important day thai

วันอังคารที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2556

       วันวิทยาศาสตร์ได้เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2525 โดย มติของคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" เพราะทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 ได้อย่างแม่นยำ

     

  วัน ที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ได้มีการจัดงานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นทั่วประเทศ โดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา โดยมีกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงาน เป็นหน่วยงานหลักในการจัดร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทั้งภาครัฐและเอกชน
        ต่อ มาในปี พ.ศ. 2527 งานวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติได้รับการขยายให้เป็นงานใหญ่ขึ้น เป็นงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยจะมีการจัดงานในระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม
     
วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
        1.    เพื่อ เป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ของพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็น"พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย"
        2.    เพื่อ เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานการค้นคว้าวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ
        3.    เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน
        4.    เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชนในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
        5.    เพื่อ เสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี

        ใน งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากมาย เช่น นิทรรศการ ผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอภิปรายทางวิชาการ การตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่าง ๆ เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์และสื่อการสอนวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

        ใน การจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ได้มีการมอบรางวัลให้แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ดี เด่นในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยจะทำพิธีมอบรางวัลเชิดชูเกียรติในวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

        การ จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ นับได้ว่ามีส่วนที่จะช่วยกระตุ้นให้ประชาชนคนไทย ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศให้ เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น
แหล่งอ้างอิง :
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย ธนากิต
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
      สมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระวรวงศ์เธอกรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชสมภพ ณ บ้านพักของท่านพระยาวงษานุประพันธ์ ถนนพระราม 4 กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามว่า "สิริกิติ์"
 
        พระองค์ ทรงศึกษาในชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินีล่าง แล้วย้ายไปศึกษาต่อที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังต์ ซีสซาเวียร์ตำบลสามเสน เมื่อมีพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้เสด็จตามพระราชบิดาซึ่งไปดำรงตำแหน่งแห่งเอกอัครราชทูตประจำกรุงปารีส และโคเปนเฮเกน เดนมาร์ก และทรงศึกษาด้านภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสเป็นอย่างดี
 
    
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชครั้งแรก ณ ฟองเทนโบล ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ.2492 จนกระทั่งถึงวันที่ 19 กรกฏาคม พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงประกอบพิธีหมั้นกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถขึ้น ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
 
        วัน ที่ 28 เมษายน พ.ศ.2493 ได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสขึ้นในวังสระปทุม พร้อมทั้งได้มีพระราชโองการดำรัสให้สถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ครั้นถึงวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีให้ทรงฐานันดรเพิ่มขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
 
        วัน ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2499 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชศรัทธาปสาทะในพระพุทธศาสนาได้ทรงผนวช สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีได้ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเป็นผลดีทุกประการ ต่อมาได้ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ" นับเป็นสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถองค์ที่สองแห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
 
        สมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจด้วยการตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทุก หนทุกแห่ง ทรงรับทราบทุกข์สุขของราษฎร ได้ทรงหาทางแก้ไข เพื่อให้ราษฎรได้กินดีอยู่ดี ด้วยการพระราชทานพระราชดำริเป็นโครงการอาชีพเสริม โดยต้นเป้นครั้งแรกที่กลุ่มแม่บ้านหุบกะพง อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
 
        โครงการ อาชีพเสริมได้แพร่หลายไปในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศจึงเป็นที่รับทราบกันอย่างกว้างขวาง จึงได้มีผู้มีจิตศรัทธาทูลเกล้าฯถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศล เพื่อใช้จ่ายในกิจการเหล่านี้ และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งมูลนิธิขึ้นใน พ.ศ. 2519 พระราชทานชื่อว่า "มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษในพระบรมราชินูปถัมภ์" เพื่อสนับสนุนการประดิษฐ์ศิลปะพื้นบ้านให้เป็นอาชีพเสริมแก่ชาวไร่ชาวนาใน ยามว่างจากฤดูทำไร่ทำนา
 
        ได้ทรงริเริ่มโครงการตามพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วยเช่น
        1.    โครงการป่ารักน้ำ ณ ตำบลส่องดาว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
        2.    โครงการอนุรักษ์เต่าทะเล ที่เกาะมัน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
        3.    โครงการสวนสัตว์ธรรมชาติภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
        4.    โครงการศูนย์เพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่ช่องกล่ำบน จังหวัดสระแก้ว และที่โคกไม้เรือ จังหวัดนราธิวาส
        5.    โครงการสวนสัตว์เปิด ศูนย์ป่าตอง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
 
 
        นอก จากนี้ยังทรงปฏิบัติพระราชกิจเกี่ยวข้องกับต่างประเทศ อาทิ การต้อนรับประมุขของนานาประเทศที่มาเยือนประเทศไทย และเสด็จไปเยี่ยมเยียนประเทศต่าง ๆ อันเป็นการผูกสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศไทยในอนาคต
 
        เมื่อ ทรงว่างเว้นจากพระกรณียกิจดังกล่าว จึงจะมีเวลาว่างสำหรับถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และทูลกระหม่อมทุกพระองค์ ทรงเป็นพระมารดาที่น่าเคารพของทูลกระหม่อม พระองค์ทรงอบรมทูลกระหม่อมด้วยพระองค์เองตามแบบไทย ให้รู้จักเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่ และหัดทรงงานด้วยพระองค์เอง
 
        ด้วย พระกรณียกิจของพระองค์ท่านได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่พสกนิกรชาวไทยและประเทศ ชาติอย่างใหญ่หลวง จึงถือเอาวันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีนาถเป็นวันสำคัญของไทย
 
 
 


แหล่งอ้างอิง :
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์

คำขวัญวันแม่แห่งชาติ ปี 2552
“แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่
ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม”


        วันแม่แห่งชาติ หรือที่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกกันสั้น ๆ ว่า "วันแม่" ทุกคนรับทราบและซาบซึ้งกันดี เนื่องจากวันสำคัญนี้ตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถคือ วันที่ 12 สิงหาคม อันเป็นวันคล้ายวันเสด็จพระราชสมภพและถือว่าเป็นวันแม่ของชาติด้วย

