important day thai

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

     วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ" เหตุเพราะเป็นวันที่สหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือสหกรณ์ "วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลกได้รับการจดทะเบียนจากกรมหมื่นพิทยาลงกรณ(นายทะเบียนสหกรณ์ในขณะ นั้น) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลสหกรณ์แห่งแรกในสยามประเทศ
     สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมันนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "
     สหกรณ์ถือกำเนิดมาจากปัญหาในปลายสมัยรัฐกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นอาชีพหลักของประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย คือการทำนา เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น นับเนื่องตังแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ทำให้ระบบ "เพื่อเลี้ยงตัวเองในชนบท" มาสู่ระบบเศรษฐกิจ "เพื่อการค้า" ความต้องการเงินทุนเพื่อขยายการผลิตและการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ 85 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรอยู่ในฐานะยากจน ขาดแคลนเงินทุนต้องกู้หนี้ยืมสินจากพ่อค้านายทุน "คหบดี" ซึ่งมักถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืมเหล่านี้ทุกวิถีทาง เช่น การกำหนดดอกเบี้ยในอัตราสูง การทำสัญญาส่งใช้เป็นข้าวเมื่อเก็บเกี่ยงแล้ว ในเรื่องช่างตวงวัดก็กำหนดเอาตามพอใจ ทำให้ชาวไร่ชาวนาเสียเปรียบเป็นอย่างมาก
     ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นใน ปีพ.ศ.2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้าๆ จนถึงสิ้น ปีพ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 ขึ้น และจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่นๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ.2495 ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ.2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
     การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงาน อิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515
     ผลการดำเนินงานทางสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมานเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัวของสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชานให้ดีขึ้น
     รัฐและขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมจิตใจจัดงาน "วันสหกรณ์แห่งชาติ" ขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่ว่าจะศก.ปีใด จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด"สหกรณ์" พระองค์ท่านไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียนเท่านั้น แต่เป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ยังเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่และจัดตั้งขยายกิจการ การสร้างความผาสุกแก่ประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดี เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ


           ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีดินฟ้าอากาศเหมาะแก่การเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ของพลเมืองคือการประกอบการเกษตรสาขาต่าง ๆ การผลิตในสมัยก่อน ๆ ผู้ผลิตคนหนึ่ง ๆ ผลิตเพียงแต่เลี้ยงครอบครัว มิได้มุ่งหวังเพื่อขาย ส่วนสินค้าที่ผลิตไม่ได้ก็เอาสินค้าที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยน ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น การพาญิชย์ที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางก็เจริญขึ้น การเอาของมาแลกกันก็น้อยลง ในขณะเดี๋ยวกันประชากรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นความต้องการสินค้าอุปโภคของประชากรจึงปริมาณสูงขึ้นด้วย
           ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตข้าวพอเลี้ยงครอบครัวเท่านั้นไม่ได้ ต้องผลิตให้มากขึ้นเพื่อขายเอาเงินเพื่อซื้อสินค้า เมื่อมีการผลิตข้าวมากขึ้นก็ต้องใช้ปัจจัยทุนในการผลิตมากขึ้นด้วย ถ้าผู้ผลิตรายใดไม่มีปัจัยทุน ก็ต้องกู้ยืมจากธนบดี ในอัตราดอกเบี้ยสูง เมื่อผลิตข้าวได้แล้วก็นำไปขายเพื่อชำระหนี้ การชำระหนี้ดังกล่าวจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการผลิตข้าวได้ผลดี แต่ระบบการผลิตข้าวในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศทั้งนั้น กล่าวคือถ้าปีใดฝนตกตามฤดูกาล และมีปริมาณน้ำฝนพอเหมาะแก่ความต้องการ การผลิตข้าวก็ได้ผลดี แต่ถ้าปีใดสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดี ผลผลิตที่ได้จะลดน้อยลง มีผลทำให้การบริโภคไม่เพียงพอ และไม่มีข้าวสำหรับชำระหนี้ด้วย และต้องมีการจำนองที่นาและทรัพย์สินเป็นหลักประกันเงินกู้ด้วย ในที่สุดก็ไม่มีที่ดินในการทำมาหากินเป็นของตนเอง
           สถานการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้เป็นมูลเหตุแห่งความดำริของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จะช่วยเหลือเกษตรกร โดยครั้งแรกมีผู้ดำริที่จะจัดตั้งธนาคารเกษตรขึ้นที่ส่วนกลางและมีสาขาตามภูมิภาค เพื่อให้เครดิตแก่เกษตรกรโดยตรง แต่เมื่อได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็พบปัญหาการชำระหนี้ไม่ได้ตามสัญญา การตั้งธนาคารเกษตรเลยไม่ประสบความสำเร็จ
จากนั้นพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำริที่จะนำสหกรณ์มาใช้ การสหกรณ์จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงได้ทรงมอบให้ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ซึ่งพระราชวรวงศ์ เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้เริ่มชักนำสหกรณ์เข้ามาสู่ประเทศไทย
           การเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงศึกษาพิจารณาประเภทสหกรณ์ซึ่งมีอยู่ในต่างประเทศ เพื่อเลือกสรรนำมาใช้ในประเทศไทย ในที่สุดได้เห็นว่าสหกรณ์หาทุน (สหกรณ์เครดิตแบบไรพ์ไฟเซน) เหมาะที่สุดสำหรับชนบทไทย


           ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นในปี พ.ศ. 2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้า ๆ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้นและจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด
           เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ. 2495
           ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ. 2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
           การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิม เพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515


           สหกรณ์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กำหนดสหกรณ์ออกเป็น 6 ประเภท คือ
           1. สหกรณ์ร้านค้า
           2. สหกรณ์ประมง
           3. สหกรณ์การเกษตร
           4. สหกรณ์บริการ
           5. สหกรณ์นิคม
           6. สหกรณ์ออมทรัพย์


แหล่งอ้างอิง
ผศ.สมัย รื่นสุข. การสหกรณ์. กรุงเทพฯ:แพร่วิทยา
              วันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากวันที่ 24 กุมภาพันธ์ เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นด้านกวีนิพนธ์ ด้านประติมากรรม และด้านดนตรี ทั้งยังทรงเป็นองค์อุปถัมภก ทรงทำนุบำรุง ซ่อมแซมงานศิลปกรรมต่างๆ และทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยของพระองค์อีกด้วย ดังนั้น เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่นี้ คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ประกาศให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ

พระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์
     รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่ง มีความรุ่งเรืองด้านกาพย์กลอนสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ 2 นั้น ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" ในรัชสมัยนี้มีกวีที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก นอกจากนี้พระองค์ท่านยังทรงพระราชนิพนธ์บทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก และเป็นที่รู้จักจวบจนปัจจุบันนี้
ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม
     พระองค์ท่านทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูป และยังทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ของพระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง นอกจากนี้แล้วยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์ฯ คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่า พระยารักใหญ่ และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรี
     พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถดนตรีเป็นอย่างสูง เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือ ซอสามสาย เพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ เพลงบุหลันลอยเลื่อน หรือ บุหลัน(เลื่อน)ลอยฟ้า ต่อมามักจะเรียกว่า เพลงทรงพระสุบิน เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายจนรู้จักกันกว้างขวางถึงปัจจุบันเช่นกัน


        เข็มเชิดชูเกียรติ       

    http://www.tungsong.com/Important_Day/Art/Images/nation.jpg
       
ความสำคัญ

        เพื่อระลึกถึงวันคล้ายพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ 2310 เอกอัครศิลปินที่ยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ได้ทรงร่วมกับช่างประติมากรรมฝีมือเยี่ยมในสมัยนั้นแกะสลักบานประตูไม้พระวิหาร วัดสุทัศน์เทพวรารามเป็นลายเครือเถารูปป่าหิมพานต์นับเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยม
        ด้านวรรณกรรม ถือว่าทรงเป็นกวีเอกแห่งแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมไว้จำนวนมากมายหลายเรื่อง เช่น อิเหนา ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของกลอนบทละครรำ นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพนธ์บทละครนอกไว้ถึง 5 เรื่อง ได้แก่ ไกรทอง พระไชยเชษฐ์ คาวี สังข์ทอง และมณีพิชัย และด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในด้านวรรณกรรม ทรงได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวรรณกรรม
        และเพื่อเป็นการยกย่องศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงาน ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติจึงได้มอบรางวัลให้แก่ ศิลปินที่มีผลงานดีเด่นในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเป็นการยกย่องและเชิดชูเกียรติศิลปิน


       
วันศิลปินแห่งชาติ

        ในส่วนของวันศิลปินแห่งชาติ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2527 ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ มีวัตถุประสงค์ในขณะนั้นว่า ต้องยกย่อง เชิดชู สนับสนุน ส่งเสริม รวมถึงช่วยเหลือศิลปินผู้สร้างสรรค์งานศิลปะอันทรงคุณค่า โดยได้กำหนดรางวัลรวมถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ของศิลปินแห่งชาติไว้ดังนี้ ศิลปินแห่งชาติได้กำหนดไว้ 3 สาขา ได้แก่

        1. สาขาทัศนศิลป์ (Visual Art) หมายถึง ศิลปะที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นแบบสองมิติ หรือสามมิติก็ได้ โดยสามารถแบ่ง
            ได้เป็น 8 สาขา ได้แก่
           - จิตรกรรม
           - ประติมากรรม
           - ภาพพิมพ์
           - ภาพวาด
           - ภาพถ่าย
           - สื่อประสม
           - สถาปัตยกรรม
           - การออกแบบ

        2. สาขาศิลปะการแสดง (Performing Art) หมายถึง ศิลปะที่ใช้การแสดงทั้งทางด้านวิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ การแสดง ดนตรี
            และการแสดงพื้นบ้าน

        3. สาขาวรรณศิลป์ (Literature) หมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวกับงานประพันธ์ต่าง ๆ ได้แก่ กวีนิพนธ์ บทละคร เรื่องสั้น และนวนิยาย

       
ลักษณะและความหมายของเข็มศิลปินแห่งชาติ
         ลักษณะของเข็ม เป็นเหรียญกลม ภายในจัดองค์ประกอบเป็นภาพดอกบัวเรียงกันสามดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่อง อ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งของเหรียญ ภายในผ้าจารึกคำว่า "ศิลปินแห่งชาติ" และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ประดิษฐานไว้เหนือเหรียญกลมโดยมีผ้าโบพันรอบคฑาไม้ชัยพฤกษ์ หัวเม็ดทรงมัณฑ์ เชื่อมประสานระหว่างกัน
    
            
ความหมาย

        แสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ความสารมารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะอุทิศตนสร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะ ไว้มากมายจนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติทั้งในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชู เกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รบพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติ เข้ารับพระราชทานเข็มเพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลต่อไป

       
คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ
        1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย และมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน
        2. เป็นผู้มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น
        3. เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้นจนถึงปัจจุบัน
        4. เป็นผู้ผดุงและถ่ายทอดศิลปะแขนงนั้น
        5. เป็นผู้ปฏิบัติงานศิลปะแขนงนั้นอยู่ในปัจจุบัน
        6. เป็นผู้มีคุณธรรมและมีความรักในวิชาชีพของตน
        7. เป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

กลุ่มที่ ๑ ศิลปินแห่งชาติ
        1. ค่าครองชีพรายเดือน เดือนละ 6,000 บาท
        2. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
        3. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 5,000 บาท
        4. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 12,000 บาท

กลุ่มที่ ๒ ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นและผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม
        1. ค่ารักษาพยาบาลเฉพาะตัว ตามระเบียบของทางราชการ
        2. ช่วยเหลือเมื่อประสบอุบัติเหตุ หรือสาธารณะภัยเท่าที่จ่ายจริง หรือไม่เกิน 3,000 บาท
        3. ช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต คนละ 7,000 บาท

กลุ่มที่ ๓ ศิลปินอื่นนอกจากกลุ่มที่ ๑ และ ๒
        การช่วยเหลือให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการกองทุนศิลปิน

ศิลปินแห่งชาติ

        ศิลปินแห่งชาติ ๔ ท่านแรกที่ทางสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้แก่
        1. หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์
        2. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์
        3. นายเฟื้อ หริรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์
        4. นายมนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทย




ที่มา : ศิริวรรณ คุ้มโห้ วันและประเพณีสำคัญ กุรงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์   

วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี
     วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก ตรงกับวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี  เนื่องจาก ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514  นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง  “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศโดยเฉพาะเป็น แหล่งที่อยู่ของนกน้ำ”  ขึ้น ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์
     พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands) คือ    คำจำกัดความตามอนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ กล่าวว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำ" หมายความถึง ที่ลุ่ม ที่ราบลุ่ม ที่ลุ่มชื้นแฉะ พรุ แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวรและชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำไหล ทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม รวมไปถึง ที่ชายฝั่งทะเลและที่ในทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุด มีความลึกขอระดับน้ำ ไม่เกิน 6 เมตร  พื้นที่ซึ่งมีลักษณะจัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงรวมถึง ห้วย หนอง คลอง บึง บ่อ กระพัง (ตระพัง) บาราย แม่น้ำ ลำธาร แคว ละหาน ชานคลอง ฝั่งน้ำ สบธาร สระ ทะเลสาบ แอ่ง ลุ่ม กุด ทุ่ง กว๊าน มาบ บุ่ง ทาม พรุ สนุ่น แก่ง น้ำตก หาดหิน หาดกรวดหาดทราย หาดโคลน หาดเลน  ชายทะเล ชายฝั่งทะเล พืดหินปะการัง แหล่งหญ้าทะเล แหล่งสาหร่ายทะเล คุ้ง อ่าวดินดอนสามเหลี่ยม ช่องแคบ ชะวากทะเล ตะกาด หนองน้ำกร่อย ป่าพรุ ป่าเลน ป่าชายเลน ป่าโกงกาง ป่าจาก ป่าแสม รวมทั้งนาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ เป็นต้น
     โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการจำแนกรวมกับพื้นที่ที่ไม่ ได้รับการจำแนกและคุ้มครองในรูปพื้นที่อนุรักษ์ต่างๆ ที่รวมถึงป่าชายเลน ป่าพรุ ทะเล หนองและบึง ต่างๆ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 15.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ประเทศ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ ชุ่มน้ำโดยรวมประชาชนทั่วไป และองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความเข้าใจต่อความสำคัญทางเศรษฐกิจที่แท้ จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้มีการบุกรุกทำลายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หลากหลาย
     ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชนท้องถิ่น ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อความเสื่อมโทรม การลดลงและสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงเกิดอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้น เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้   ภายใต้เงื่อนไขการจัดการในแต่ละประเทศนั้นๆ  เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ  นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง  “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ”  ขึ้นใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักใน นามอนุสัญญาแรมซาร์

ความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทหน้าที่ ตลอดจนคุณค่าและความสำคัญต่อวิถีชีวิต ทั้งมนุษย์ พืช และสัตว์ ทั้งทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ

อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)
     อนุสัญญานี้มีชื่อตามชื่อของสถานที่ที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรอง อนุสัญญาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2514 คือ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญานี้เป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับ ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์และยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก ซึ่งจะต้องมีการจัดการเพื่อใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด
อนุสัญญาแรมซาร์ มีผลบังคับใช้เมื่อปี พ.ศ. 2518 ตามเงื่อนไขว่าอนุสัญญาฯ จะมีผลบังคับใช้เมื่อประเทศต่างๆ เข้าร่วมเป็นภาคี 7 ประเทศ ในขณะนี้มีประเทศต่างๆจากทั่วโลกเข้าร่วมเป็นภาคี รวมทั้งสิ้น ประเทศ
ประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์เป็นลำดับที่ 110 ซึ่งพันธกรณีของอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ วันที่ 13 กันยายน 2541
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับประเทศ ( Ramsar Site ) ดังนี้
      1. พรุควนขี้เสี้ยน บริเวณเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จ.พัทลุง มีพื้นที่ประมาณ 3,085 ไร่ (ประกาศเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2541)
      2. ดอนหอยหลอด จ.สมุทรสงคราม (ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544)
      3. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงโขงหลง จ.หนองคาย (ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544)
      4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองบงคาย บริเวณแอ่งเชียงแสน จ.เชียงราย (ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544)
      5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกีรยติพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (พรุโต๊ะแดง) จ.นราธิวาส (ประกาศเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2544)

เมื่อกล่าวถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้คนส่วนใหญ่มักนึกถึงการอนุรักษ์ผืนป่าอันอุดมสมบูรณ์ หรือแหล่งน้ำจืดขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งทรัพยากรอันมีค่า หรือน้ำตก ชายหาด เกาะ แก่ง ปะการัง ที่มีทัศนียภาพสวยงามและมีคุณค่าทางนันทนาการ แต่สำหรับพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ป่าพรุหรือทุ่งหญ้าน้ำท่วมถึงนั้น สาธารณชนส่วนใหญ่มักมองข้ามคุณค่าไป โดยเห็นว่าเป็นพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ไม่มีทรัพยากรที่มีค่า ไม่มีประโยชน์ เป็นเพียงพื้นที่เฉอะแฉะ มีหญ้าขึ้นรกรุงรัง ตลอดจนเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ที่มีพิษ เช่น งู และพาหะนำโรคต่าง ๆ เช่น ยุง ที่รบกวนความเป็นอยู่ของชุมชนใกล้เคียงทั้ง ๆ ที่คนไทยทุกคนให้ความสำคัญกับพื้นที่ชุ่มน้ำมาตั้งแต่สมัยโบราณดังคำกล่าวที่ว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังเป็นระบบนิเวศที่มีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อวิถีชีวิตของชุมชนชนบท จนมีผู้กล่าวว่า "พื้นที่ชุ่มน้ำเปรียบเสมือนซุปเปอร์มาร์เกตของชุมชน" ที่ชุมชนสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงิน
"พื้นที่ชุ่มน้ำ" เป็นคำที่ใช้เรียกระบบนิเวศที่ปกคลุมด้วยพื้นน้ำบางส่วนหรือทั้งหมดอย่างถาวรหรือในช่วงเวลาหนึ่ง จึงมีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำส่วนมากจะเป็นพื้นที่บริเวณรอยต่อระหว่างระบบนิเวศบกและระบบนิเวศน้ำ เช่น ป่าชายเลน ป่าพรุ ที่มีน้ำขังอยู่ชั่วคราวหรือเป็นระยะ ๆ นอกจากนั้น พื้นที่ชุ่มน้ำยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นแหล่งน้ำจืด พื้นที่ชายฝั่ง และในทะเล โดยที่ความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นพื้นที่มีระบบนิเวศที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุด เป็นแหล่งที่มีความหลากหลายของพืชและสัตว์นานาชนิดที่อาศัยทรัพยากรน้ำ และทรัพยากรชีวภาพที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต พื้นที่ชุ่มน้ำโลกมีคุณประโยชน ์คือ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำ ป้องกันน้ำท่วม ลดการพังทลายหน้าดิน ควบคุมการไหลเวียนของน้ำไปยังแหล่งน้ำใต้ดินและรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ    

จากนิยามดังกล่าวทำให้พื้นที่มากมายมีลักษณะที่จัดได้ว่าเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำได้แก่ บริเวณปากแม่น้ำบริเวณชายฝั่งทะเล บริเวณที่ราบน้ำท่วมถึง บริเวณที่ลุ่มน้ำจืดชื้นแฉะ ทะเลสาบ พื้นที่พรุ และบริเวณป่าที่ลุ่มน้ำขัง หรือแม้กระทั่งพื้นที่น้ำขังที่พัฒนาโดยมนุษย์ เช่น นาข้าว นากุ้ง นาเกลือ บ่อปลา อ่างเก็บน้ำ ฯลฯ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ชุ่มน้ำที่ได้รับการจำแนกรวมกับพื้นที่ที่ไม่ได้รับการจำแนกและคุ้มครองในรูปพื้นที่อนุรักษ์ต่าง ๆ ที่รวมถึงป่าชายเลน ป่าพรุ ทะเล หนองและบึง ต่าง ๆ ฯลฯ คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 15.7 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ 5 ของพื้นที่ประเทศ
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า ปัญหาการคุกคามพื้นที่ชุ่มน้ำใน ประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดความเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของพื้นที่ชุ่มน้ำโดยรวมประชาชนทั่วไปและองค์กรที่เกี่ยวข้องก็ยังขาดความเข้าใจต่อความสำคัญทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของพื้นที่ชุ่มน้ำ ทำให้มีการบุกรุกทำลายและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่หลากหลาย    

นอกจากนั้น ความขัดแย้งระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐเอกชน ชุมชนท้องถิ่น ก็ได้ส่งผลคุกคามต่อความเสื่อมโทรม การลดลงและสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นจึงเกิดอนุสัญญาพื้นที่ชุ่มน้ำโลก หรือ อนุสัญญาแรมซาร์ เป็นอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้น เพื่อมีวัตถุประสงค์ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ ในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนเท่าที่จะเป็นไปได้ ภายใต้เงื่อนไขการจัดการในแต่ละประเทศนั้น ๆ เพื่อเป็นการอนุรักษ์ระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญ นานาชาติได้ร่วมยกร่างและลงนามในการรับรอง “อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเป็นแหล่งที่อยู่ของนกน้ำ” ขึ้นใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2514 ณ เมือง Ramser ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาเป็นรู้จักในนามอนุสัญญาแรมซาร์ วัตถุประสงค์หลักในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและเป็นข้อตกลงทางสิ่งแวดล้อม

หลายปีที่ผ่านมาอนุสัญญาฯ ได้พัฒนาตนเองจากข้อตกลงที่เน้นเพียงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยนกน้ำ มาเป็นกลไกระดับนานาชาติ ในการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำตามอนุสัญญาแรมซาร์ ดังนั้นประเทศไทยได้มอบสัตยาบันสาร ต่อผู้แทน UNESCO ในวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 และมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 กันยายน 2541 ส่งผลให้ ประเทศไทยเป็นประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญา
แรมซาร์ลำดับที่ 110
โดยเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ ควนขี้เสียน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นไปตาม พันธกรณีของอนุสัญญา คือ ประเทศภาคี จะต้องกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมในดินแดนของตนเพื่อรวมไว้ในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (List of Wetland of International Importance) โดยคำนึงถึงความสำคัญในระดับนานาชาติ ทั้งด้านนิเวศวิทยา พฤกษศาสตร์ สังคมศาสตร์ ชีววิทยา และอุทกวิทยา และต้องดำเนินการส่งเสริมการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำนั้น ๆ อย่างชาญฉลาดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ซึ่งได้รับการเสนอให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือสุดของทะเลสาบสงขลาในเขตจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช ได้รับการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2525 มีเนื้อที่ประมาณ 281,625 ไร่ และเป็นหนึ่งในจำนวนพื้นที่ชุ่มน้ำ 42 แหล่งของประเทศที่สหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ขึ้นบัญชีไว้ในฐานะพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชีย

ทะเลน้อย เป็นทะเลสาบน้ำจืดมีลักษณะค่อนข้างกลมมีอาณาเขตผืนน้ำประมาณ 30 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 20,000 ไร่ มีชุมชนขนาดเล็กกระจายอยู่โดยรอบพื้นที่ทางตอนเหนือเป็นป่าพรุเสม็ดขนาดใหญ่ มีระดับน้ำลึกเฉลี่ย 1.2 เมตร ต้นน้ำของทะเลน้อยมาจากเทือกเขาบรรทัดซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตก  ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดทั้งปี 2,126 มิลลิเมตร
ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ สำรวจพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประมาณ 10 ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา นากใหญ่ ขนเรียบ นอกจากนี้ยังพบสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 8 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานอีก 25 ชนิด ซึ่งรวมถึงเต่ากระอาน ที่ถูกจัดอยู่ในสถานภาพที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย พันธุ์ปลา ที่พบอย่างน้อย 45 ชนิด และในจำนวนนี้มี 4 ชนิด ที่อยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ คือ ปลากะทิ ปลาดุกลำพัน ปลาฝักพร้า ปลาตะลุมพุก และชนิดเด่นที่พบคือ ปลาตุม ปลากะแห เป็นต้น
มีการสำรวจพบนกอย่างน้อย 187 ชนิด ทะเลน้อยจัดเป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญของนกน้ำ ทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนกกาบบัว ซึ่งพบว่าทำรังวางไข่ที่นี่เพียงแห่งเดียว นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งทำรังของนกกระสาแดง นกยางควาย และนกกาน้ำเล็ก รวมถึงนกแขวก ในฤดูหนาวจะพบนกอพยพที่สำคัญ คือ นกซ้อนหอยขาว รวมไปถึงเป็ดแดง และเป็ดคับแคนับหมื่นตัว    

เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่สำคัญของโลกตั้งแต่วันที่ 13  กันยายน 2541 และเป็นแห่งแรกของประเทศไทยซึ่งมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเอเซียด้วย โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ของทุกปีจะมีนกอพยพหนีหนาวมาจากไซบีเรียนับแสนตัว และเป็นช่วงที่ธรรมชาติสวยงาม
ในทะเลน้อยสำรวจพบพันธุ์ไม้น้ำ 78 ชนิด อาทิ ธูปฤาษี กุ่ม กก ในบริเวณน้ำลึกพบพืชลอยน้ำ เช่น บัว ขึ้นอยู่กระจัดกระจายปะปนกับกระจูด ส่วนพืชบกที่พบในบริเวณพรุได้ถูกเปลี่ยนแปลงสภาพไป ภายหลังจากการเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2508 ทำให้เกิดสังคมพืชเสม็ดขึ้นทดแทน นอกจากนี้พันธุ์ไม้น้ำที่สำคัญคือ เตยน้ำ จัดเป็นชนิดพันธุ์ที่พบเฉพาะที่ทะเลน้อยเท่านั้น
ในอดีตก่อนการประกาศเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าฯ พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งนี้ จัดเป็นป่าพรุเสม็ดผืนใหญ่ที่สุดของประเทศแต่ได้ถูกบุกรุกตัดไม้เสม็ดเพื่อใช้ในการสร้างบ้าน และเป็นเชื้อเพลิง ทำให้กลายสภาพเป็นทุ่งหญ้าและบางส่วนได้ถูกบุกเบิกทำนา ซึ่งเป็นการทำลายแหล่งทำรังวางไข่และพื้นที่ผสมพันธุ์ของสัตว์ป่าต่าง ๆ รวมถึงมีการลักลอบล่าสัตว์ป่าเพื่อเป็นอาหารด้วย
ปัจจุบันพื้นที่ทะเลน้อยเป็นแหล่งหาปลาที่สำคัญของชาวประมงที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นตาข่ายดักปลา ลอบและเบ็ดราว และมีประชาชนที่ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว โดยที่พื้นที่ทำนาบางส่วนในจำนวนนี้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และอยู่ภายในบริเวณเขตห้ามล่าฯ มีประชาชนประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ควาย โดยอาศัยพื้นที่ทุ่งหญ้าขนาดใหญ่ 3 แห่ง บริเวณทางตอนเหนือ ตะวันออกและใต้ รวมพื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ และอาชีพที่สำคัญอีกอาชีพหนึ่งคือการทำเครื่องจักสานจากกระจูด ซึ่งได้ทำต่อเนื่องสืบทอดมาหลายชั่วอายุ โดยสมัยก่อนเป็นการเก็บกระจูดจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันเมื่อกระจูดเหลือน้อยลงได้มีการทำนากระจูดขึ้นในหลายพื้นที่ รวมพื้นที่ประมาณ 8,300 ไร่ และประชาชนบางส่วนได้รับรายได้จากการท่องเที่ยว จากสถิตินักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวที่ทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ต่อปี



