถึงปู่ ย่าตาทวด ซึ่งความสำคัญนี้จะยิ่งทวีความหมายยิ่งขึ้น  หากว่าลูกหลานคนรุ่นหลังจะได้รับรู้ถึงประวัติชีวิตที่ผ่านมาของบรรพบุรุษของตน  และตระหนักถึงความยากลำบากของพวกท่าน ก่อนที่ตนจะได้รับความสุขสบายในวันนี้ .