important day thai

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2556



         เริ่มมีการจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ.1988 โดยองค์การอนามัยโลก เนื่องจากเล็งเห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
        การสูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง และโรคระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ นอกจากนี้ยังส่งผลทำให้มีโอกาสเกิดโรคบางโรคมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควัน บุหรี่ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค บุหรี่ยังทำให้เสียทรัพย์โดยไม่จำเป็นอีกด้วย
        องค์การอนามัยโลกระบุชัดเจนว่า การสูบบุหรี่เป็นสาเหตุสำคัญของการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควรที่สามารถ ป้องกันได้ และกำหนดให้ วันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีเป็นวันงดสูบบุหรี่โลก ( World No Tobacco Day) มีการกำหนดคำขวัญในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในแต่ละปี
         บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ทั้งต่อผู้สูบเอง และผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่สูดหายใจเอาอากาศที่มีควันบุหรี่เข้าไป เพราะควันบุหรี่ประกอบด้วยสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสิ้น เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ นิโคติน ทาร์ เป็นต้น จากการสำรวจพบว่า ผู้ที่เป็นมะเร็งปอดนั้น ร้อยละ 90 เป็นผลเนื่องมาจากการสูบบุหรี่ และถ้าสูบเกินวันละ 1 ซอง จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าผู้ที่ไม่สูบถึง 5-20 เท่า นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบร้อยละ 80 และโรคหัวใจร้อยละ 50 ก็มีผลมาจากการสูบบุหรี่เช่นเดียวกัน


ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่
        1. พระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ.2535
มีสาระสำคัญคือ การประกาศเขตปลอดบุหรี่ โดยแบ่งเขตปลอดบุหรี่ออกเป็น 4 กลุ่มคือ
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างแท้จริง เช่น รถยนต์โดยสารประจำทางทั้งที่ปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ แท็กซี่ ตู้รถไฟปรับอากาศ ห้องชมมหรสพ
            - เขตปลอดบุหรี่ทั้งหมดเช่น โรงเรียน ห้องสมุด ยกเว้น ห้องส่วนตัว
            - เขตปลอดบุหรี่เกือบทั้งหมด เช่น สถานพยาบาล ศูนย์การค้า สถานที่ราชการ และรัฐวิสาหกิจ หากจะสูบก็ให้สูบเฉพาะเขตสูบบุหรี่
            - เขตปลอดบุหรี่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของพื้นที่นั้นๆ เช่น ตู้รถไฟโดยสารทั่วไป(ไม่ปรับอากาศ) และร้านขายอาหารทั่วๆ ไป เฉพาะบริเวณที่มีระบบปรับอากาศ แต่ต้องจัดเขตสูบบุหรี่ไม่ให้เกินครึ่งหนึ่งของพื้นที่ทั้งหมด

        2. พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ
มีสาระสำคัญคือ การห้ามขายบุหรี่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท ห้ามขายสินค้าอื่นและแถมบุหรี่ให้ หรือ ขายบุหรี่แล้วแถมสินค้าอื่นๆ และห้ามการโฆษณาทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม
        การรณรงค์ต่อต้านการสูบบุหรี่ มิใช่จะกระทำแค่วันเดียว แต่ต้องทำอย่าง ต่อเนื่อง เพื่อสุขภาพและอนามัยที่ดีแก่ตนเองและผู้ใกล้ชิด

ถาม-ตอบวันงดสูบบุหรี่โลก
โดย ศ.น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล ภาควิชาอายุรศาสตร์
จาก http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/backissue/may44_1.html

         ถาม: สารพิษที่มีอยู่ในควันบุหรี่ มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
        ตอบ: บุหรี่ นั้นประกอบด้วยสารพิษต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 2,000 ชนิด สารพิษที่สำคัญมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ สารนิโคติน ทาร์ และ แก๊สคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ สารนิโคตินเป็นสารเสพย์ติด ซึ่งทำให้คนที่สูบมีความ รู้สึกอยากจะสูบอีกถ้าใช้สารนิโคตินมากเกินไปจะมีอาการเวียนศรีษะ คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งผู้ที่สูบบุหรี่ใหม่ ๆ ก็จะมีความรู้สึกเช่นนี้ นอกจากสารนิโคตินแล้ว ก็จะเป็นสารที่เรียกว่า ทาร์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งในปอด และอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย สารตัวที่ 3 ที่มีผลเสียต่อร่างกาย คือ แก๊สคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ ซึ่งแก๊สดังกล่าวนั้นจะไปแย่งที่อ๊อกซิเจนในการจัดกับเม็ดเลือดแดง ซึ่งทำให้ปริมาณของอ๊อกซิเจนในเลือดน้อยลง ทำให้ผู้ป่วยหรือคนที่สูบบุหรี่ขาดอ๊อกซิเจน เพราะฉะนั้นโดยสรุปก็คือ สารพิษในควันบุหรี่มีมากมายมีมากกว่า 2,000 ชนิด 3 ชนิดที่สำคัญก็คือ สารนิโคติน ทาร์ และ แก๊สคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ นอกจากนั้นแล้ว บุหรี่ยังมีสารที่เราเรียกกันว่า สารก่อมะเร็งอีกมากมาย