        แต่เดิมนั้น วันแม่ของชาติได้กำหนดเอาไว้วันที่ 15 เมษายนของทุก ๆ ปี ทั้งนี้เป็นไปตามมติของคณะรัฐมนตรีประกาศรับรอง เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2493 ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าการจัดงานวันแม่ของสำนักวัฒนธรรมฝ่ายหญิง สภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้รับมอบหมายให้จัดงาน วันแม่ มาตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน พ.ศ.2493 เป็นครั้งแรกเป็นต้นมานั้นได้รับความสำเร็จด้วยดี ด้วยประชาชนให้การสนับสนุนจนสามารถขยายขอบข่ายของงานให้กว้างขวางออกไป มีการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา การประกวดคำขวัญวันแม่ การประกวดแม่ของชาติ เพื่อให้เกียรติและตระหนักในความสำคัญของแม่ และเพื่อเพิ่มความสำคัญของวันแม่ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยเหตุนี้งานวันแม่จึงเป็นวันแม่ประจำปีของชาติตามประกาศของรัฐบาลฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่โดยทั่วไปเรียกกันว่าวันแม่ของชาติ
        ต่อมาถึง พ.ศ.2519 ทางราชการได้เปลี่ยนใหม่ให้ถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ คือ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ เริ่มในปี พ.ศ.2519 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
        วัน แม่แห่งชาติ เป็นวันที่ทางราชการกำหนดในวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดให้ถือว่า "ดอกมะลิ" สีขาวบริสุทธิ์เป็นสัญลักษณ์ของความดีงามของแม่ผู้ให้กำเนิดแก่เรา


        กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรปฏิบัติในวันแม่แห่งชาติ
        1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน
        2. จัดกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับวันแม่ เช่น การจัดนิทรรศการ
        3. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ทำบุญใส่บาตรอุทิศส่วนกุศล เพื่อรำลึกถึงพระคุณของแม่
        4. นำพวงมาลัยดอกมะลิไปกราบขอพรจากแม่

        


แหล่งอ้างอิง :
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สมเจตน์ มุทิตากุล
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดยธนากิต
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สุชิราภรณ์ บริสุทธิ์
วันรพี
        พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ มีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยประสูติจากเจ้าจอมมารดาตลับ เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2417 ทรงสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย      ณ สำนักไครสต เซิร์ซ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยมทางด้านกฎหมาย เมื่อปี พ.ศ.2439 หลังจากนั้นทรงเข้ารับราชการในกรมราชเลขานุการ ทรงปฏิบัติงานเป็นที่พอพระราชหฤทัยในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมชนกนาถ เป็นอย่างยิ่ง


        พระ เจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ นับได้ว่าทรง เป็นนักกฎหมายที่ยึดหลักนิติธรรมในการใช้กฎหมายเป็นวิชาชีพ ทรงมีส่วนสำคัญมากที่สุดพระองค์หนึ่งในการพัฒนางานด้านกฎหมายในประเทศไทยให้ มีความก้าวหน้าอีกทั้งทรงเป็นผู้วางรากฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย ทรงมีผลงานทางกฎหมายมากมายหลายประการ เช่น
        1.    ทรง เป็นกำลังสำคัญในการเปลี่ยนแปลงและจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมของประเทศจาก ระบบเก่า มาสู่ระบบใหม่ ปรับปรุงศาลต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมือง พร้อมทั้งแก้บทกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญาขึ้นใหม่ ทำให้ระบบของศาลยุติธรรมของประเทศไทยมีความก้าวหน้าทัดเทียมกับต่างประเทศ
        2.    ทรง เป็นประธานกรรมการ ยกร่างกฎหมายลักษณะอาญาพุทธศักราช 2451 ซึ่งถือว่าเป็นประมวลกฎหมายไทยฉบับแรก ต่อมาใน วันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2500 ได้มีประกาศให้ใช้ประมวลกฎหมายอาญา พุทธศักราช 2499 แทน กฎหมายลักษณะอาญา พุทธศักราช 2451 นี้นับได้ว่าเป็นพื้นฐานที่มาของประมวลกฎหมายอาญาในปัจจุบัน
        3.    ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยพระองค์ทรงเป็นครูสอนร่วมกับพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) กรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระองค์เจ้าวัชรีวงษ์ โดยมีผู้สนใจเข้าศึกษาเป็นจำนวนมาก
        4.    ทรง นิพนธ์ตำราคำอธิบายกฎหมายลักษณะต่าง ๆ ไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทรงรวบรวมพระราชบัญญัติบางฉบับ คำพิพากษาบางเรื่อง โดยจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ มีคำอธิบาย และสารบาญไว้อย่างละเอียด นอกจากนี้ ยังทรงรวบรวมกฎหมายตราสามดวง โดยให้ชื่อว่า "กฎหมายราชบุรี"
        5.    ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา ซึ่งกรรมการชุดนี้มีชื่อเรียกว่า "ศาลกรรมการฎีกา" ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทศแต่มิได้สังกัดกระทรวงยุติธรรม ต่อมาศาลกรรมการฎีกาได้เปลี่ยนมาเป็นศาลฎีกาในปัจจุบัน
        6.    ทรง ตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้นที่กองลหุโทษ เมื่อ พ.ศ. 2443 สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา โดยได้เสด็จไปสอนวิชาตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บเส้นลายมือด้วยพระองค์เอง ซึ่งงานชิ้นนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการพิสูจน์ลายมือที่กรมตำรวจทำอยู่ทุก วันนี้
        7.    ทรง ปรับปรุงกิจการกรมทะเบียนที่ดินให้ก้าวหน้า เช่น การแก้ปัญหาข้อกฎหมายต่าง ๆ ในเรื่องการ ทะเบียนที่ดินให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชบัญญัติออกโฉนด ที่ดินฉบับที่ 2 ซึ่งได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2459 และฉบับที่ 3 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2462

        พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ สิ้นพระชนม์เมื่อ วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2463 ด้วยโรควัณโรคที่พระวักกะ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในขณะที่มีพระชนมายุได้ 47 พรรษา

        ใน วันที่ 7 สิงหาคม ของทุกปี บรรดานักกฎหมายไทย อาทิเช่น ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารย์สอนวิชากฎหมาย นิติกร ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องในทางนิติศาสตร์ทั้งหมดได้พร้อมใจกันจัดกิจกรรมต่าง ๆ ขึ้น เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" และเรียกวันนี้ว่า "วันรพี"
แหล่งอ้างอิง :
                         หนังสือ วันและประเพณีสำคัญ โดย ศิริวรรณ คุ้มโห้
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
วันแรงงานแห่งชาติ

          วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม วันระถึงถึงผู้ใช้แรงงาน ซึ่ง วันแรงงานแห่งชาติ ภาษาอังกฤษ คือ May Day

          ผู้ใช้แรงงานถือเป็นฝ่ายผลิตที่สำคัญในการผลักดัน ช่วยส่งเสริมพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในต่างประเทศนั้นมีวันแรงงานมานานแล้ว โดยเรียกว่าวันเมย์เดย์ (May Day) ขณะที่ประเทศไทยนั้น ทราบกันดีว่า วันแรงงานแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี ว่าแล้ว วันนี้กระปุกมี ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ ฝากกันค่ะ
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติ

วันแรงงานแห่งชาติ


          ในสมัยก่อนประเทศในแถบยุโรปจะถือเอา วันเมย์เดย์ (May Day) ว่าเป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีพิธีเฉลิมฉลองและทำการบวงสรวงขอให้ปลูกพืชได้ผลดีรวมถึงขอให้ประชาชน อยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งทางภาคเหนือของยุโรปก็จะมีการจัดงานรอบกองไฟในวันนี้ด้วย ซึ่งประเพณีนี้ในประเทศอังกฤษก็ยังมีสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้


          จากตอนแรกที่เป็นเพียงวันหยุดพักผ่อนประจำปี ต่อมาประเทศอุตสาหกรรมหลายประเทศจึงถือเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตือนใจให้ประชาชนตระหนักถึงผู้ใช้แรงงานที่ได้ทำ ประโยชน์แก่เศรษฐกิจของประเทศ ความหมายของ วันเมย์เดย์ (May Day) จึงเปลี่ยนไปจากเดิม จนเมื่อปี พ.ศ. 2433 ได้มีการเรียกร้องในหลายประเทศทางตะวันตกให้ถือเอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานสากล ทำให้หลายประเทศได้เริ่มฉลองวันแรงงานเป็นครั้งแรกในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433 และได้สืบทอดมาจนถึงในปัจจุบัน 
ประวัติวันแรงงานแห่งชาติในประเทศไทย
          ในประเทศไทยเมื่ออุตสาหกรรมได้ขยายตัวขึ้น ผู้ใช้แรงงานก็มีปัญหามากขึ้น รวมทั้งปัญหาแรงงานก็มีความสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น จนทำให้ในปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยก็ได้เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานซึ่งเป็นการจัดสรรและพัฒนาแรงงานรวมถึงคุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน เพื่อสร้างรากฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

          โดย ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้มีการจัดประชุมขึ้นพร้อมทั้งมีความเห็นตรงกันว่าควรกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันระลึกถึงแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีของให้รับรองวันที่ 1 พฤษภาคม จนเป็นที่มาของวันกรรมกรแห่งชาติ และต่อมาก็ได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ และในปี พ.ศ. 2500 ก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงานในวันแรงงานแห่งชาติด้วย
          แต่พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวก็มีอายุเพียงแค่ 18 เดือน ก็ถูกยกเลิกไป โดยมีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทนที่ และมีการให้อำนาจกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน และกำหนดวันกรรมกรให้เป็นวันหยุดตามประเพณี แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นมีการผันแปรจึงมีคำชี้แจงออกมาในแต่ละปี เพื่อเตือนนายจ้างให้ลูกจ้างหยุดงานในวันที่ 1 พฤษภาคม แต่ก็มีการขอร้องไม่ให้มีการเฉลิมฉลองเพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

          จนกระทั่งปี พ.ศ. 2517 ได้เปิดให้มีการฉลองตามสมควร จึงมอบให้กรมแรงงานที่ขณะนั้นสังกัดกระทรวงมหาดไทยจัดงานฉลองวันแรงงานแห่ง ชาติขึ้นที่สวนลุมพินี ที่มีการทำบุญตักบาตร มีนิทรรศการแสดงความรู้ และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย

          โดย แต่เดิมนั้นการบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย แต่รัฐบาลได้เล็งเห็นว่าควรจะมีการยกระดับหน่วยงานเพื่อให้มีงบประมาณและ เจ้าหน้าที่สำหรับการดูแลผู้ใช้แรงงานอย่างพอเพียง ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 จึงได้มีการประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ให้จัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นเพื่อให้การบริหารงานมีความ ก้าวหน้าทัดเทียมนานาประเทศ และมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

          1. การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน

          2. งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพ และความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ

          3. การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด

          4. งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ

          5. งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ทั้งสองฝ่าย เข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ
 
          ส่วน ด้านที่เกี่ยวกับกรรมกรก็ได้มีการจัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายร้อยกลุ่ม และยังได้รวมตัวกันจัดตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน มี 3 สภา ได้แก่

          สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
          สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
          สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย

          และนี่ก็คือความเป็นมาของ วันแรงงานแห่งชาติ ที่เป็นหลักสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าไป



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- bu.ac.th
- lib.ru.ac.th
- library.sk.ac.th

วันแรงงาน 2556

แรงงานคือ พลังการผลิต นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลผลิตในระบบเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อเป็นการยกย่อง และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควร จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้ วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น ” วันแรงงานแห่งชาติ ” ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
วันแรงงาน 2555
วันแรงงานแห่งชาติ


ความเป็นมา วันแรงงานแห่งชาติ

พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น เพื่อทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลได้ มีการขยายกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับแรกในปี พ.ศ. 2508 และในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้ พระราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ปัจจุบัน การบริหารแรงงานอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคมมีงาน สำคัญเกี่ยวข้องกับแรงงานดังนี้
วันแรงงานแห่งชาติ
1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น “วันแรงงานแห่งชาติ
1. การจัดหางาน
ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้ได้คนมีคุณภาพดีไปทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน
2. งานแนะแนวอาชีพ
ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงาน เพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบอาชีพที่เหมาะสมตามความถนัด ความ สามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการทางเศรษฐกิจ
3. การพัฒนาแรงงาน
ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงาน และเยาวชนที่ไม่มีโอกาสศึกษาต่อโดยการฝึกแบบเร่งรัด
4. งานคุ้มครองแรงงาน
วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนการจัดให้มีสวัสดิการต่างๆ
5. งานแรงงานสัมพันธ์
ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้ ทั้งสองฝ่ายเข้าใจถึงลักษณะและสภาพของปัญหา ตลอดจน วิธีการที่เหมาะสมที่จะช่วยขจัดความเข้าใจผิดและข้อขัดแย้งอื่นๆ