ที่มา : http://www.deqp.go.th/news_pr/env_day/newspr_day_02_2.htm
http://www.reo12.in.th/news/news2002/january/jandoc3.html

3 กุมภาพันธ์ วันทหารผ่านศึก

วันทหารผ่านศึก
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ความหมายวัน ทหารผ่านศึกเป็นวันที่ทหารไทยกลับมาจากการรบสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการช่วยเหลือครอบครัวทหาร ที่เสียชีวิตจากการรบ มีการสงเคราะห์โดยผ่านการเห็นจากรัฐบาล มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2510 องค์การทหารผ่านศึก ได้เปลี่ยนมาเป็นองค์การกุศลของรัฐมาเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย และกระทรวงกลาโหมจะจัดกองทุนรับเงินอุดหนุนขึ้น

หน้าที่ ของทหารผ่านศึก คือ การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการ เช่น ที่อยู่อาศัย การศึกษาและการจัดหาอวัยวะเทียม และยังมีการสงเคราะห์ด้านอาชีพ โดยฝึกอบรมอาชีพ จัดหางานในต่างประเทศ และการสงเคราะห์ด้านเกษตรกรรม จัดหาที่ดินทำกินให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องมือ และกองทุนต่างๆ จัดหาเงินให้สมาชิก ได้กู้ยืมไปประกอบอาชีพอีก และยังมีการรักษาพยาบาลฟรี โดยการส่งเสริมของทหารผ่านศึกโดยการขอสิทธิพิเศษด้านต่างๆ เช่น ขอลดค่าโดยสาร เป็นต้น

กิจกรรมวันทหารผ่านศึกการ บริจาคจากประชาชน อาจเป็นการนำเอาผลผลิตของทหารมาจำหน่ายกับประชาชนก็ได้ เช่น การทำดอก ป๊อปปี้ ออกไปขายสู่ประชาชนและอาจมีการตั้งกองทุนขึ้นทุกๆปี

ด้วย ตระหนักถึงคุณความดีของทหารหาญ ที่เป็นกองกำลังในการปกป้องอธิปไตยของประเทศ พวกเขาพร้อมเผชิญหน้ากับอริราช ศัตรูอย่างไม่หวั่นเกรงต่อภยันตรายใดๆ ทหารทุกคนต่างสละได้ทุกสิ่ง ไม่เว้นแม้แต่ร่างกายและลมหายใจ ด้วยตระหนักถึงคุณความดีของ ทหารหาญเหล่านั้น รัฐบาลจึงหาหนทางที่จะให้ความช่วยเหลือมาตลอด โดยในสมัย พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหม เป็นผู้พิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2488 โดยเรียกชื่อว่า "คณะกรรมการพิจารณา หาทางช่วยเหลือทหารกองทุน"

ครั้น ต่อมา จำนวนของทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกมีเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานโดยคณะกรรมการจึงไม่รัดกุมและเหมาะสมกับเหตุการณ์ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เรียกชื่อย่อว่า "อผศ" เพื่อเป็นหน่วยงานถาวรที่จะทำหน้าที่ในการดูแลให้การสงเคราะห์แก่ ทหารผ่านศึกและครอบครัวทหารผ่านศึกโดยตรง ด้วยการยกร่างพระราชบัญญัติ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวนทหารผ่านศึก ต่อมาสภาทหารผ่านศึก สภากลาโหม และรัฐบาลได้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ เพื่อขยายการสงเคราะห์ให้ครอบคลุมไปถึงทหาร ตำรวจ ข้าราชการพลเรือน และ พลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อ ความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร ทั้งภายในและภายนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด กับทั้งให้รวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ

องค์การ ได้ให้การสงเคราะห์ประเภทต่างๆ แก่ทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึก ครอบครัวทหารผ่านศึกและนอกประจำการ กล่าวคือ ให้การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป การสงเคราะห์ด้านอาชีพ การสงเคราะห์ด้านนิคมเกษตรกรรม การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล การสงเคราะห์ด้านส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

สำหรับในวันทหารผ่านศึก ประจำทุกปี องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกได้กำหนดให้มีพิธีและกิจกรรมต่างๆ เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและความเสียหายของเหล่าทหารผ่านศึกทั้งหลาย โดยในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2545 จะมีพิธีวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และพิธีสวน สนามสดุดีทหารผ่านศึก ณ ลานอเนกประสงค์ กรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์

ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งแสดงให้เห็น ว่ารัฐบาลและประชาชน ชาวไทยยังคงระลึกถึงและไม่ลืมเลือนวีรกรรมที่เหล่าวีรชนทหารผ่านศึกได้เคย ประกอบเพื่อชาติเพื่อแผ่นดิน และ เพื่อคนไทยทั้งปวง




ขอบคุณที่มาhttp://irrigation.rid.go.th/rid15/ppn/Datebook/3%20February/Poppy%20Days.htm


อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
 ความสำคัญ
        เพื่อสดุดีวีรกรรมของทหารผ่านศึก อีกทั้งให้ส่วนราชการ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเชิดชูเกียรติและเอื้ออาทรต่อทหารผ่านศึก

 ประวัติ
        เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2538 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดงานวันทหารผ่านศึก เพื่อสดุดีวีรกรรมทหารผ่านศึก ผู้ที่เสียสละเพื่อรักษาประเทศชาติ เนื่องจากทหารผ่านศึกบางคนได้รับบาดเจ็บจนต้องทุพพลภาพ เสียแขน ขา หรืออวัยวะที่สำคัญบางอย่างทำให้ไม่สามารถจะประกอบอาชีพได้เหมือนกับคนปกติ อีกทั้งไม่เป็น ที่ต้องการของตลาดแรงงาน และสังคมส่วนรวม เนื่องจากขาดความสามารถในการประกอบอาชีพ ดังนั้นทางคณะรัฐบาลจึงได้กำหนดวันทหารผ่านศึกขึ้น เพื่อให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญ ของทหารผ่านศึก รวมถึงให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ แก่ทหารผ่านศึก

 กิจกรรมในวันทหารผ่านศึก
        1. จัดนิทรรศการเผยแพร่วีรกรรมของทหารผ่านศึก
        2.วางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
        3.จำหน่ายดอกป้อปปี้ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือทหารผ่านศึก



แหล่งที่มา :     ศิริวรรณ คุ้มโห้. วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์   

      ความหมาย
    http://www.tungsong.com/Important_Day/Maka/Images/maka.gif 

วันมาฆบูชา หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือนมาฆะคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ถ้าปีใดเป็นปีที่มีอธิกมาส คือเดือน ๘ สองหน วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ หรือประมาณเดือนมีนาคมของปีนั้น
     

วันมาฆบูชา ถือว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงประทานธรรมให้เป็นหลักการศึกษาและการปฏิบัติทั้งขั้นต่ำ ขั้นกลาง และขั้นสูงในพระพุทธศาสนา ดุจพระมหากษัตริย์ทรงประทานรัฐธรรมนูญของประเทศฉะนั้น
     

วันมาฆบูชา จัดวาเป็นวันประชุมใหญ่ของสาวก กล่าวคือเป็นวันที่พระอรหันตสาวก ๑,๒๕๐ องค์ ได้มาประชุมพร้อมกันประกอบด้วยองค์ประกอบ ๔ ประการ เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" ณ วัดพระเวฬุวันมหาวิหาร ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน พระพุทธองค์ทรงเห็นเป็นเวลาอันสมควรแล้ว จึงประกาศหลักธรรมในพระพุทธศาสนา เพื่อให้สาวกถือเป็นแนวเทศนาสั่งสอนและปฏิบัติของพุทธบริษัทสืบไป โดยเป็นหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาเรียกว่า "โอวาทปาฏิโมกข์" แปลว่า "ธรรมที่เป็นประธานแห่งโอวาท"
              ในวันนี้เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง โอวาทปาติโมกข์นับเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง เรียกวันดังกล่าวว่า จาตุรงคสันติบาต ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ 4 คือ
        1. พระภิกษุจำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่เวฬุวัน กรุงราชคฤห์โดยมิได้นัดหมายกันแต่อย่างใด
        2. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
        3. พระภิกษุเหล่านั้นล้วนเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ทั้งสิ้น
        4. ในวันนี้เป็นวันเพ็ญเดือนมาฆะ
              เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่น่าอัศจรรรย์เหล่านี้ พระพุทธองค์จึงถือโอกาสแสดงโอวาทปาติโมกข์ซึ่งมีใจความที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนา กล่าวคือ ไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส พร้อมทั้งได้สอนหลักครู คือ หลักของการสอนไว้ด้วย เช่น ต้องมีความอดทน มุ่งความสงบ อยู่ในระเบียบวินัย ตั้งใจแน่วแน่ ทำแต่ความดีมีคุณประโยชน์ ฯลฯ เป็นต้น 
              สาเหตุของการชุมนุม คงเนื่องมาจากภิกษุเหล่านั้นล้วนเคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อนและในวันเพ็ญเดือนมาฆะเป็นวันที่ทางศาสนาพราณ์ได้ประกอบพิธีศิวาราตรี คือ การลอยบาปในแม่น้ำคงคา และประกอบพิธีสักการบูชาพระเป็นเจ้าในเทวสถาน เมื่อถึงวันนั้น พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าซึ่งเคยซึ่งเคยประกอบพิธีดังกล่าวจึงต่างพากันไปเฝ้าพระพุทธองค์
              ในวันเพ็ญเดือนมาฆะยังมีเหตุกาณ์เกิดขึ้นอีกอย่างประการหนึ่งในสมัยพุทธกาล กล่าวคือเป็นวันที่พระองค์ทรงปลงสังขารที่ปาวาลเจดีย์ แคล้นวัชชี เนื่องจากขณะนั้น พระองค์มีพระชนมายุ 80 พรรษา ได้ทรงแสดงอิทธิบาท 4 (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) ให้แก่พระอานนท์ ว่าถ้าใครเจริญได้จะต่ออายุได้ แต่พระอานนท์ก็มิได้ทูลขอให้พระพุทธองค์ทรงดำรงพระชนม์อยู่ต่อไปอีก เมื่อพระอานนท์ออกจากที่เฝ้าแล้ว พระยามารจึงเขามาทูลขอให้พระองค์ปรินิพพาน โดยอ้างว่ามีพุทธบริษัท 4 ครบแล้ว และพุทธศาสนาได้เจริญมั่นคงแล้ว พระพุทธองค์ได้เปล่งวาจาว่าอีก 3 เดือนนับจากนี้ไปจะปรินิพพาน พระวาจาของพระพุทธเจ้าที่ทรงเปล่งออกมาครั้งนี้เรียกว่า ทรงปลงอายุสังขาร
              เมื่อมีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น 2 อย่าง จึงนับว่าเป็นวันสำคัญวันหนึ่งในพระพุทธศาสนาสมควรที่ชาวพุทธจะแสดงความระลึกถึงและจัดพิธีบูชาให้เป็นพิเศษต่างไปจากวันพระตามปกติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นความสำคัญนี้จึงได้โปรดให้มีพระราชพิธีประกอบการกุศลขึ้นในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ พ.ศ. 2394 และให้เป็นงานหลวงตลอดไป ต่อมาได้แพร่กระจายไปตามวัดต่างๆ เช่น วัดบวรนิเวศวิหาร วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ในที่สุดก็ขยายไปยังวัดอื่น ๆ จนเป็นที่นิยมทั่วไป และทางราชการหยุด 1 วัน เพื่อให้ข้าราชการมีโอกาสบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ในวันนี้ชาวพุทธจะทำบุญตักบาตร ไปวัด ฟังเทศน์ สวดมนต์ และเลี้ยงพระ กลางคืนมีพิธีเดินเทียนหรือปัจจุบันหรือปัจจุบันนิยมเรียกว่า เวียนเทียน เป็นการบูชาพิเศษ โดยทางวัดจะประกาสให้ทราบโดยกำหนดเวลาเวียนเทียนจะเป็นเวลาตอนเช้า บ่าย หรือค่ำก็ได้แล้วแต่ความสะดวก ในกรุงเทพฯ มักเป็นเวลากลางคืนประมาณ 2 ทุ่ม หรือ 3 ทุ่ม ชาวบ้านจะนำดอกไม้ ธูปเทียนมารวมกันที่หน้าอุโบถกหรือปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดแล้วแต่ทางวัดจะจัดทำพิธี ณ ที่ใด (บางครั้งชาวบ้านจะหาซื้อดอกไม้ธูปเทียนได้ในบริเวณนั้น) เมื่อถึงกำหนดเวลาพระสงฆ์ สามเณร จะมาชุมนุมกันในพระอุโบถก สวดมนต์ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า(คำบูชาต่างกันไปซึ่งจะกำหนดใช้เฉพาะวันนั้น ๆ) บางครั้งอาจมีคำแปล แปลภาษาบาลีให้ฟังด้วย หลังจากนี้ผู้เป็นประธานในหมู่สงฆ์จุดธูปเทียนเดินนำหน้าพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านตามลำดับ โดยจัดแบ่งเป็นแถว ๆ ละ 4 คน บ้างแล้วแต่ความกว้างแคบของบริเวณ ถือดอกไม้ธูปเทียนเดินเวียนขวา จำนวน 3 รอบ ครบ 3 รอบแล้ว ปักดอกไม้ธูปเทียนในที่ที่จัดไว้เป็นอันเสร็จพิธีเวียนเทียน ทางวัดอาจจัดให้มีการฟังเทศน์ โดยมากมักเทศน์โอวาทปาติโมกข์ และสวดโอวาทปาติโมกข์ อาจสวดก่อนหรือหลังเทศน์ก็ได้ บางวัดก็จัดให้มีเทศน์เรื่องอื่น ๆ อีกด้วย จะจัดทำตลอดรุ่งหรือแล้วแต่จะเห็นสมควรก็ได้
   


        แหล่งอ้างอิง

1. ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
2. ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนบธรรมเนียมประเพณีและ
              วัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ,2525.