        ถาม: อันตรายของบุหรี่ต่อร่างกาย มีอะไรบ้าง

        ตอบ: บุหรี่นั้นมีผลเสียต่อสุขภาพมากมาย ที่เราทราบกันดีก็คือ เรื่องของมะเร็งปอด บุหรี่นั้นมีความสำคัญโดยการที่ทำให้เกิดมะเร็งในปอดเกิดง่าย นอกจากนั้นแล้ว สารพิษในควันบุหรี่จะทำให้เกิดเป็นโรคถุงลมโป่งพอง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก ไอเรื้อรัง สารพิษในควันบุหรี่ ยังทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโดยตรง นอกจากนั้นยังจะทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะอื่น ๆ เช่น มะเร็งของหลอดอาหาร การสูบบุหรี่ในหญิงตั้งครรภ์ จะมีผลกระทบกับเด็กที่อยู่ในครรภ์ ทารกที่ออกมาจะมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติได้

        ถาม: ระยะเวลาในการสูบบุหรี่มากน้อยแค่ไหน ถึงจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ

        ตอบ: บุหรี่มีผลกระทบต่อสุขภาพทันที ที่บุคคลนั้นสูบบุหรี่เข้าไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะต่างกันไปในระยะยาวและผลกระทบอย่างฉับพลัน สิ่งที่เกิดขึ้นในทันทีในการที่สูดควันบุหรี่เข้าไป ก็คือ จะเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ซึ่งควันบุหรี่จะประกอบไปด้วยแก๊สคาร์บอนมอนอ๊อกไซด์ ดังที่กล่าวมาแล้วว่าเป็นแก๊สพิษ จะไปแย่งที่ของอ๊อกซิเจน ซึ่งอ๊อกซิเจนนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายก็จะทำให้ผู้ป่วยขาดอ๊อกซิเจนได้ นอกจากนั้นแล้ว ควันบุหรี่โดยเฉพาะสารที่เราเรียกว่า ทาร์ จะไประคายเคืองหลอดลมทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ทำให้เกิดอาการไอขึ้นมาทันที สารนิโคตินที่เป็นสารเสพย์ติดนั้น ถ้าเสพย์เข้าไปในระยะเริ่มต้น ก็จะเกิดอาการวิงเวียนศีรษะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นผลกระทบด้านสุขภาพจะเกิดขึ้นทันทีที่สูบบุหรี่ ในระยะยาว ถ้าคนที่สูบบุหรี่ต่อเนื่องกันไปเป็นระยะเวลาเป็นเดือน เป็นปี รวมทั้งจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น ก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพตามลำดับ ยังมีจำนวนมวนที่มากขึ้น จำนวนระยะเวลาที่สูบมากขึ้น ก็จะมีผลกระทบทำให้เกิดพยาธิสภาพในปอด นั้นก็คือ จะทำให้เกิดเป็นมะเร็งของปอด จะทำให้ถุงลมซึ่งเคยมีความสามารถในการ ยืดหยุ่นที่ปกติ ขาดความสามารถในการยืดหยุ่น ผลกระทบก็คือ ขาดความสามารถในการรับอ๊อกซิเจนเข้าไปในร่างกาย ร่างกายก็ขาดอ๊อกซิเจน ทำให้มีอาการหอบเหนื่อย มีอาการแน่นหน้าอก เดินไกล ๆ ไม่ได้ ก็เป็นผลกระทบระยะยาว

        ถาม: ที่เรียกว่า การสูบบุหรี่มือสอง มีความหมายอย่างไร

        ตอบ: การสูบบุหรี่มือสอง หมายถึง ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่ได้รับเอาควันบุหรี่จากผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เช่น การอยู่ในห้องทำงานเดียวกัน หรือ ภรรยาที่มีสามีที่สูบบุหรี่ การที่เราไม่ได้สูบบุหรี่แต่เราต้องไปสัมผัส ควันบุหรี่กับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดนั้นก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพเช่นเดียวกัน มีรายงานวิจัยยืนยันออกมาชัดเจนว่า อุบัติการณ์ของการเกิดมะเร็งปอดในผู้ที่สัมผัสควันบุหรี่ โดยที่ไม่ได้สูบเอง จะสูงกว่าผู้ที่ไม่ได้สัมผัสควันบุหรี่เลย นอกจากนั้นแล้วอุบัติการณ์ของการเกิดการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม อุบัติการณ์ของการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ก็จะสูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน เพราะฉะนั้นคนที่สูบบุหรี่อย่าคิดว่าเป็นสิทธิ์ส่วนบุคคล เพราะว่าควันบุหรี่ที่สูบออกมา หรือพ่นออกมานั้นจะมีผลกระทบต่อบุคคลที่อยู่ใกล้เคียง ทำให้มีผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นเดียวกัน

        ถาม: อันตรายของผู้ที่สูบบุหรี่และไม่ได้สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ จะแตกต่างกันหรือไม่