ที่มา คลังปัญญาไทย
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

วันที่ 21 เมษายน ของทุกปีเป็น "วันศาลยุติธรรม"
ศาลยุติธรรมมีความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยมีการปกครองแบบพ่อ    ปกครองลูกโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเป็นผู้ทรงพระราชอำนาจในการวินิจฉัยชี้
ขาดคดีความให้แก่ราษฎรโดยยึดหลัก "คัมภีรพระธรรมศาสตร" ของอินเดีย ต่อมา
เมื่อพระองค์มีราชกิจมากขึ้นไม่สามารถวินิจฉัยชี้ขาดคดีความด้วยพระองค์เองได้จึง
ทรงมอบพระราชอำนาจนี้ให้แก่พราหมณ์ปุโรหิตผู้มีความรู้ช่วยวินิจฉัยคดีต่าง ๆ แทน
 พระองค์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ได ้โปรดฯให้มีการตรวจชำระกฎหมายที่มีมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาโดยนำมาปรับปรุง
 และบัญญัติขึ้นใหม่เรียกว่า "กฎหมายตราสามดวง"ศาลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
 ตอนต้นมีอยู่มากมายหลายศาลกระจายกันอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆและมีหน้าที่
พิจารณาพิพากษาคดีต่างพระเนตรพระกรรณแทนพระมหากษัตริย์ต่อมาเมื่อบ้านเมือง
 มีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น มีการติดต่อกับชาวต่างชาติ ลัทธิชาวตะวันตกได้แผ่ขยาย
 เข้ามาทำให้ระบบการศาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงมิฉะนั้นอาจเป็นเหตุที่ก่อให้เกิดความ
 ขัดแย้งกับชาติตะวันตกได้ จึงมีการปฏิรูประบบการศาลไทยขึ้นในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีบทบาทในการวางรากฐานระบบการศาลยุติธรรม โดยได้รวมศาลที่
กระจัดกระจายอยู่ตามกระทรวงกรมต่าง ๆ ให้มารวมไว้ในท ี่แห่งเดียวกัน เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีดำเนินไปด้วย
ความรวดเร็ว ถูกต้อง เหมาะสมไม่ทำให้ราษฎรเดือดร้อน และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 100 ปี ซึ่งตรงกับวันที่
21 เมษายน 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน
ทางขบวนพยุหยาตรามาวางศิลาก่อพระฤกษ์อาคารศาลสถิตย์ยุติธรรม และทรงโปรดฯ
ให้จารึกพระราชปรารภในการจัดตั้งศาลยุติธรรมไว้ในแผ่นเงิน ซึ่งเรียกว่า"หิรัญบัตร"
มีความกว้าง 9.5 ซ.ม. ยาว 37.2 ซ.ม. จำนวน 4 แผ่น ฝังอยู่ใต้อาคารศาลสถิตย์
ยุติธรรมบนแผ่นเงินจารึกด้วยอักษรไทยที่สวยงามและทรงคุณค่ามาก แสดงให้เห็นถึง
พระบรมราโชบายในการปกครองแผ่นดินว่ามีพระราชประสงค์ให้ตั้งศาลขึ้นเพื่อทำหน้า
ที่วินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดี ทรงเล็งเห็นว่าบ้านเมืองจะอยู่ด้วยความสงบสุขร่มเย็นต้อง
อาศัยการศาลเป็นสำคัญจึงทรงจัดระบบกฎหมายและระเบียบทางการศาลขึ้นใหม่เพื่อ
ให้เป็นที่ยอมรับของชาติตะวันตก โดยมีกรมหลวงพิชิตปรีชากรและพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นกำลัง


สำคัญในการแก้ไขกฎหมายและปฏิรูประบบการศาลยุติธรรมให้เจริญรุ่งเรืองเป็นที่ยอมรับของนานาอารยประะเทศ ศาลจึง
เป็นสถาบันที่ประสิทธิ์ประสาทความยุติธรรมให้แก่ประชาชนสืบมาตราบเท่าทุกวันนี้ และในโอกาสที่กรุงเทพมหานครครบ
รอบ 220 ปี ซึ่งตรงกับศาลยุติธรรมครบรอบ120 ปี ในปี พ.ศ. 2545สำนักงานศาลยุติธรรมจึงร่วมกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศาล
ไทยและหอจดหมายเหตุขึ้นเพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและ
พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ที่มีต่อศาลยุติธรรม จึงถือเอาวันที่ 21 เมษายนของทุกปีเป็น "วันศาลยุติธรรม"
วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ”

ความเป็นมา

 

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ตระหนักในคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย และมีความห่วงใยในปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อภาษาไทย และเพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกให้คนไทยทั้งชาติได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือกันทำนุบำรุง ส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทยให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป จึงได้เสนอขอให้รัฐบาลประกาศให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ เช่นเดียวกับวันสำคัญอื่นๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้มีมาก่อนแล้ว เช่น วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติและ วันสื่อสารแห่งชาติเป็นต้น และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๔๒ เห็นชอบให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปีเป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ
 

เหตุผล

 

ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาติ สมควรจะได้รับการทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป
 
ทั้งนี้ในยุคปัจจุบันวิชาการและเทคโนโลยีต่างๆ ได้ก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเกิดเทคนิคใหม่ๆ ในการติดต่อสื่อสาร มี่มุ่งเน้นความสะดวกรวดเร็ว ส่งผลให้ภาษาไทยซึ่งเป็นสื่อกลางสำคัญในการติดต่อและผูกพันต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคนไทยได้รับผลกระทบ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ทำให้ภาษาไทยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างน่าวิตกเป็นอย่างยิ่ง สภาพการณ์เช่นนี้หากไม่เร่งรีบหาทางแก้ไขและป้องกันเสียแต่เนิ่นๆ การใช้ภาษาไทยของเราก็จะยิ่งเสื่อมลง จะส่งผลเสียหายต่อเอกลักษณ์และคุณค่าของภาษาไทยเป็นทวีคูณ
 

ทำไมจึงได้กำหนดให้วันที่ ๒๙ กรกฎาคม เป็น วันภาษาไทยแห่งชาติ

 

เพราะวันดังกล่าว ตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องประชุมคณะอักษรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ทรงเปิดการอภิปรายในหัวข้อ ปัญหาการใช้คำไทยทรงดำเนินการอภิปรายและทรงสรุปการอภิปรายอย่างดีเยี่ยม แสดงถึงพระปรีชาสามารถและความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใยในภาษาไทย เป็นที่ประทับใจผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว และในโอกาสต่อๆ มาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงแสดงความสนพระราชหฤทัยและความห่วงใย ในภาษาไทยอีกหลายโอกาส เช่น ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับปัญหาในการใช้ภาษาไทยของประชาชนชาวไทยใน ปัจจุบัน ในวโรกาสที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชการและองค์กรเอกชนเข้าเฝ้าถวายชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พุทธศักราช ๒๕๓๕ นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงย้ำให้ประชาชนชาวไทยตระหนักถึง ความสำคัญของภาษาไทยและพระราชทานแนวความคิดในการอนุรักษ์ภาษาไทยในโอกาส ต่างๆ อยู่เสมอ ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ คือ เป็นที่ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระปรีชาญาณและพระอัจฉริยภาพในการใช้ภาษาไทย ทรงรอบรู้ปราดเปรื่องถึงรากศัพท์ของคำไทย คือ ภาษาบาลีและสันสกฤต ทรงพระอุตสาหะวิริยะแปลและเรียบเรียงวรรณกรรมภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยที่ สมบูรณ์ด้วยลักษณะวรรณศิลป์ มีเนื้อหาสาระที่มีคุณค่าเป็นคติในการเสียสละเพื่อส่วนรวม และเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนในการใช้ภาษาไทย ดังจะเห็นได้จากพระราชนิพนธ์แปลเรื่องนายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ ติโต พระราชนิพนธ์แปลบทความเรื่องสั้นๆ หลายบท และพระราชนิพนธ์ เรื่อง พระมหาชนก นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อมที่สุดมิได้แก่วงการ
 