3. ประสิทธิ์  สิริปัญ.โญ, พระมหา. หนังสือประกอบการเรียนการสอนพระพุทธ
              ศาสนาตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2544 เล่ม 1
              พระพุทธ.  นนทบุรี : เกรท เอ็ดดูเคชั่น, 2547.                        


                  ไฟป่าเป็นปัญหาสำคัญสร้างความเสียหายต่อทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งตามมาอีกทั้งยังเกิดผลกระทบต่อสังคมและคุณภาพชีวิตของประชาชนซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยสาเหตุของไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์แทบทั้งสิ้น ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงใช้ประโยชน์จากไฟในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเก็บหาของป่า การเผาป่าเพื่อทำไร่เลื่อยลอย การกำจัดวัชพืชเพื่อเตรียมพื้นที่เพาะปลูกจากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดหมอกควัน ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยหมอกควันที่ลอยอยู่มีฝุ่นละอองและควันพิษ ทำให้ประชาชนป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ เกิดการระคายเคือง เหนื่อยง่าย หมอกควันจากไฟป่ายังทำให้เกิดทัศนวิสัยที่ไม่เหมาะสมต่อการจราจรทางอากาศ ทั้งยังเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดภัยแล้งตามมา

นอกจากนี้ไฟป่ายังก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก (GREENHOUSE    EFFECT) ซึ่งมีผลทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นเนื่องจากในขณะที่เกิดไฟป่า การเผาไหม้ก่อให้เกิดก๊าซชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ ซึ่งเมื่อรวมกับก๊าซที่เกิดจากการเผาไหม้ในกิจกรรมอุตสาหกรรม การคมนาคม ซึ่งสะสมก่อตัวเป็นชั้นหนาในบรรยากาศของโลก ทำให้ความร้อนที่แผ่จากผิวโลกกระจายกลับคืนสู่บรรยากาศไม่ได้ ปริมาณความร้อนที่สะสมอยู่บนโลกก็จะเพิ่มขึ้น ประกอบกับในเดือนกุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ตรวจพบการเผาป่ามากที่สุด ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาไฟป่าส่งผลกระทบประชาชนอย่างมาก

ดังนั้นเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมป่าไม้ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย เสนอมาตรการควบคุมไฟป่า โดยให้จัดตั้งหน่วยงานป้องกันไฟป่าขึ้นโดยเฉพาะ พร้อมทั้งการขอความร่วมมือจัดตั้งหน่วยอาสาสมัคร เพื่อช่วยตรวจตราป้องกัน รวมทั้งจัดหาอุปกรณ์การป้องกันไฟป่าขึ้นโดยด่วน ทั้งนี้ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการเรื่องนี้อย่างจริงจังด้วย ต่อมา ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 85/2542 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2542 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการไฟป่าแห่งชาติในระยะสั้นและระยะยาว รวมทั้งระดมบุคลากรจากทุกหน่วยงาน เพื่อควบคุมไฟป่า รวมทั้งขอความร่วมมือจากองค์กรเอกชน และอาสาสมัครในรูปแบบต่างๆ เพื่อสนับสนุนการควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้จึงได้เสนอร่างโครงการวันปลอดควันพิษจากไฟป่า
ต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543 เห็นชอบและอนุมัติ ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น “วันปลอดควันพิษจากไฟป่า”   

1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชน และเกษตรกร งดการจุดไฟเผาป่า เพื่อลดควันไฟที่เกิดจากการเผาป่า
2. สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนักให้แก่ประชาชน นักเรียน นักศึกษา หน่วยราชการ องค์กรเอกชน ถึงอันตรายและผลกระทบของควันที่เกิดจากไฟป่า
3. เพื่อป้องกันและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จากการจุดไฟเผาป่า

1.หน่วยงานในสังกัดกรมป่าไม้ และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เช่น การจัดนิทรรศการ เดินรณรงค์ขอความร่วมมือประชาชน เกษตรกร งดจุดไฟเผาป่า
2. กิจกรรมการรณรงค์การลดเชื้อเพลิง และทำแนวกันไฟ (โดยไม่จุดไฟ)
2.1 การรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกร นำกิ่งไม้ ใบไม้ในพื้นที่ป่า หรือวัชพืช มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อนำไปใช้บำรุงพืชผล หรือฝังกลบแทนการเผาทำลาย เป็นการลดเชื้อเพลิง
2.2 การทำแนวกันไฟ โดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับอาสาสมัครป้องกันไฟป่า



ที่มา : http://www.forest.go.th/prachinburi/general/ganeral-01-4.html
http://www.geocities.com/firecontrol13/24febtext.html
http://www.forest.go.th/ForestFire/24%20feb.htm
http://www.geocities.com/firecontrol35/ron1.html
14 กุมภาพันธุ์ วันValentine

            วันวาเลนไทน์ มาจาก ชื่อของนักบุญวาเลนไทน์ (St.Valentine) ผู้ซึ่งมีชีวิตอยู่ในสมัยกษัตริย์ Claudiusที่ 2 แห่งกรุงโรม ในสมัยนั้นกษัตริย์ Claudius ออกกฏห้ามให้มีการแต่งงานในเมืองของพระองค์ เพราะกษัตริย์ ทรงต้องการทำศึกสงคราม ทรงต้องการให้ผู้ชายทุกคนไปเป็นทหาร พระองค์เชื่อว่าถ้าไม่มีการแต่งงานผู้ชาย จะสนใจกับการรบมากขึ้น นักบุญวาเลนไทน์ขัดบทบัญญัติแห่งกฏหมายของกษัตริย์ ด้วยการเป็นบาทหลวงในพิธีแต่งงานให้หนุ่มสาว ที่ต้องการแต่งงานอย่างลับ ๆ...และแล้ววันหนึ่งข่าวการทำ พิธีสมรสของนักบุญวาเลนไทน์ก็รู้ถึงหูของพระเจ้า Claudius พระองค์จึงทรงสั่งทหารไปจับเขาไปประหารชีวิต...... ระหว่างอยู่ในคุกมีคู่แต่งงานที่ท่านเคย ทำพิธีให้หลายคู่ลอบไปเยี่ยมเยียนท่านอย่างสม่ำเสมอ และที่นั่นท่านยังได้รู้จักกับหญิงสาวคนหนึ่ง ซึ่งเป็นลูกสาวของผู้คุม เธอมักมาพูดคุยกับท่าน... .และบอกท่านเสมอ ๆ ว่าการกระทำของท่านถูกต้องแล้ว นักบุญวาเลนไทน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ในปี 296 A.D.ในคุกแห่งนั้นเอง ก่อนตายท่านได้ฝากโน้ต สั้น ๆ ถึงเพื่อนของท่านและลงท้ายว่า "Love from your Valentine"...ในปี 496 A.D. โป๊ป Gelasius ได้ยกย่องให้วันที่ 14 กุมภาพันธ์ เป็นวันวาเลนไทน์ เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้รำลึกถึงคุณความดี ความกล้าหาญ และความเสียสละของนักบุญวาเลนไทน์...เราจึงมักถือเอาวันนี้เป็นวันแห่งความรัก ในระยะต่อมาวันวาเลนไทน์ใช้แทนความรักของหนุ่มสาวเป็นส่วนใหญ่ โดยในวันนี้จะมีการส่งขนม (โดยเฉพาะช็อคโกแลต) ดอกไม้ (ส่วนใหญ่จะดอกกุหลาบ) ให้กับคนที่รัก


            แล้ว  Valentine นี้ ส่งความรักให้ใครหรือยัง หรือจะไปฉลองความรักที่ไหนสักแห่ง ในบรรยากาศแสนโรมานซ์ท่ามกลางกลิ่นอบอวลของกุหลาบ ซึ่งควรจะเป็นพันธุ์ VALENTINEแต่ถ้าหากมีเพียงแค่นี้ ความรักที่คุณมอบให้ใครหรือไปฉลองกับใครในวันนั้นก็ยังไม่สมบูรณ์ ไม่มีความหมายนัก

            ถ้าหากจะมี VALENTINE เพิ่มขึ้นมาอีกอย่าง ลองนึก ลองอ่าน ลองทำบ้างแล้วจะเห็นนะว่า VALENTINE จะเป็น VALENTINE ที่สมบูรณ์ไม่ใช่เป็นเพียงวันแห่งความรักเท่านั้น ควรมีสิ่งนี้ด้วย


                     V คือ  VERITY ความจริงที่มีอยู่ คุณควรให้ความจริงแก่เธอหรือแก่เขา ว่าคุณมีความเป็นจริงความเป็นอยู่อย่างไร มีอะไรบ้างที่คุณพอจะบอกเธอหรือเขาได้ว่าคุณเองนั้นปัจจุบันนะเป็นอย่างไร กล่าวอย่างเปิดเผย ซึ่งความจริงแล้วถ้าความจริงสิ่งที่เป็นอยู่ของคุณและเธอ หรือเขาที่มีต่อกันแล้ว ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจก็จะมีเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณทีเดียว ในโลกนี้มีสิ่งที่รู้และไม่รู้อยู่เพียง 4 อย่างเท่านั้นคือ คุณรู้ เขาไม่รู้  คุณไม่รู้ เขารู้ คุณรู้ เขารู้คุณไม่รู้ เขาก็ไม่รู้ ถ้าหากคุณบอกสิ่งที่คุณรู้และเขาไม่รู้ หรือคุณไม่รู้เขาบอกให้คุณรู้ ความรู้นั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่เปิดเผย จะบอกเขาว่ารัก ก็รีบ ๆ บอกเสียในวันนี้ อย่าบอกว่า การกระทำก็บอกอบู่แล้ว สายตาก็บอกอยู่แล้ว บอกให้ชัด ๆ เสียว่า"รักคุณ"


             A คือ  AMBITION  เป็นความปรารถนาอย่างแรงกล้า คุณจะรัก จะชอบ จะจีบใคร คุณควรมีความปรารถนาอย่างสูง มิใช่เห็นเขาส่งการ์ดให้ ส่งดอกไม้ให้ พาเขาไปฉลองสนุก ๆ เท่านั้น คุณควรมีความปรารถนาในความรักอย่างจริงจังมิใช่ทำไปเพื่อตามแฟชั่น หรือเพื่อนพ้องลากไป หรือชวนทำ ไปสรรหาการ์ดสวย ๆ สั่งดอกกุหลาบสีแดงสด สวย ๆ ไว้ล่วงหน้า พยายามทำด้วยความปรารถนาดีที่มีไฟอยู่ในใจนะ


            L คือ  LENIENT ความผ่อนปรน ความปรานี คุณและเขาหรือเธอควรจะมีการผ่อนปรน หรือสิ่งที่ละทิ้งได้ก็ควรจะละทิ้งไป อย่าเก็บมาใส่ใจให้เป็นขยะในใจ หรือรอยมลทินใจ อย่าคิดอะไรเก่า ๆ สมัยนี้ควรที่จะคิด จะนึกได้นะว่า บางอย่างก็ทิ้ง ๆไปเสีย อย่านำมาคิด มีความปรานี เมตตาหรือความรัก ความปรารถนาดีกว่า


             E คือ  EQUALITY ความเสมอภาค ความทัดเทียมกันในสมัยปัจจุบัน คู่รักหรือคนรักกัน ควรจะมีความเท่าเทียมกันมิใช่อยู่ในสมัยบรรจงกราบเช้า กราบเย็น นอนทีหลังตื่นก่อนแล้ว เราต้องก้าวไปด้วยกัน ด้วยความมุ่งมั่นในอนาคต ด้วยความเสมอภาค แต่เราก็คิดเสมอว่าเคียงข้างไปด้วยกัน ขนานกันดีกว่าที่จะมาจูงกัน ก้าวไปด้วยความรักที่มีเท่าเทียมกัน เขามอบอะไรให้เรา เราก็ควรจะตอบแทนให้เขาเท่า ๆ กัน พอ ๆ กัน มิใช่เอารัดเอาเปรียบเขา เขามาแสดงความรัก ความยินดี ด้วยกุหลาบช่อใหญ่ แต่เราให้เขาเพียงดอกเดียว ดูเป็นการเอาเปรียบกันเกินไป จริงอยู่บางคนอาจคิดว่าไม่สำคัญ แต่มันสำคัญที่ใจ ถ้าหากต่างคนต่างให้ความเสมอภาคแล้ว ตาชั่งก็คงไม่เอียงใช่ไหม?