วัตถุประสงค์

 

.   เพื่อ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็นนักปราชญ์ และนักภาษาไทย รวมทั้งเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ได้ทรงแสดงความห่วงใย และพระราชทานแนวคิดต่างๆ เกี่ยวกับการใช้ภาษาไทย
.   เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒
.   เพื่อกระตุ้นและปลุกจิตสำนึกของคนไทยทั้งชาติให้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของภาษาไทย ตลอดจนร่วมมือร่วมใจกันทำนุบำรุงส่งเสริม และอนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และเป็นสมบัติวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชาติให้คงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
.   เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการใช้ภาษาไทย ทั้งในวงวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเพื่อยกมาตรฐานการเรียนการสอนภาษาไทยในสถานศึกษาทุกระดับให้มีสัมฤทธิผลยิ่งขึ้น
.   เพื่อเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย เพื่อเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยในรูปแบบต่างๆ ไปสู่สาธารณชนทั้งในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ และในฐานะที่เป็นภาษาเพื่อการสื่อสารของทุกคนในชาติ
ประโยชน์ที่ได้รับจากการมี วันภาษาไทยแห่งชาติ

คาดว่าจะมีผลดีสืบเนื่องหลายประการ คือ
.   การมี วันภาษาไทยแห่งชาติจะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน่วยงานในกระทรวงศึกษาธิการ และทบวงมหาวิทยาลัย ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อกระตุ้นเตือน เผยแพร่ และเน้นย้ำให้ประชาชนเห็นความสำคัญของ ภาษาประจำชาติของคนไทยทุกคน และร่วมมือกันอนุรักษ์การใช้ภาษาไทยให้มีความถูกต้องงดงามอยู่เสมอ
.   บุคคลในวงวิชาชีพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาไทย โดยเฉพาะในวงการศึกษา และวงการสื่อสาร ช่วยกันกวดขันดูแลให้การใช้ภาษาไทยเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม มิให้ผันแปรเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเสียหายแก่คุณลักษณะของภาษาไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
.   ผลสืบเนื่องในระยะยาว คาดว่าปวงชนชาวไทยทั่วประเทศจะตื่นตัวและสนใจที่จะร่วมกันฟื้นฟู ทำนุบำรุง ส่งเสริมและอนุรักษ์ภาษาไทย อันเป็นเอกลักษณ์และสมบัติวัฒนธรรมที่สำคัญของชาติให้ดำรงคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป

กิจกรรม

 

เชิญชวนให้สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน จัดกิจกรรมเนื่องใน วันภาษาไทยแห่งชาติในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยจัด ในวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ของทุกปี โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่นการจัดนิทรรศการ, การอภิปรายทางวิชาการ, การประกวดแต่งคำประพันธ์ ร้อยแก้ว ร้อยกรอง การขับเสภา การเล่านิทาน ฯลฯ,


  

การเข้าพรรษา  คือการที่พระภิกษุตั้งใจว่าจะอยู่ประจำ ณ วัดใด วัดหนึ่ง ตลอดเวลา 3 เดือน ในฤดูฝน ไม่ไปค้างที่อื่นในระหว่างนั้น

        "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แต่พอเข้าฤดูฝนถนนหนทางเป็นโคลนเลนทั่วไปหมด และทางเดินบ้างสายต้องผ่านไร่นา ซึ่งเจ้าของเขาไถ่หว่านปลูกพืชทั่วบริเวณทั่วบริเวณเสียแล้ว การเดินทางไม่สู้สะดวก จึงไม่มีใครไปไหนมาไหนโดยไม่จำเป็น เพราะเกรงจะเหยียบย่ำเข้าไปในนาทำทำให้เกิดความเสียหาน พระพุทธองค์ทรงทราบดี จึงตั้งระเบียบการจำพรรษาขึ้น ให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักการเดินทางระหว่างฤดูฝน กำหนดตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 8 ถึงขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 รวมเวลา 3 เดือนเต็ม เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียว นั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด

        ระหว่าง เดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตาม สมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลาย ๆองค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีก เพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย เหตุประการสุดท้ายนี้ฐานพระพุทธรูปไป บางทีเศรษฐีมีจิตศัรทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังนี้เช่นปัจจุบันนี้

        โดย ปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้ มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา

        การ ที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด รับว่าเป็นประโยชน์

การปฏิบัติตน

        ใน วันนี้ หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่นสบู่ ยาสีฟัน ฯลฯ มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่ เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษาโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

        แม้ การเข้าพรรษา จะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสที่จะได้ทำบุญรักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษา ชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิ วิหาร และอื่น ๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ ฯลฯ นอกจากนี้ บิดา มารดา มักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษา ในระหว่างนี้จะได้รับอานิสงส์อย่างสูง


แหล่งอ้างอิง 1. ธนากิต. วันสำคัญไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
                   2. ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์.                                     กรุงเทพฯ,2525.
วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชา
         คือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน
         หลังจาก สมเด็จพระพุทธองค์ ได้ ตรัสรู้ในวันเพ็ญ เดือน 6 แล้ว ได้ทรงใช้เวลาทบทวนสัจธรรมและทรงคำนึงว่าธรรมะที่พระองค์ตรัสรู้นี้ลึกซึ้ง มาก ยากที่ผู้อื่นจะรู้ตาม แต่อาศัยพระกรุณานี้เป็นที่ตั้งจึงทรงพิจารณาแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภทคือ
         1. อุคฆติตัญญู ผู้ ที่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ทันทีทันใดในขณะที่มีผู้สั่งสอน เปรียบเหมือนดอกบัวที่โผล่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว พร้อมที่จะบานเมื่อได้ได้รับแสงอาทิตย์ในวันนั้น
         2. วิปัจจิตัญญู สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ ต่อเมื่อท่านได้ขยายความให้พิสดารออกไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ตั้งอยู่เสมอระดับน้ำ จะบานในวันรุ่งขึ้น
         3. เนยยะ ผู้ ที่พากเพียรพยายาม ฟัง คิด ถาม ท่องอยู่เสมอไม่ทอดทิ้ง จึงได้รู้ธรรมวิเศษเปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังไม่โผล่ขึ้นจากน้ำ แต่เมื่อได้รับการหล่อเลี้ยงจากน้ำแล้ว ก็ย่อมจะโผล่และบานขึ้นในวันต่อ ๆ ไป
         4. ปทปรมะ ผู้ที่แม้ฟัง คิด ถาม ท่องแล้ว ก็ไม่สามารถรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำกับเปือกตม รังแต่จะเป็นอาหารเต่าและปลา

         เมื่อ ทรงเล็งเห็นเหตุนี้แล้ว พระพุทธองค์ตกลงพระทัยที่จะสอนบุคคลประเภทแรกก่อน จึงเสร็จจากตำบลพระศรีมหาโพธิ ถึงกรุงพาราณสี ในตอนเย็นวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน อาสาฬหะ ประทับแรมอยู่กับพระปัญจวัคคีย์นั้น รุ่งขึ้นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ สรุปลงด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่
         1. ทุกข์ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
         2. สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์
         3. นิโรธ ความดับทุกข์
         4. มรรค ทางที่จะปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
         เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงเทศนาเป็นกัณฑ์แรก จึงเรียกเทศฯกัณฑ์นี้ว่า "ปฐมเทศนา"

         ขณะ ที่ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ท่านโกณฑัญญะ หรือ อัญญาโกณฑัญญะ หัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์มีความเข้าใจในหลักสัจธรรมของพระองค์ จึงได้สมัครเข้าเป็นสาวก นับเป็น"ปฐมสาวก" ของพระพุทธเจ้า

         หลัง จากนั้นพระอัญญาโกณฑัญญะทูลขออุปสมบท ซึ่งพระพุทธองค์ประทานอนุญาต ด้วย "เอหิภิกขุ อุปสัมปทา" นับเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพระศาสนาที่บวชตามพระพุทธองค์
         จะเห็นได้ว่า ปรากฏการณ์สำคัญ ๆ ในวันนี้มีถึง 4 ประการ ด้วยกันคือ
         1. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนา
         2. เป็นวันแรกที่พระพุทธองค์ทรงได้ปฐมสาวก
         3. เป็นวันแรกที่พระสงฆ์เกิดขึ้นในโลก
         4. เป็นวันแรกที่บังเกิดรัตนะครบสาม เป็นพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสังฆรัตนะ
         เดิม วันนี้ไม่มีพิธีพิเศษ คงเนื่องมาจากวันก่อนเข้าพรรษาเพียงวันเดียว ประชาชนชาวพุทธได้ประกอบการบุญการกุศลเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต่อมาสังฆมนตรี มีมติให้ชาวพุทธประกอบการบูชาเป็นพิเศษในวันนี้ และเรียกว่า "วันอาสาฬหบูชา" เมื่อรัฐบาลเห็นชอบด้วยจึงนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชา นุมัติ
         จึงนับแต่ปี พ.ศ. 2504 จนถึงปัจจุบัน เมื่อถึงวันอาสาฬหบูชาพวกเราชาวพุทธ ต่างก็ประกอบการบูชาเป็นพิเศษตลอดวันนั้น นับตั้งแต่รับศีล ฟังเทศน์ สนทนาธรรม สวดมนต์ เดินเวียนเทียนพระพุทธสถาน เช่น รอบโบสถ์ วิหาร เจดีย์ หรือต้นศรีมหาโพธิ เป็นต้น เช่นเดียวกันวันมาฆบูชา วิสาขบูชา ต่างกันที่เปลี่ยนคำบูชาพระก่อนเวียนเทียนตามประกาศของสำนักสังฆนายก
แหล่งที่มา
ศิลปากร, กรม. กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์. ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ,2525.
วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี  เป็น "วันลูกเสือแห่งชาติ "

        ่กอง ลูกเสือกองแรกของโลกได้ถูกตั้งขึ้นมา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2450 โดยท่าน ลอร์ด บาเดน เพาเวลส์ และกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายขยายตัวไปทั่วโลกโดยได้รับการยอมรับว่า ลูกเสือเป็นขบวนการของเยาวชน ที่ทรงคุณประโยชน์ทั้งตัวของเยาวชนเอง และสังคม

        สำหรับ ประเทศไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกองลูกเสือป่า ขึ้นมา เพื่อให้บรรดาข้าราชการพลเรือน ได้รับการฝึกอบรมให้เป็นบุคคลที่มีใจรักชาติ มีความเสียสละและมีความสามัคคีต่อกัน ดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสไว้ว่า " ชาติจะเจริญรุ่งเรืองได้ คนในชาติต้องเป็นคนดีก่อน การที่จะสอนให้คนรักชาติก็ดี ให้คิดทำประโยชน์เพื่อชาติก็ดี ต้องมุ่งอบรมคนในชาติเป็นประการแรก" และได้ทรงพิจารณาเห็นว่า บรรดาบุตรของเสือป่าทั้งหลายควรได้รับการอบรมให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติแต่ เยาว์ในทำนองไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก สิ่งที่ดีงามทั้งหลายทั้งปวงที่พลเมืองที่ดีพึงจะมีจะได้ฝังแน่นในกระแส เลือดของเยาวชนไทย คุณภาพแห่งการเป็นมนุษย์ จะได้เกิดขึ้นมาในสังคมไทย

        เมื่อ วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454 นั้นเอง จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพ ที่ 1 ภายหลังที่ทรงตั้งกองเสือป่าได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น ประเทศไทยจึงนับว่าเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่มีกิจการลูกเสือ รองมาจากอเมริกา จากนั้น นานาชาติในยุโรปจึงได้จัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลกเป็นสื่อผูกไมตรีกัน โดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันได้ไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่า ลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด

        กอง ลูกเสือกองแรกทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกองลูกเสือหลวง กระทำพิธีเข้าประจำกอง เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2454 ทรงพระราชทานคติพจน์แก่ลูกเสือว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์" และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นาย ชัพพ์ บุนนาค

        หลัง จาก ทรงสถาปนา กิจการลูกเสือขึ้นมาแล้ว ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ และตั้งสภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติขึ้นโดยพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก ต่อมาทุกครั้งที่พระองค์เสด็จไปยังจังหวัดใดก็ตามก็จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือประจำจังหวัดนั้น ๆ ให้ด้วย