            N คือ  NOTABLE การยกย่องให้อยู่ในสภาพที่ดี ถึงแม้คุณจะมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันแล้วก็ตาม คุณก็ควรจะยกย่องเธอหรือเขาให้อยู่ในสภานภาพที่ดีต่อบุคคลทั่วไป คือ เป็นการให้เกียรติยกย่องเธอหรือเขาต่อสังคม ว่าเป็นคนที่สวยเป็นคนที่ดี ไม่ว่าอยู่ต่อหน้าและลับหลัง มิใช่เอาไปนินทา เอาไปเผาต่อหน้าเพื่อนฝูงให้ไหม้เป็นจุลไป หรือพูดคุยตลกคะนอง ลับหลังเธอหรือเขาว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สู้ฉันไม่ได้ ฉันยอด คุณควรจะยกย่องเธอหรือเขา ในโอกาสที่ควร และในเวลาที่กำลังมีความรักอยู่ด้วยแล้วก็จะดียิ่งทีเดียว
  


             T คือ  TENDER ความรักใคร่ที่นุ่มนวล บรรจงเป็นห่วงใย Love me Tender คงจะบอกคุณได้หลาย ๆ อย่าง คุณควรจะทะนุถนอมเธอหรือเขาด้วย ความรัก ความนุ่มนวล ความห่วงใย โทร.ไป สวัสดี VALENTINE ตั้งแต่ใครยังไม่โทร. หรือถึงแม้คุณจะมีนัดเพื่อเจอเพื่อให้ของขวัญ VALENTINE คุณก็ควรโทร.ไปสวัสดีก่อน เพื่อให้เธอหรือเขาเห็นว่าคุณมีความห่วงใย ความปรารถนาดีแค่ไหน ไปฉลองด้วยกันต้องนุ่มนวลในบรรยากาศอย่างนั้น ดูซิ แสนจะสดชื่นกับความรักแค่ไหน ?


             I คือ  INNOVATION การทำความแปลกใหม่มาให้คู่รัก คนรักหรือชีวิตรัก มิใช่อยู่อย่างไรก็อยู่อย่างนั้นมาตลอด ชอบกันอย่างไรก็ชอบกันมาอย่างนั้น เคยให้อะไรก็ให้อย่างนั้น คุณควรจะทำสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ มาสู่ชีวิตคุณและเธอหรือเขาด้วย การเปลี่ยนแปลงเป็นวิถีของชีวต ดังนั้นคุรควรจะเปลี่ยนอะไร ๆ บ้างในทางที่ดีนะ อย่างคุณจะหาอะไรในวัน VALENTINE ให้เธอจะเปลี่ยนจากดอกไม้ที่เป็นดอกกุหลาบมาเป็นผ้าตัดเสื้อลายกุหลาบ หรือผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบแดง หรือจี้เพชรรูปกุหลาบ เข็มกลัดกุหลาบก็ได้ ส่วนคุณที่จะมอบให้เขาอาจเป็นผ้าเช็ดหน้าปักกุหลาบ เข็มกลัดไทรูปกุหลาบหรือแหวนรูปกุหลาบสำหรับใส่นิ้วก้อยสักวง ลองเปลี่ยนบ้างนะ


            N คือ  NEXUS การเชื่อมโยงความสัมพันธุ์ให้มีตลอดไปมิใช่วัน VALENTINE เท่านั้นที่คุณจะมอบกุหลาบให้เธอหรือเขา วันเกิด วันขึ้นปีใหม่ วันครบรอบความรักที่เคยให้กันไว้ วันครบรอบวันแต่งงาน หรือวันสำคัญ ๆ ทีคุณให้ก็ได้ หรือบางวันก็ส่งช่อดอกไม้ไปให้เธอช่อใหญ่ ๆ พร้อมกับคำขวัญสั้น ๆ ว่า " รักคุณ" ให้คนในที่ทำงานหรือเพื่อน ๆ อิจฉาเล่นก็ได้ เป็นการแสดงถึงความสัมพันธ์ของคุณต่อเธอหรือเขาว่าคุณยังคิดถึง ยังรักอยู่นะ


             E คือ  ENDURANCE ความอดทน ความยืนยงสถาพร ความอดกลั้น ความเป็นอมตะ อยู่ชั่วกาลนานคุณจะต้องมีความอดทนต่อทุก ๆ สิ่ง ถ้าหากคุณต้องเผชิญกับสิ่งนั้น อาจเป็นเวลาที่คุณจะต้องคอย คุณจะต้องยืนหยัดในความปรารถนาของคุณ คุณต้องอดกลั้นเมื่อคุณเผชิญต่อสิ่งที่คุณจะต้องโมโห หรืออารมณ์เสีย ต่อหน้าเธอหรือเขา คุณควรประพฤติและปฎิบัติอย่างเป็นไปอย่างนั้นอย่างเสมอ ๆ มิใช่นานเกือบเดือนเพิ่งจะโทร.ไปหาหรือเเขียนจดหมายมา หรือหายไปเป็นปี เพิ่งจะมาบอกว่า " รักคุณ" คุณควรจะมีความรัก ความเมตตา ความปราณี ชีวิต ของคุณจะสดใสดังกุหลาบแรกแย้มที่ต้องน้ำค้างของวันใหม่ทีเดียว





   กังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันน้ำชัยพัฒนา

     เพื่อระลึกถึงวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงประดิษฐ์ กังหันน้ำชัยพัฒนา และได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาเป็นครั้งแรก นอกจากนี้กังหันน้ำชัยพัฒนายังได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์เด่นจากกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม

 
กังหันน้ำชัยพัฒนา  
กังหันน้ำชัยพัฒนา     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะมีสภาพเสื่อมลงเรื่อย ๆ รวมถึงน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประดิษฐ์เครื่องกลสำหรับบำบัดน้ำเสียขึ้นหลายชิ้น เช่น ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์ เครื่องตีน้ำชัยพัฒนา และชัยพัฒนาไฮโดรเป็นต้น แต่ชิ้นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด อีกทั้งเป็นชิ้นแรกที่ทรงได้รับสิทธิบัตรทางปัญญาได้แก่ กังหันน้ำชัยพัฒนา กังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำแบบหมุนช้า เป็นแบบทุ่นลอย มีใบพัดขับเคลื่อนน้ำหมุนรอบเป็นวงกลม สำหรับขับเคลื่อนน้ำ และวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเพื่อให้น้ำได้สัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง เป็นผลให้ออกซิเจนในอากาศสามารถละลายผสมกับน้ำได้เร็วและในช่วงที่น้ำกระจายขึ้นมานั้นจะทำให้เกิดฟองอากาศจมลงไป เป็นการถ่ายเทอากาศ ได้อีกส่วนหนึ่งซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในด้านเติมอากาศลงในน้ำและทำให้เกิดการหมุนเวียนมากขึ้น จากการทดสอบพบว่ากังหันน้ำชัยพัฒนาสามารถถ่ายเทออกซิเจนได้ถึง 0.9 กิโลกรัมของออกซิเจนต่อแรงม้าต่อชั่วโมง

        ด้วยพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางคณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็นวันนักประดิษฐ์ นอกจากนี้การที่ทางรัฐบาลได้จัดงานวันนักประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อต้องการให้เกิดความร่วมมือกันในวงการนักวิทยาศาสตร์นักวิจัย และนักประดิษฐ์มากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนโดยทั่วไป ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประดิษฐ์สิ่งของ เพื่อประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งเทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การเกษตร การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาชาติในด้านต่าง ๆ ต่อไปในอนาคต

        งานวันนักประดิษฐ์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ณ ศูนย์การค้าเวิลเทรดเซ็นเตอร์ โดยความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม และได้จัดต่อมาเป็นประจำทุกปี

 
  1. จัดนิทรรศการเผยแพร่ผลงานการประดิษฐ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
  2. จัดการประกวดสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ


แหล่งที่มา :     ศิริวรรณ คุ้มโห้. วันและประเพณีสำคัญ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เดอะบุคส์   

 
           กอง ทัพไทย 3 เหล่า อันได้แก่ กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ต่างเป็นกำลังสำคัญในการป้องกันประเทศชาติจากการรุกรานของบรรดาเหล่าราช ศัตรูในยามสงคราม และในยามสบงกำลังพลของกองทัพทั้ง 3 เหล่า ก็มีส่วนสำคัญอย่างมากในการพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ดังนั้นจึงได้กำหนดให้มีการจัดงานวันกองทัพไทยในวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี

           สาเหตุ ที่กำหนดให้ วันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทยนั้น เนื่องจากเป็นวันที่ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จอมทัพไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงกระทำยุทธหัตถีมีชัยชนะต่อ สมเด็จพระมหาอุปราชา แห่งพม่า และผลแห่งชัยชนะในครั้งนั้น ทำให้ข้าศึกไม่กล้าเข้ามารุกรานไทยทุกทิศทาง เป็นเวลาถึง 150 ปี

           เมื่อกรุงหงสาวดีของพม่าเปลี่ยนแผ่นดินใหม่พระเจ้านันทบุ เรงนองขึ้นเป็นกษัตริย์สืบต่อมา ทางพม่าได้แจ้งข่าวการเปลี่ยนรัชกาลไปยังประเทศราชทั้งปวง โดยให้ผู้ปกครองประเทศราชไปเฝ้าตามประเพณี ในครั้นสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาได้โปรดปรานให้พระนเรศวรราชโอรสเสด็จขึ้น แต่เมื่อเสด็จถึงเมืองแครง บังเอิญทรงทราบถึงแผนการของพม่าที่คิดประทุษร้ายต่อพระองค์ จากบุคคลสำคัญทางมอญหลายคนที่สนิทสนมคุ้นเคยได้ลอบทูลก่อนที่พระองค์จะเสด็จ ถึงเมืองพม่า
           ด้วย เหตุนี้ พระนเรศวรจึงทรงถือโอกาสประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง ในปีพ.ศ. 2127 แยกราชอาณาจักรศรีอยุธยาออกเป็นอิสรภาพจากพม่า แล้วจึงยกทัพข้ามแม่น้ำสะโตงไปจนใกล้จะถึงเมืองหงสาวดี ได้ทราบว่า พระเจ้าหงสาวดีไปรบพุ่งมีชัยชนะได้เมืองอังวะแล้ว จวนใกล้จะยกทัพกลับคืนพระนคร พระนเรศวรทรงเห็นว่าการจะตีเมืองหงสาวดีในครั้งนี้คงไม่ได้ จึงให้กองทัพแยกย้ายกันไปบอกพวกครัวไทยที่พม่ากวาดต้อนเอาไปเมื่อคราวเสีย กรุงศรีอยุธยา ให้อพยพกลับ ได้ครอบครัวกลับมาตุภูมิเดิมถึง 10,000 เศษ ฝ่ายอุปราชาได้ทราบข่าวจึงยกมาเป็นทัพหลวง ยกติดตามพระนเรศศวรมา โดยให้สุรกรรมาเป็นกองหน้า ครั้นกองหน้ามาถึงแม่น้ำสะโตงเมื่อพระนเรศวรยกข้ามฟากมาได้แล้ว จึงยิงต่อสู้กันอยู่ที่ริมน้ำ พระนเรศวรทรงยิงพระแสงปืนกระบอกหนึ่งยาว 9 คืบ ถูกสุรกรรมานายทัพหน้าของข้าศึกตายอยู่กับคอช้าง พวกรี้พลเห็นว่านายทัพตายก็พากันครั่นคร้ามเลิกทัพกลับไป
      
           พระ แสงปืนซึ่งพระนเรศวรยิงถูกสุรกรรมาดับชีพในคัร้งนั้นได้มีนามปากกาปรากฎว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" นับเป็นพระแสงอัษฎาวุธอันเป็นเครื่องราชูปโภคสำหรับแผ่นดินสืบมาตราบจนถึง กาลปัจจุบันนี้ ครั้นถึงเดือนพฤศจิกายน วันอาทิยต์ ขึ้น 9 ค่ำ พ.ศ. 2129 พระเจ้านันทบุเรงได้เสร็จยาตราทัพออกจากกรุงหงสาวดี เพื่อยกมาตีกรุงศรีอยุธยา โดยให้พระอุปราชาอยู่รักษาพระนคร พระนเรศวรทรงทราบว่าพม่ายกมาครั้งนี้เป็นทัพกษัตริย์ใหญ่หลวงนัก จึงตรัสให้รวบรวมเสบียงอาหารและไพร่พลฉกรรจ์จากหัวเมืองเข้าพระนคร แม้กองทัพใหญ่ฝ่ายพม่าจะยกเข้าโจมตีพระนครเป็นหลายครั้งก็หาสำเร็จไม่ จึงตั้งล้อมกรุงไว้เป็นเวลา 4 เดือน เห็นว่าไม่มีทางเอาชนะไทยได้ ทั้งเสบียงอาหารก็ขัดสน และไข้รุม จึงต้องยกทัพกลับ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2130 ในศึกครั้งนั้น พระนเรศวรออกรบอย่างกล้าหาญ และปลอมพระองค์จะเข้าค่ายพระหงสาวดี โดยเสด็จลงจากหลังม้าทรงคาบพระแสงดาบ นำทหารปีนระเนียด (ปีนค่าย) แต่ถูกข้าศึกแทงตกลงมาจึงเข้าไม่ได้ พระแสงดาบซึ่งทรงในวันนั้นจึงปรากฏนามว่า "พระแสงดาบคาบค่าย"
            ครั้นถึงวันจันทร์ เดือนยี่ แรม 2 ค่ำ ปีมะโรง พ.ศ. 2135 สองวีรกษัตริย์ไทย คือ สมเด็จพระนเรศวร และสมเด็จพระเอกาทศรถได้เข้าตีกองทัพหน้าของพม่าที่ยกมาครั้งใหม่แตกหนี อลหม่าน ขณะนั้นเองช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรชื่อ เจ้าพระยาไชยานุภาพ กับช้างของสมเด็จพระเอกาทศรถชื่อ เจ้าพระยาปราบไตรจักร ซึ่งเป็นช้างตกมันทั้งคู่ ได้ไล่ตามพวกข้าศึกไปอย่างเมามันทำให้กองกำลังทหารไทยตามไม่ทัน สองวีรกษัตริย์ไทยเข้าไปอยู่กลางวงล้อมของเหล่าข้าศึก มีแต่จตุรงคบาทและพวกทหารรักษาพระองค์เท่านั้นที่ติดตามไปทัน เมื่อพระนเรศวรทอดพระเนตรเห็นพระมหาอุปราชาทรงพระคชธารอยู่ในร่มไม้กับเหล่า ท้าวพระยา จึงทราบว่าได้ถลำเข้ามาจนถึงกลางกองทัพของปัจจามิตรแล้ว แต่พระองค์ทรงมีสติมั่นไม่หวั่นไหวจึงไสช้างเข้าไปใกล้แล้วตรัสไปโดยฐานคุ้น เคยกันมาก่อนทั้งในวัยเยาว์และวัยเติบใหญ่ว่า "เจ้าพี่จะยืนช้างอยู่ในร่มไม้ทำไม ขอเชิญเสด็จมาทำยุทธหัตถีกันให้เป็นเกียรติยศเถิด กษัตริย์ภายหน้าที่จะชนช้างอย่างเราจะไม่มีอีกแล้ว"
           ด้วย ความมีขัตติยมานะ พระมหาอุปราชาจึงไสช้าง พลายพัธกอ ออกมาชนกับเจ้าพระยาไชยานุภาพซึ่งกำลังตกมัน เมื่อเห็นข้าศึกตรงออกมาท้าทายก็โถมแทงทันทีไม่ยับยั้ง เลยพลาดท่าทำให้พลายพัธกอได้ล่างแบกรุนเอาเจ้าพระยาไชยานุภาพเบนจะขวางตัว พระมหาอุปราชาได้ทีฟันด้วยพระแสงของ้าว สมเด็จพระนเรศวรเบี่ยงพระองค์หลบทันเลยถูกแต่พระมาลาหนังขาดวิ่นไป พอดีกับเจ้าพระยานุภาพสะบัดหลุดแล้วกลับได้ล่างแบกรุนพลายพัธกอหันเบนไปบ้าง สมเด็จพระนเรศวรจึงจ้วงฟันด้วยพระแสงของ้าวถูกพระมหาอุปราชาที่อังสะขวา (ไหล่ขวา) ขาดสะพายลงมา ซบสิ้นพระชนม์อยู่กับคอช้าง
  
           ส่วน สมด็จพระเอกาทศรถได้ชนช้างกับเจ้าเมืองจาปาโรขาดสะพายแล่งตายคาคอช้างเช่น กัน พวดท้าวพระยาเมืองหงสาวดี เห็นเจ้านายเสียทีต่างก็กรูกันเข้ามาช่วย ใช้ปืนระดมยิงถูกสมเด็จพระนเรศวรที่พระหัตถ์ถึงบาดเจ็บ พอดีขณะนั้นกองทัพหลวงของไทยตามมาทัน จึงเข้ารบพุ่งแก้เอาจนจอมทัพไทยออกมาได้ ฝ่ายกรุงหงสาวดีก็เลิกทัพกลับไป
           พระ แสงของ้าวที่สมเด็จพระนเรศวรทรงพระประหารพระมหาอุปราชาครั้งนั้น ได้นามต่อมาว่า "พระแสงแสนพลพ่าย" และพระมาลาที่ถูกฟันกปรากนามว่า "พระมาลาเบี่ยง" นับเป็นเครื่องมงคลราชูปโภคมาจนบัดนี้ ส่วนช้างศึกที่ชนะก็ได้รับพระราชทานชื่อว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี"
           จาก เหตุการณ์การทำสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรและสมเด็จพระเอกาทศรถวีร กษัตริย์ไทยในครั้งนั้น ซึ่งตรงกับวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2135 จึงถือเอาวันที่ 25 มกราคม ของทุกปี เป็นวันกองทัพไทย (ปัจจุบันพบหลักฐานใหม่ว่า น่าจะตรง กับวันที่ 18 มกราคม แต่ยังถือเอาวันที่ 25 มกราคม เป็นวันกองทัพไทย)

           กิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำในวันกองทัพไทย
1. ทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศเป็นส่วนพระราชกุศลและกุศลแก่บรรพบุรุษ
2. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
3. จัดแสดงนิทรรศการ เกี่ยวกับความเป็นมาของความกล้าหาญแห่งวีรกษัตริย์ไทย และวันกองทัพไทย


         ท่านพุทธทาสภิกขุ แห่งสวนโมกขพลาราม ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ครู คือ ผู้ยกวิญญาณของโลก ให้สูงขึ้นโดยหน้าที่ และโดยสิทธิครู คือ ปูชนียบุคคลของโลก ครูมิใช่เรือจ้างที่จะรับจ้างสอนหนังสือ หรือวิชาบางวิชาในหัวใจของครู มีแต่ปัญญากับเมตตาเคียงคู่กันอยู่ ปัญญาคือความรู้ความสามารถที่จะยกวิญญาณของเด็กให้สูงขึ้น เมตตา คือความรัก ความเสียสละเพื่อทำหน้าที่ของตน โดยไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือเอือมระอา
        ครูนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดจนเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันจะเป็นหนทางในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งการนำพาสังคมประเทศชาติก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

        ด้วยความเห็นสำคัญของครูดังกล่าวมาแล้วนั้น จึงได้กำหนดให้มีวันครูขึ้น ในวันที่ 16 มกราคมของทุกปี เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวที และให้ครูเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูในสังคม
        ประวัติความเป็นมาของการจัดงานวันครู
        ในปีพ.ศ.2499 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมานตรีในสมัยนั้น ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมทั่วประเทศ ถึงความคิดที่จะกำหนดให้มีวันครู และเป็นการสอดคล้องกับความคิดเห็นของครูโดยทั่วไป
        ดังนั้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2599 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกำหนดให้ วันที่ 16 มกราคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันที่ประกาศพระราชบัญญัติ ครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2488 เป็น "วันครู"
        วันครูได้ให้มีขึ้นครั้งแรก เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาในปีพ.ศ.2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการ เรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคล ให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครู ในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู

        คำปฏิญาณ
        ข้อ 1.    ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
        ข้อ 2.    ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศืษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
        ข้อ 3.    ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
            ความมุ่งหมายในการจัดงานวันครู
            1. เพื่อประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์
            2. เพื่อส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครู
            3. เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

        การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
            1. กิจกรรมทางศาสนา
            2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
            3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น





แหล่งอ้างอิง :   หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย ธนากิต



เสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคม
   

               
            จากคำกล่าวที่ว่า อนาคตของประเทศชาติ จะเป็นอย่างไรต่อไป ส่วนหนึ่งต้องขึ้นอยู่กับ คุณภาพชีวิตของเด็กในประเทศนั้น ๆ ว่าเป็นอย่างไร ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องให้ การพิทักษ์รักษาคุ้มครองทางด้านกฎหมาย ตลอดจนให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ เพราะถือว่า เด็กคิอมนุษย์ที่ยังอ่อนอยู่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ

            ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมาย ของคำว่า "เด็ก" ไว้ดังนี้

    เด็ก หมายถึง คนที่มีอายุยังน้อย ยังเล็ก

    เด็กชาย คือ คำนำเรียกเด็กผู้ชายที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์

    เด็กหญิง คือ คำนำเรียกเด็กผู้หญิงที่มีอายุไม่เกิน ๑๔ ปีบริบูรณ์

ความเป็นมาของวันเด็กสากล
            เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ได้เกิดปฏิญญาว่าด้วยสิทธิเด็กขึ้น โดยองค์การสหประชาชาติทำให้ทั่วโลกเกิดความตื่นตัว และเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะให้ความสำคัญแก่เด็ก ๆ ของตนมากขึ้น การขานรับในการนี้จากประเทศต่าง ๆ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ในปีเดียวกันนั้นเอง ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกไม่น้อยกว่า 40 ประเทศต่างก็จัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติของประเทศตนขึ้นมา โดยกำหนดกันว่าจะถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติ

            การจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติในแต่ละประเทศขณะนั้นมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ โดยยึดหลักการให้ความสำคัญแก่เด็กเป็นวัตถุประสงค์หลักโดยเปิดสถานที่ราชการที่สำคัญเช่น พิพิธภัณฑ์ รัฐสภา เป็นต้น ให้เด็ก ๆ ได้เข้าชมและศึกษา บางแห่งจัดการแสดงมหรสพ มีการแจกอาหาร แข่งขันเกม แจกของขวัญ ฯลฯ ต่อมางานนี้ได้รับความสำคัญทั่วโลกจึงได้จัดกันแพร่หลายมาถึงปัจจุบัน


การจัดงานวันเด็กในประเทศไทย

            ปีพุทธศักราช 2498 อันเป็นปีที่ทั่วโลกเริ่มจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติกันขึ้นตามความเห็นคล้อยตามกับองค์การสหประชาชาติที่นำปัญหาเรื่องเด็กมาร่างเป็นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของเด็กขึ้นมา

            ประเทศไทยได้รับข้อเสนอของนาย วี เอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์กรสมาพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ผ่านมาทางกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทยว่า ประเทศไทยควรจัดงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเห็นความสำคัญของเด็กให้มากขึ้น ดังที่นานาประเทศกำลังทำอยู่

            ขณะนั้นสภาวัฒนธรรมแห่งชาติยังมิได้ถูกยุบเลิกไปแล้ว คณะกรรมการสภาวัฒนธรรมแห่งชาติจึงนำเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมเพื่อพิจารณา ในที่สุดที่ประชุมได้เห็นชอบ นำเรื่องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในขณะนั้น ต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฏาคม พ.ศ.2498 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีรับหลักการให้จัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการรับไปดำเนินการ ส่วนของค่าใช้จ่ายในการจัดงานั้น ได้อนุมัติเงินจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ

            ดังนั้นในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2498 ประเทศไทยจึงมีงานเฉลิมฉลองวันเด็กแห่งชาติเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก จากนั้นเป็นต้นมาทางราชการได้กำหนดวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติสำหรับประเทศไทย และจัดติดต่อกันมาจนถึงปี พ.ศ.2506 ที่ประชุมคณะกรรมการจัดงานวันเด็กแห่งชาติในปีนั้นมีความเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรที่จะเสนอเปลี่ยนวันจัดงานวันเด็กแห่งชาติเสียใหม่เพื่อความเหมาะสมด้วยเหตุผลว่า ในเดือนตุลาคมสำหรับประเทศไทยเราเป็นเดือนที่ยังอยู่ในฤดูฝน มีฝนตกมาก เด็ก ๆ ไม่สะดวกในการมาร่วมงาน ประการต่อไปก็คือ วันจันทร์เป็นวันปฎิบัติงานของผู้ปกครองจึงไม่สามารถพาเด็กของตนไปร่วมงานได้ ตลอดจนการจราจรก็ติดขัด จึงเห็นว่าควรจะเปลี่ยนไปเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมเสียทุกสิ่งทุกอย่างได้สะดวกสบายขึ้น และมีความเหมาะสมมากกว่า

            จากข้อเสนอดังกล่าว คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการจัดงานวัดเด็กแห่งชาติเสนอมา ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2507 จึงประกาศเปลี่ยนงานฉลองวันเด็กแห่งชาติจากวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม มาเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นมา ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ปี พ.ศ.2507 ไม่มีงานวันเด็กแห่งชาติด้วยการประกาศเปลี่ยนได้เลยวันมาแล้ว

            งานวันเด็กแห่งชาติได้เริ่มจัดขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ.2508 และจัดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลาได้ 38 ปีแล้ว (งดจัดในปี พ.ศ.2507 หนึ่งปี)


วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ

    เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของเด็ก สนใจในการเลี้ยงดูอบรมสั่งสอนเด็ก และช่วยเหลือสงเคราะห์เด็กเป็นพิเศษ
    เพื่อให้เด็กและและเยาวชนยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    เพื่อให้เด็กรู้จักหน้าที่ของตน และอยู่ในระเบียบวินัยอันดี
    เพื่อเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของเด็ก


ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิเด็กและเยาวชน ขององค์การสหประชาชาติ

            ข้อ 1.  เด็กและเยาวชนพึงได้รับสิทธิเท่าเทียมกันโดยปราศจากการแบ่งแยกหรือกีดกัน ไม่ว่าโดยวิธีใด ๆ ในเรื่อง เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคมทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่น ๆ ไม่ว่าจะของเด็กหรือของครอบครัวก็ตาม

            ข้อ 2.  เด็กและเยาวชนพึงได้รับการพิทักษ์คุ้มครองเป็นพิเศษอันจะช่วยให้เด็กสามารถพัฒนาทั้งทางกาย ทางสมอง และจิตใจเพื่อให้ร่วมอยู่ในสังคมได้อย่างปกติชน

            ข้อ 3.  เด็กและเยาวชนมีสิทธิที่จะได้มีชื่อ และมีสัญชาติ แต่กำเนิด

            ข้อ 4.  เด็กและเยาวชนพึงได้รับความมั่นคงทางสังคม และเติบโตอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นทั้งแม่และเด็กควรได้รับการดูแลและคุ้มครองเป็นพิเศษ ทั้งเมื่ออยู่ในครรภ์ และภายหลังเมื่อคลอดแล้วโดยได้รับสิทธิในเรื่องที่อยู่อาศัย ได้รับอาหาร ได้รับการดูแลทางแพทย์ และโดยเฉพาะเด็ก ๆ ให้ได้รับการเล่นรื่นเริงเพลิดเพลินด้วย