        ต่อ มา กิจการลูกเสือไทยได้เจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของนานาชาติดังจะเห็นได้จาก การที่ กองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้ขอพระราชทานนามกองลูกเสือของตนกองนี้ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวว่า "กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม" (The King of siam own boy scout group) มีเครื่องหมายช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์

        เมื่อ สิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟื้นฟูกิจการลูกเสือไทยต่อไปอีก โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2470 และจัดการชุมนุม ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2473 ณ พระราชอุทยาน สราญรมย์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้า ฯ ให้มีการอบรมผู้กำกับลูกเสือที่โรงเรียนผู้กำกับ ที่เคยเปิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระราชวังบ้านปืน จังหวัดเพชรบุรีโดยคัดเลือกเอาผู้กำกับจังหวัดละหนึ่งคนเข้ามาอบรมช่วงเวลา ปิดภาคเรียน ปีละครั้ง จนถึง พ.ศ.2475 เป็นรุ่นสุดท้าย

        หลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองกิจการลูกเสือไทยได้มุ่งไปในการบำเพ็ญประโยชน์เสีย เป็นส่วนใหญ่ มีการอบรมควบคู่กันไปกับการอบรมยุวชนทหารและเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้กิจการลูกเสือซบเซาลงไปมากต่อมาได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2498 โดยที่กิจการลูกเสือไทยได้เข้าสู่ระบบสากลมีการสร้างค่ายลูกเสือแห่งชาติ ที่ตำบล บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี มีชื่อว่า "ค่ายวชิราวุธ" มีการเปิดอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรองขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2501 และจัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2501 และในที่สุดกิจการลูกเสือก็เข้าสู่ยุคของประชาชนทั่วไป โดยมีการพระราชทานกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน และเปิดอบรมขึ้นเป็นครั้งแรกที่ บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2514

        นับ ว่าเป็นการบังเอิญที่กิจการลูกเสือไทย และลูกเสือโลกมีจุดมุ่งหมายในการสถาปนาคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ระยะเริ่มต้นการลูกเสือไทยมุ่งเน้นเรื่อง ความรักชาติการป้องกันภัยของประเทศเป็นหลัก พร้อมกับวางแนวทางอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ ในปัจจุบันกิจการลูกเสือไทยก็ดำเนินไปเหมือนกับกิจการลูกเสือโลกเกือบทุก ประการ จะมีความแตกต่างกับการลูกเสือประเทศอื่นก็คือ การเข้ามาสู่ขบวนการลูกเสือของเยาวชนในแต่ละประเทศนั้น จะเป็นลักษณะของสโมสร เอกชน และ กลุ่มสนใจ ไม่ผูกติดกับระบบโรงเรียน การเข้ามาของสมาชิกลูกเสือเข้ามาด้วยใจสมัคร ไม่มีการบังคับเป็นกิจกรรมนอกเวลาเรียน แต่สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน ลูกเสือถือว่า เป็นกิจกรรมและวิชาหนึ่ง ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน เกือบทุกระดับชั้นเรียน ดังนั้นปริมาณลูกเสือในเมืองไทยจึงมีจำนวนมากมายกว่า ลูกเสือในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

        กิจการ ลูกเสือไทยเป็นกิจการที่พระราชทานกำเนิดโดยองค์พระประมุขของชาติแม้ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการนี้มาโดยตลอดทรง ดำรงพระองค์ในฐานะ องค์พระประมุขแห่งการลูกเสือไทย ขบวนการและกิจการลูกเสือไทย เป็นขบวนการและกิจการที่ดีของเยาวชน

        กิจการ ลูกเสือไทยถือเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ลูกเสือจะได้จัดให้มีพิธี ทบทวนคำปฏิญาณตนและสวนสนาม ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ เสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ และอีกสิ่งหนึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานก็คือ ทุก ๆ 4 ปี จะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้น เพื่อให้พี่น้องลูกเสือทั่วประเทศ ได้มาร่วมกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกัน


        การลูกเสือ    คือ ขบวนการเยาวชนที่ให้การศึกษานอกเหนือการเรียนทำให้เป็นคนดี มีความรักชาติเคารพศาสนา เทิดทูนพระมหากษัตริย์ อบรมให้ใช้ชีวิตกลางแจ้ง บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักพัฒนาตนเอง ไม่มีกีดกันในเรื่องศาสนาหรือเชื้อชาติใด ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

        วัตถุประสงค์    การลูกเสือ คือ การฝึกอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณีของบ้านเมืองอุดมคติดังต่อไปนี้
            1. ให้มีนิสัยในการสังเกตและจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง
            2. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
            3. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
            4. ให้รู้จักทำการฝีมือ
            5. ให้มีการพัฒนาในทางกาย จิตใจ และศีลธรรม
             ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใด ๆ

        จุดหรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
        เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ตนอยู่ให้ดีขึ้น ประเทศชาติมีความมั่นคง

        วิธีการฝึกลูกเสือ
            1. ให้เยาวชนทั้งชาย หญิง เป็นสมาชิกของลูกเสือหรือเนตรนารีตามความสมัครใจโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้แนะนำ สั่งสอน อบรมฝึกการปกครองกันเองภายในกองของตน และเพิ่มวิธีการฝึกอบรมมากขึ้นตามอายุ
            2. ให้เด็กชายปฏิบัติกิจกรรมตามที่ตนถนัดในที่แจ้งเป็นส่วนใหญ่ และมีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วย
            3. ให้เด็กชายได้ฝึกหัดการรับผิดชอบตัวเองและต่อบุคคลผู้อื่นเป็นขั้น ๆ และเพิ่มการฝึกให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อว่าจะได้เกิดความสามารถ ความเชื่อมั่นในตนเองมีนิสัยใจคอดีเป็นที่ไว้ใจได้ สามารถในการเป็นผู้นำและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น

        สิ่งที่เด็กต้องการ
            1. ผจญภัย (Adventure) ได้แก่การเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ที่ตื่นเต้น และไม่คาดหมายมาก่อน
            2. ได้เพื่อน (Comradeship) ได้แก่การที่มีเด็กอื่น ๆ เป็นเพื่อน
            3. เถื่อนธาร (The Out Door World) ได้แก่ โลกภายนอกซึ่งประกอบไปด้วยป่าเขา ลำเนาไพรลำธารทุ่งนา
            4. การสนุก (Good Fun) ได้แก่ การสนุกสนานในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
            5.สุขสม (Afeeling Of Achievement) ได้แก่ ความรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนประสบความสำเร็จ
 
ความหมายของสี
  สีเขียว   หมายถึง   ลูกเสือสำรอง
  สีเหลือง   หมายถึง   ลูกเสือสามัญ
  สีน้ำตาล   หมายถึง   ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
  สีแดง   หมายถึง   ลูกเสือวิสามัญ
 