            ข้อ 5. เด็กและเยาวชนที่พิการทั้งทางร่างกาย สมอง และจิตใจ มีสิทธิที่จะได้รับการรักษาพิเศษ หมายถึงการดูแลรักษาและการศึกษาที่เหมาะสมกับสภาวะของเด็กโดยเฉพาะ

            ข้อ 6. เด็กและเยาวชนพึงได้รับความรัก และความเข้าใจอันจะช่วยพัฒนาบุคลิกของตน โดยเติบโตอยู่ในความรับผิดชอบของบิดา มารดาของเด็กเอง และในทุกกรณีเด็กจะต้องอยู่ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความรักความอบอุ่นปลอดภัย และไม่พลัดพรากจากพ่อแม่ในกรณีที่เด็กไม่มีครอบคร้ว หรือมาจากครอบครัวที่ยากจน และมีลูกมากก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ จากรัฐหรือองค์การต่าง ๆ

            ข้อ 7. เด็กและเยาวชนมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษาซึ่งครูควรจะจัดให้เปล่าอย่างน้อยในชั้นประถมศึกษา เพื่อเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมโดยทั่ว ๆ ไป และให้เด็กเติบโตเป็นสมาชิกผู้ยังประโยชน์ต่อสังคมคนหนึ่ง การศึกษานี้คลุมไปถึงการแนะแนวทางชีวิต ซึ่งมีบิดามารดาเป็นผู้รับผิดชอบก่อนบุคคลอื่น ๆ เด็กจะต้องมีโอกาสได้รับควาาามสนุกสนานเพลิดเพลิน จากการเล่นและรื่นเริงพร้อมกันไปด้วย

            ข้อ 8. เด็กและเยาวชนจะเป็นบุคคลแรกที่ได้รับการคุ้มครองและสงเคราะห์ในทุกกรณี

            ข้อ 9. เด็กและเยาวชนพึงได้รับการปกป้องให้พ้นจากการถูกทอดทิ้ง จากความโหดร้ายทารุณ และการถูกข่มเหง รังแกทุกชนิด เด็กจะต้องไม่กลายเป็นสินค้า ไม่ว่าในรูปใดจะต้องไม่มีการรับเด็กเข้าทำงานก่อนวัยอันสมควร ไม่มีการกระทำใด ๆ อันจะมีชักจูงหรืออนุญาติเด็กให้จำต้องรับจ้างทำงาน ซึ่งอาาจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพของเด็ก หรือเป็นเหตุให้การพัฒนาทางกายทางสมองและทางจิตใจของเด็กต้องเสื่อมลง

            ข้อ 10. เด็กและเยาวชนพึงได้รับการคุ้มครองให้พ้นจากการกระทำที่แสดงถึงการกีดกัน แบ่งแยกไม่ว่าทางเชื้อชาติ ศาสนาหรือรูปใด ๆ เด็กจะต้องได้รับการเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นมา " ในภาวะแห่งจิตที่เต็มไปด้วยความเข้าอกเข้าใจ และมีการหย่อนหนักหย่อนเบามิตรภาพระหว่างชนชาติต่าง ๆ สันติภาพ และภาพสากล และด้วยการสำนึกเต็มที่ว่าพลกำลังและความสารถพิเศษในตัวเขา ควรจะอุทิศเพื่อรับใช้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน"


คำขวัญวันเด็ก

                 ในปี พ.ศ. ๒๕๐๒ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้เห็นคุณค่าความสำคัญ ของเด็ก จึงมอบคำขวัญให้เป็นข้อคิด สำหรับเด็ก นายกรัฐมนตรี ในสมัยต่อๆมา จึงได้ถือปฎิบัติสืบต่อมาดังต่อไปนี้

    พ.ศ. ๒๕๐๒  ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความก้าวหน้า (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์)

    พ.ศ. ๒๕๐๓  ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่รักความสะอาด (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์)

    พ.ศ. ๒๕๐๔  ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่อยู่ในระเบียบวินัย (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์)

    พ.ศ. ๒๕๐๕  ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่ประหยัด (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์)

    พ.ศ. ๒๕๐๖  ขอให้เด็กสมัยปฎิวัติของข้าพเจ้า จงเป็นเด็กที่มีความขยันหมั่นเพียร (จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์)

    พ.ศ. ๒๕๐๗  --- งดจัดงานวันเด็ก ---

    พ.ศ. ๒๕๐๘  เด็กจะเจริญต้องรักเรียนและเพียรทำดี (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๐๙  เด็กที่ดีต้องมีสัมมาคารวะ มานะบากบั่น และสมานสามัคค ี (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๐  อนาคตของชาติจะสุกใส หากเด็กไทยแข็งแรง เรียนดี และ มีความประพฤติเรียบร้อย (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๑ ความเจริญและความมั่นคงของไทยในอนาคต ขึ้นอยุ่กับเด็กที่มีวินัย เฉลียวฉลาด และรักชาติยิ่ง (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๒  รู้เรียน รู้เล่น รู้สามัคคี เป็นความดีที่เด็กพึงจำ (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๓  เด็กประพฤติดีและศึกษาดีทำให้มีอนาคตแจ่มใส (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๔  ยามเด็กจงหมั่นเรียน เพียรกระทำดี เติบใหญ่จะได้มีความสุขความเจริญ (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๕  เยาวชนฝึกตนดี มีความสามารถ (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๖  เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ (จอมพลถนอม กิตติขจร)

    พ.ศ. ๒๕๑๗  สามัคคี คือ พลัง(นายสัญญา ธรรมศักดิ์)

    พ.ศ. ๒๕๑๘  เด็กคือทายาทของชาติไทย ต้องร่วมใจร่วมพลังสร้างความดี (นายสัญญา ธรรมศักดิ์)

    พ.ศ. ๒๕๑๙  เด็กที่ต้องการเห็นอนาคตของชาติรุ่งเรือง จะต้องทำตัวให้ดี (ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช)

    พ.ศ. ๒๕๒๐  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็น ตุณสมบัติของเยาวชนไทย (นายธานินทร์ กรัยวิเชียร

    พ.ศ. ๒๕๒๑  เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติมั่นคง (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๒  เด็กไทยคือหัวใจของชาต ิ (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๓  อดทน ขยัน ประหยัด เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย (พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๔  เด็กไทยมีวินัย ใจซื่อสัตย์ รู้ประหยัด เคร่งครัดคุณธรรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๕  ขยัน ศึกษา ใฝ่หาความรู้ เชิดชูชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นคุณสมบัติของเด็กไทย (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๖  รู้หน้าที่ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด มีวินัย และคุณธรรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๗  รักวัฒนธรรมไทย ใฝ่ดี มีความคิด สุจริต ใจมั่น หมั่นศึกษา (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ.๒๕๒๘  สามัคคี มีวินัย ใฝ่คุณธรรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๒๙  นิยมไทย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๓๐  นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม (พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๓๑  นิยมไทย มีวินัย ใช้ประหยัด ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)

    พ.ศ. ๒๕๓๒  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)

    พ.ศ. ๒๕๓๓  รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ใจสัตย์ซื่อ ถือคุณธรรม (พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ)

    พ.ศ. ๒๕๓๔  รู้หน้าที่ มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำชาติพัฒนา (นายอานันท์ ปันยารชุน)

    พ.ศ. ๒๕๓๕  สามัคคี มี วินัย ใฝ่ศึกษา จรรยางาม (นายอานันท์ ปันยารชุน)

    พ.ศ. ๒๕๓๖  ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๓๗  ยึดมั่นประชาธิปไตย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๓๘  สืบสานวัฒนธรรมไทย ร่วมใจพัฒนา รักษาสิ่งแวดล้อม (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๓๙  มุ่งหาความรู้ เชิดชูความเป็นไทย หลีกไกลยาเสพติด (นายบรรหาร ศิลปอาชา)

    พ.ศ. ๒๕๔๐  รู้คุณค่าวัฒนธรรมไทย ตั้งใจใฝ่ศึกษา ไม่พึ่งพายาเสพติด (พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ)

    พ.ศ.๒๕๔๑  ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ.๒๕๔๒ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ มีวินัย (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๔๓  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๔๔  มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ คู่คุณธรรม นำประชาธิปไตย (นายชวน หลีกภัย)

    พ.ศ. ๒๕๔๕  เรียนให้สนุก เล่นให้มีความรู้ สู่อนาคต ที่สดใส (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

    พ.ศ. ๒๕๔๖  เรียนรู้ตลอดชีวิต คิดอย่างสร้างสรรค์ ก้าวทันเทคโนโลยี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

    พ.ศ. ๒๕๔๗  รักชาติ รักพ่อแม่ รักเรียน รักสิ่งดี ๆ อนาคตดีแน่นอน (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

    พ.ศ. ๒๕๔๘  เด็กรุ่นใหม่ต้องขยันอ่าน ขยันเรียน กล้าคิด กล้าพูด (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

    พ.ศ. ๒๕๔๙   อยากฉลาด ต้องขยันอ่าน ขยันคิด (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร)

    พ.ศ. ๒๕๕๐   มีคุณธรรมนำใจ ใช้ชีวิตพอเพียง หลีกเลี่ยงอบายมุข (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์)

     พ.ศ. ๒๕๕๑  สามัคคี มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ เชิดชูคุณธรรม (พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์)

    พ.ศ. ๒๕๕๒   ฉลาดคิด จิตบริสุทธิ์ จุดประกายฝัน ผูกพันรักสามัคคี (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ )

    พ.ศ. ๒๕๕๓     คิดสร้างสรรค์ ขยันใฝ่รู้ เชิดชูคุณธรรม (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ )

    พ.ศ. ๒๕๕๔     รอบคอบ รู้คิด มีจิต สาธารณะ (อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ )

    พ.ศ. ๒๕๕๕     สามัคคี มีความรู้ คู่ปัญญา คงรักษาความเป็นไทย ใส่ใจเทคโนโลยี (ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร )


แหล่งอ้างอิง 1. ธนากิต. ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
                   2. ธนากิต. วันสำคัญไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
วันสถาปนาโครงการ อพป.แห่งชาติ
ตรงกับวันที่ 22 มกราคม ของทุกปี
 
     ทหารมีหน้าที่หลักของคือพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตย ของชาติ และยึดมั่นเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคงแล้ว ทหารต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริม สร้างความมั่นคง และก่อให้เกิดสันติภาพ อย่างถาวรในพื้นที่รับผิดชอบ เพราะชาติบ้านเมืองจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้นมาได้ ประชาชนนับว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
     "โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง" หรือ "อพป." จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคสมัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ก่อการร้าย โดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง ในการประสานงานอำนวยการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ในยุคสมัยแรกมีการจัดตั้งโครงการ อพป.ขึ้นมา เพราะเหตุที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ทุรกันดารห่างไกล ราษฎรไม่สามารถช่วยตนเองให้รอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้ จึงง่ายต่อการแทรกซึมบ่อนทำลายเพราะการเข้าไปบริการ ดูแลแก้ไขปัญหาของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ
โครงการ อพป.
     เกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ปรับปรุงกองกำลังของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ เร่งเร้าจิตสำนึกของราษฎรในพื้นที่ที่ถูกแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเคลื่นไหวในการพัฒนาหมู่บ้านและป้องกันตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคณtกรรมการหมู่บ้านถาวรขึ้นมารับผิดชอบ โดย ครม.ได้รับอนุมัติหลักการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 กำหนดให้เป็นโครงการระดับนานาชาติ และถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ส่วนราชการทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมือ สนับสนุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม การปกครองและการรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมเข้าไปรับผิดชอบดำเนินการ 8 กระทรวงหลักคือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ. การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาตาม พ.ร.บ.
     จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โครงการ อพป. ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีความสุข ความปลอดภัย เป็นที่อบอุ่นไปทั่วทุกแห่งหนไม่ว่าชนบทใกล้-ไกล เพราะราษฎรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มภาคภูมิ
     ปัจจุบันหมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวนร่วม 2 หมื่นหมู่บ้าน ใน 59 จังหวัด สำหรับในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวน 3,928 หมู่บ้าน การดำเนินงานของแต่ ละภาคทั้ง 4 ภาค มีศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเองของ กอ.รมน. แต่ละภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีภารกิจในการวางแผนอำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ อพป.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ
 ขอบคุณข้อมูลจาก
sirikitdam.egat.com
โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง
   หน้าที่ หลักของทหาร นอกจากพิทักษ์รักษาเอกราชอธิปไตยของชาติ และยึดมั่นเทิดทูนจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างมั่นคงแล้ว ทหารยังต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาประเทศชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นด้วยทั้งนี้เพื่อเป็นการเสริม สร้างความมั่นคง และก่อให้เกิดสันติภาพ อย่างถาวรในพื้นที่รับผิดชอบ เพราะชาติบ้านเมืองจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้นมาได้ ประชาชนนับว่าเป็นผู้ที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
         "โครงการอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง" หรือ "อพป." จึงถูกจัดตั้งขึ้นมาในยุคสมัยที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับสถานการณ์ก่อการร้าย โดยมีกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง ในการประสานงานอำนวยการกำกับดูแลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน ในยุคสมัยแรกมีการจัดตั้งโครงการ อพป.ขึ้นมา เพราะเหตุที่มีการแพร่ขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่ทุรกันดารห่างไกล ราษฎรไม่สามารถช่วยตนเองให้รอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้ จึงง่ายต่อการแทรกซึมบ่อนทำลายเพราะการเข้าไปบริการ ดูแลแก้ไขปัญหาของภาครัฐยังขาดประสิทธิภาพ
        โครงการ อพป.
จึงเกิดขึ้น เพื่อให้การพัฒนาต่าง ๆ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง ปรับปรุงกองกำลังของประชาชนให้มี ประสิทธิภาพ เร่งเร้าจิตสำนึกของราษฎรในพื้นที่ที่ถูกแทรกแซง เพื่อให้เกิดความเคลื่นไหว ในการพัฒนาหมู่บ้านและป้องกันตนเอง รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการหมู่บ้านถาวรขึ้นมารับผิดชอบ โดย ครม.ได้รับอนุมัติหลักการให้จัดตั้งเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2517 กำหนดให้เป็นโครงการระดับนานาชาติ และถือเป็นความเร่งด่วนสูงสุดที่ส่วนราชการทุกระดับจะต้องให้ความร่วมมือ สนับสนุน เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม การปกครองและการรักษาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกล โดยมีหน่วยงานหลักที่ร่วมเข้าไปรับผิดชอบดำเนินการ 8 กระทรวงหลักคือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงกลาโหม ซึ่งมีกฎหมายรองรับคือ พ.ร.บ. การจัดระเบียบบริหารหมู่บ้านอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง พ.ศ. 2522 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้รักษาตาม พ.ร.บ.
         จากวันนั้นจนถึงวันนี้ โครงการ อพป. ได้เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการทำให้สถานการณ์บ้านเมืองกลับเข้าสู่สภาวะปกติ มีความสุข ความปลอดภัย เป็นที่อบอุ่นไปทั่วทุกแห่งหนไม่ว่าชนบทใกล้-ไกล เพราะราษฎรเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการให้ความร่วมมืออย่างเต็มภาคภูมิ
         ปัจจุบัน หมู่บ้าน อพป. ที่จัดตั้งขึ้นทั่วประเทศ มีจำนวนร่วม 2 หมื่นหมู่บ้าน ใน 59 จังหวัด สำหรับในพื้นที่ภาคอีสาน มีจำนวน 3,928 หมู่บ้าน การดำเนินงานของแต่ ละภาคทั้ง 4 ภาค มีศูนย์อาสาพัฒนาและป้องกันตนเองของ กอ.รมน. แต่ละภาคเป็นหน่วยรับผิดชอบ มีภารกิจในการวางแผนอำนวยการ ประสานงานและกำกับดูแลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามโครงการ อพป.ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ให้บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ


17 มกราคม

๏ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ๏
        เดือน ธันวาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๑ สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช"
        ต่อ มาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึง ความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดว่าควรที่จะเป็น วันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จะเป็นการเหมาะสมกว่า ซึ่งวันนั้นตรงกับวัน ศุกร์ที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๓๗๖ ได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๒ ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และ โบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
        ดังนั้นวันที่ ๑๗ มกราคม ปีพระพุทธศักราช ๒๕๓๓ จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก
        นับ แต่นั้นมาจังหวัดสุโขทัย และทางมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช วันที่ ๑๗ มกราคม เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มีต่อประชาชนชาว ไทย กิจกรรมหลักประกอบด้วย พิธีสักการะ บวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่ และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ โดยสถานที่จัดงานของจังหวัดสุโขทัย คือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ส่วนสถานที่จัดงานของมหาวิทยาลัยรามคำแหง คือ ณ บริเวณลานพ่อขุน และหอประชุมพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช หรือพ่อขุนรามราช ชื่อ"รามราช" พบในจารึกวัดศรีชุมว่า "ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ผู้หนึ่งชื่อพ่อขุนรามราชปรา(ช)ญ์รู้ธรรม" รวมทั้งพบในจารึก และเอกสารอื่นๆอีกหลายแห่งว่า "พญารามราช" อาจารย์พิริยะ ไกรฤกษ์ อธิบายคำว่า "ราม" (จากชื่อพญารามราช) น่าจะมาจาก "อุตตโมราม" ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้ยิ่งใหญ่" ที่ทรงเป็นพระอนาคตพุทธเจ้าองค์ต่อไปจากพระเมตไตรย ดังที่กล่าวถึงใน "โสตตัตถกีมหานิทาน" เพราะในช่วงเวลานั้นต่างให้ความสำคัญแก่พระอนาคตพุทธเจ้าโดยเฉพาะ (เอกสารวิจัยเรื่อง "การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ศิลปะ : จารึกพ่อขุนรามคำแหง" : ๒๕๓๑)แต่ชื่อ "รามคำแหง" พบเพียงครั้งเดียวในจารึกพ่อขุนรามคำแหง และไม่พบในที่อื่นๆอีกเลยทุกวันนี้ชื่อ "รามคำแหง" เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า "รามราช" จึงขอเรียกตามความนิยมว่า "พ่อขุนรามคำแหง"
ในศิลาจารึกหลัก ที่ ๑ ว่าขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพมาตีเมืองตาก ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงยกกองทัพจากเมืองสุโขทัยไปป้องกันเมืองตาก โดยมีพระรามราชโอรสซึ่งมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษาไปด้วย การรบของทั้งสองฝ่ายได้ทำยุทธหัตถี (การรบบนหลังช้าง) ในตอนแรกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นฝ่ายเสียเปรียบ ช้างที่ประทับของพระองค์สู้กำลังข้าศึกไม่ได้ พระรามได้รีบไสช้างเข้าไปช่วย และสู้รบกับขุนสามชนจนได้ชัยชนะ ความกล้าหาญของพระรามใน ครั้งนี้พ่อขุนศรีอินทราทิตย์จึงพระราชทานนามให้เป็น "รามคำแหง" ซึ่งหมายถึง รามผู้กล้าหาญเข้มแข็งในการรบ หลังจากศึกครั้งนี้เข้าใจว่าฐานะทางการเมืองของสุโขทัยมีความมั่นคงเพิ่ม ขึ้น และคงมีการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตสุโขทัยให้กว้างขวางออก
ภาย หลังที่พ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์พ่อขุนบานเมืองราชโอรสองค์ใหญ่ ได้ขึ้นครองราชย์ที่สุโขทัยสืบต่อมา ในสมัยนี้สุโขทัยได้ขยายอำนาจทางการเมืองด้วยการทำสงครามกับเมืองต่างๆเช่น เดียวกับสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ โดยมีพระอนุชาคือพ่อขุนรามคำแหงเป็นแม่ทัพ ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "กูไปท่บ้านท่เมือง ได้ช้าง ได้งวง ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู พ่อกูตายยังพี่กู กูพร่ำบำเรอแก่พี่กู ดังบำเรอแก่พ่อกู" เมื่อพ่อขุนบานเมืองสิ้นพระชนม์ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ครองกรุงสุโขทัยสืบต่อมา การที่พระองค์เป็นกษัตริย์นักรบ และนักปกครองที่มีความสามารถ อาณาเขตในสมัยของพระองค์จึงได้แผ่ขยายกว้างไกล จนได้รับการเทิดพระเกียรติด้วยพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ในภายหลัง ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ กล่าวถึงเขตแดนสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชไว้ว่า "ทางทิศเหนือ มีเมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว ถึงเมืองหลวงพระบาง ทิศตะวันออกมี เมืองสระหลวง สองแคว ลุมบาจาย สคา ถึงเมืองเวียงจันทร์ ทางทิศตะวันตกมีเมืองฉอด เมืองหงสาวดี จนสุดชายฝั่งทะเล ทางทิศใต้มี เมืองคณฑี เมืองพระบาง เมืองแพรก เมืองสุพรรณภูมิ เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช จนสุดชายฝั่งทะเล" จะเห็นว่าในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯนี้ อาณาจักรสุโขทัยได้ครอบครองเมืองในลุ่มแม่น้ำ ปิง ยม น่าน และป่าสักได้ทั้งหมด อันเป็นการรวบรวมเมืองบ้านพี่เมืองน้อง ซึ่งเคยอยู่ใต้ครอบครองของราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวนำถุมให้เป็นแว่นแคว้นเดียว กัน และขยายอาณาเขตไปยังดินแดนห่างไกลออกไป
จากเอกสารของจีน ได้กล่าวถึงการขยายอาณาเขตของพ่อขุนรามคำแหงฯไปยังดินแดนทางใต้ว่า ในปี พ.ศ. ๑๘๒๓ ตีได้เมืองนครศรีธรรมราช และเมืองในแหลมมลายู ตลอดจนยะโฮร์ และต่อมาตีได้กัมพูชา และจากพงศาวดารเหนือได้กล่าวถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือมะกะโท ผู้เป็นราชบุตรเขยของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งต่อมาได้ครองเมืองมอญ แสดงถึงการขยายอาณาเขตของพระองค์ไปทางตะวันตก ได้หัวเมืองมอญด้วยสันติวิธี อาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะของการยอมรับอำนาจและความเข้มแข็งของศูนย์กลาง อำนาจทีเมืองสุโขทัยอันเป็นผลจากการสะสมกำลังคนที่ได้จากการทำสงคราม แล้วกวาดต้อนผู้คน และแรงงานจากเมืองต่างๆ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงฯ นอกจากนั้นเนื่องจากพระองค์มีสัมพันธไมตรี
กับ เมืองใหญ่ๆใกล้เคียงได้แก่ พ่อขุนเม็งราย(มังราย)แห่งอาณาจักรล้านนา และพระยางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา ซึ่งได้ทำข้อตกลงที่จะช่วยเหลือกันและกันเมื่อถูกรุกรานจากอาณาจักรอื่น ในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นช่วงสมัยที่สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ซึ่งนอกจากการทำสงครามเพื่อขยายอาณาเขตแล้ว ความรุ่งเรืองของสุโขทัยอาจเนื่องมาจากการที่สุโขทัยตั้งอยู่ในเส้นทางทาง การค้ามาตั้งแต่สมัยโบราณ และเมื่อการค้าขยายตัวเพิ่มขึ้น สุโขทัยซึ่งอยู่บนเส้นทางคมนาคมที่สามารถค้าขายติดต่อกับบ้านเมืองต่างๆได้ โดยรอบ โดยมีเส้นทางการเดินทางไปทางเหนือถึงลุ่มแม่น้ำโขง ทางตะวันตกมีเส้นทางติดต่อกับเมืองพุกามและหัวเมืองมอญ ซึ่งสามารถออกทะเลเบงกอลติดต่อกับลังกา และอินเดียใต้ ส่วนทางใต้มีเส้นทางเดินทางผ่านลุ่มแม่น้ำปิง ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านนครศรีธรรมราชออกสู่ทะเล สันนิษฐานว่าสุโขทัยอาจเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าแบบกองคาราวาน และสุโขทัยเองอาจจะค้าของป่า และแร่ธาตุสำคัญ นอกจากนั้นสุโขทัยยังยอมเป็นเมืองผ่านทางการค้า โดยอนุญาตให้พ่อค้าเอาลินค้าไปค้าขายแลกเปลี่ยนได้โดยไม่เก็บภาษีผ่านด่าน เป็นการส่งเสริมให้มีคนมาค้าขายที่สุโขทัยเพิ่มขึ้น ดังมีข้อความปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "เจ้าเมืองบ่เอาจกอบ ในไพร่ลู่ทาง เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจะใคร่ค้าม้าค้า ใครจะใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า" จึงอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้คนจากที่ต่างๆโยกย้ายเข้ามาสู่ดินแดนใน อาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัย ดังปรากฏข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ว่า "พ่อขุนรามคำแหง ลูกพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นขุนในเมืองศรีสัชนาลัย สุโขทัย ทั้งมากาว ลาวแลไทย เมืองใต้หล้าฟ้า ฏ...ไทยชาวอู ชาวของ มาออก"
เมื่อพ่อขุนราม คำแหงสวรรคต (สันนิษฐานว่าประมาณปี พ.ศ. ๑๘๔๒) พระยาเลอไทยพระราชโอรสของพระองค์ได้ครองราชสมบัติ พระยาเลอไทยทรงศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาพระไตรปิฎกจนแตกฉาน มุ่งปฏิบัติธรรมบำเพ็ญประโยชน์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง แผ่ขยายออกไปจากเดิมมากขึ้น การศึกษาพระธรรม และภาษาบาลีได้เริ่มขึ้น และเจริญก้าวหน้า พระองค์ทรงฝักใฝ่ในทางธรรมมาก และทรงมีความรู้ทางปรัชญาอย่างสูง ลูกเจ้าลูกขุนจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระองค์ครองราชย์นาน ๔๐ ปี เมื่อสิ้นรัชกาล พระยางัวนำถมได้ครองราชย์สืบต่อมา
เมื่อ พระยางั่วนำถมทรงทำพิธีราชาภิเษกแล้ว ได้ทรงแต่งตั้งพระยาลิไทย (พระราชโอรสของพระยาเลอไทย) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของพระองค์ไปปกครองเมืองศรีสัชนาลัย อันเป็นเมืองที่ถือว่ารัชทายาทแห่งราชบัลลังก์จะพึงครอบครองก่อนที่จะเป็น พระมหากษัตริย์ ในรัชกาลนี้ได้มีการปราบปรามเมืองต่างๆที่แข็งเมืองมาตั้งแต่รัชกาลพระยาเลอ ไทย แต่ไม่สำเร็จ ทั้งยังไม่สามารถแก้ไขความเสื่อมโทรม และความแตกแยกภายใน ตอนปลายรัชกาลพระยางัวนำถมสวรรคตลงโดยกระทันหันในปี พ.ศ. ๑๘๙๐ ทำให้เกิดการแย่งชิงราชสมบัติขึ้นในกรุงสุโขทัย พระยาลิไทยองค์รัชทายาทจึงยกกำลังจากเมืองศรีสัชนาลัยเข้าเมืองสุโขทัย แล้วจับศัตรูที่คบคิดชิงราชสมบัติประหารชีวิตเสียทั้งหมด แล้วเสด็จขึ้นครองเมืองสุโขทัยในปีนั้น