ประเภทลูกเสือ, อายุชั้นเรียน
  ลูกเสือสำรอง   อายุ 8-11   เทียบชั้นเรียน ป.1-ป.4
  ลูกเสือสามัญ   อายุ 12-13   เทียบชั้นเรียน ป.5-ป.6
  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่   อายุ 15-17   เทียบชั้นเรียน ม.1-ม.3
  ลูกเสือวิสามัญ   อายุ 17-23   เทียบชั้นเรียน ม.4-ม.6
  เนตรนารีเหมือนลูกเสือ
  ลูกเสือชาวบ้าน 15-18 ปี
 
คติพจน์ของลูกเสือประเภทต่าง ๆ
  ลูกเสือสำรอง   ทำดีที่สุด (DO YOUR BEST)
  ลูกเสือสามัญ   จงเตรียมพร้อม (BE PREPARED)
  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่   มองไกล (LOOK WIDE)
  ลูกเสือวิสามัญ   บริการ (SERVICE)
  ลูกเสือทั่วไป   เสียชีพอย่าเสียสัตย์
  ลูกเสือชาวบ้าน   เสียชีพอย่าเสียสัตย์

เหล่าลูกเสือมี 3 เหล่า คือ


        ลูกเสือเสนา (SCOUT)
        ลูกเสือสมุทรเสนา (SEA SCOUT) เครื่องแบบกากี และขาว
        ลูกเสืออากาศเสนา (AIR SCOUT) เครื่องแบบสีเทา

องค์ประกอบที่สำคัญของลูกเสือคือ

        1. ลูกเสือ
        2. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
        3. กิจกรรมกลางแจ้ง
        4. อุดมการณ์
        5. การบริหารงานของลูกเสือ

แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2538 โดย ทวี รัดงาม
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย มุทิตากุล
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สภักดิ์ อนุกูล
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร
วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็น วันต่อต้านยาเสพติด

"สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ" ได้มีมติกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติด

        ประเทศไทยได้เผชิญกับปัญหา ยาเสพติด มา เป็นเวลาช้านาน รัฐบาลในแต่ละยุคได้ดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมาตลอด จนกระทั่งใน พ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติภายใต้การนำของจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ออกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 37 ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2501 ให้เลิกการสูบฝิ่นทั่วราชอาณาจักรโดยมีการเผาทำลายฝิ่นและอุปกรณ์การสูบฝิ่น ที่ท้องสนามหลวงในคืนวันที่ 30 มิถุนายน 2502 หลังจากนั้นปี พ.ศ. 2504 รัฐบาลได้จัดตั้ง “คณะกรรมการปราบปรามยาเสพติดให้โทษ” ใช้ชื่อย่อว่า ปปส. สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยมีอธิบดีกรมตำรวจเป็นประธาน และมีผู้แทนจากทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ
        ต่อ มาในสมัยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีรัฐบาลได้เล็งเห็นว่า การปราบปรามยาเสพติดไม่สามารถแก้ไขได้โดยการดำเนินการเฉพาะกรมตำรวจฝ่าย เดียว จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ต่อสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และประกาศใช้เป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2519
        ตั้งแต่ นั้นเป็นต้นมาการแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศไทยก็ได้ดำเนินไปอย่างมีแบบแผน และเป็นระบบที่ดีขึ้น พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือเรียกชื่อย่อว่า ป.ป.ส. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และจัดตั้งสำนักงาน ป.ป.ส. ขึ้นเป็นหน่วยงานกลางรับผิดชอบโดยตรง มีฐานะเป็นกรม กรมหนึ่งในสำนักนายกรัฐมนตรี ปัจจุบันสำนักกระทรวงยุติธรรม ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพ ติดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
        ผลจาก ปัญหายาเสพติด ได้ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อมวลมนุษยชาติทั่วโลก เพื่อเน้นถึงความสำคัญของการต่อสู้กับปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบค้ายาเสพติดและเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั่วโลกใน การต่อสู้กับปัญหายาเสพติด ที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการใช้ยาในทางที่ผิด และการลักลอบใช้ยาเสพติด (International Conference on Drug Abuse and llicit Trafficking ICDAIT) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ระหว่าง วันที่ 17-26 มิถุนายน 2530 ที่ประชุมได้เสนอเป็นข้อมติต่อสมัชชาใหญ่สหประชาชาติขอให้กำหนดวัน ที่26มิถุนายนของทุกปีเป็นวันต่อต้านยาเสพติดซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบ ตามข้อเสนอดังกล่าวในการประชุมเมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2530
        ประเทศไทย  สำนักงาน ป.ป.ส.ใน ฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน ประเทศมาโดยตลอด ได้นำมติเรื่องวันต่อต้านยาเสพติดขององค์การสหประชาชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ในการประชุมเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2531 ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันต่อต้านยาเสพติดโดยเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531เป็นต้นมา

        สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ และศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร จะจัดกิจกรรมรณรงค์พิเศษ "มหกรรมภาคีพลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด" ขึ้นโดยระดมพลังครั้งยิ่งใหญ่จากทุกภาคส่วนของสังคม และประชาชนทุกหมู่เหล่าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ณ บริเวณลานคนเมือง ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 26 มิถุนายน 2547 ตั้งแต่เวลา 06.30 - 14.00 น. โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธี พิธีในช่วงเช้าเริ่มด้วยการใส่บาตรข้าวสารอาหารแห้ง การกล่าวคำปฏิญาณตนและการแสดงเจตนารมณ์เป็น "พลังแผ่นดิน" ร่วมเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด และการแสดงผลงานของภาคีพลังแผ่นดินที่จะร่วมต่อสู้เอาชนะยาเสพติดอย่างต่อเนื่องและเป็นไปอย่างยั่งยืน เช่นพลังเยาวชน พลังครอบครัว พลังชมรม To Be Number One พลังผู้ประสานพลังแผ่นดิน พลังลูกเสือชาวบ้าน พลังภาคเอกชนและธุรกิจเอกชน พลังชุมชน เป็นต้น
        โดยในส่วนภูมิภาคจะมีการจัดงานและกิจกรรมรณรงค์พิเศษขึ้นในลักษณะเดียวกันพร้อมกันทุกพื้นที่ จังหวัด อำเภอ/กิ่งอำเภอ ณ จุดนัดหมายบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด และที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอทุกแห่ง

คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2548
"พลังไทย ต้านภัยยาเสพติด"
 
คำขวัญวันต่อต้านยาเสพติดประจำปี 2549
๖๐ ปี ทรงครองราชย์  รวมพลังไทยทั้งชาติ  ขจัดยาเสพติด