        ตอบ: จากที่ได้กล่าวแล้วว่า ทั้งผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรงและผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง แต่ว่าได้รับควันพิษจากผู้ที่อยู่ใกล้ชิดจะมีผลกระทบที่ไม่ดีต่อสุขภาพของ ปอดทั้งสิ้น แต่ความรุนแรงนั้นแน่นอน ผู้ที่สูบบุหรี่เองโดยตรงจะมีความรุนแรงของการเกิดผลเสียต่อพยาธิสภาพของปอด นั้นมากกว่า ผู้ที่ไม่ได้สูบเองโดยตรง ความรุนแรงของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในปอดจากสารพิษในควันบุหรี่นั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณของบุหรี่ที่สูบ คือ จำนวนมวนที่สูบ ประการที่สอง จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาของการสูบ เพราะฉะนั้นจำนวนและระยะเวลานั้นมีผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช้หมายความว่าผู้ที่สูบบุหรี่จำนวนน้อย และระยะเวลาสั้นจะไม่เกิดมะเร็งปอด หรือไม่เกิดพยาธิสภาพที่เราเรียกว่า ถุงลมโป่งพอง คนบางคนสูบบุหรี่ไม่มาก และสูบมาไม่นานก็เกิดมะเร็งปอดได้ และเกิดถุงลมโป่งพอง จึงเป็นโรคเรื้อรังได้ เหตุผลดังกล่าวเชื่อว่ามีสภาพกรรมพันธุ์ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของปอดมาก น้อยต่างกัน ในปริมาณบุหรี่ทีมากน้อยต่างกัน โดยสรุปก็คือ กรรมพันธุ์ นั้นมีผลกระทบในการรับเอาพยาธิสภาพของปอด ซึ่งเกิดขึ้นจากสารพิษของควันบุหรี่มากน้อยต่างกันไป

        ถาม: ผู้ที่สูบบุหรี่มาเป็นระยะเวลานาน ถ้าต้องการเลิกจะมีอันตรายต่อสุขภาพร่างกายหรือไม่

        ตอบ: การหยุดบุหรี่มีผลดีต่อร่างกายแน่นอน นั้นก็คือ ผู้ที่หยุดบุหรี่นั้นจะมีโอกาสในการเกิดมะเร็งปอด และถุงลมโป่งพองลดน้อยลง นอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการถดถอยหรือความเสื่อมของสมรรถภาพการทำงานปอดทุกปี นั้นก็คือ เมื่ออายุมากขึ้นแต่ละปีสมรรถภาพการทำงานของปอดก็จะเสื่อมลงตามลำดับ ถ้าคนคนเดียวกันหยุดบุหรี่ ความเสื่อมของปอดที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปีนั้น จะถดถอยในความเร็วที่ช้าลง นั้นก็คือ ความเสื่อมนั้นเกิดขึ้นแน่นอนทุก ๆ คน แต่ถ้าคนที่สูบบุหรี่จะมีความเสื่อมของปอดเกิดขึ้น เรียกว่าถ้าหยุดบุหรี่ความเสื่อมของปอดจะอยู่ในสภาพที่ยอมรับได้ เพราะฉะนั้น การหยุดบุหรี่จะทำให้เกิดอันตรายเสี่ยงต่อการเกิดโรคลดน้อยลง ความเสื่อมของปอดลดน้อยลง เพราะฉะนั้น มีผลดีไม่มีผลเสียอย่างที่เข้าใจกัน ยกเว้นในระยะเริ่มต้นนั้นอาจจะรับประทานอาหารได้มากขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักตัวอาจจะเพิ่มขึ้นในช่วงสั้น ๆ หลังจากนั้นแล้วก็จะเหมือนคนปกติทั่ว ๆ ไป โดยสรุป การหยุดบุหรี่ก็จะมีแต่ผลดี ไม่มีผลเสีย

        ถาม: ส่วนใหญ่มักพบว่า คนที่กำลังเลิกสูบบุหรี่มักจะมีอารมณ์ หงุดหงิด โกรธง่าย ปัญหานี้ควรทำอย่างไร
        ตอบ: ความตั้งใจในการหยุดบุหรี่ ความสำคัญความสำเร็จในการที่จะหยุดบุหรี่ได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับความ ตั้งใจของผู้ที่ต้องการที่จะเลิกสูบบุหรี่ สำหรับอารมณ์หงุดหงิดที่เกิดขึ้นหลังจากเลิกสูบบุหรี่ใหม่ ๆ นั้นเป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งเราทราบกันดีว่าบุหรี่เป็นสารเสพย์ติด คนที่สูบบุหรี่ก็จะติดสารนิโคติน เมื่อไม่มีสารนิโคตินก็จะมีความรู้สึกหงุดหงิด ซึ่งจะเกิดขึ้นในระยะแรก ๆ ในปัจจุบันนอกจากอาจจะอาศัยจิตใจที่เข้มแข็งของผู้ที่ตั้งใจจะงดบุหรี่แล้ว ก็ยังมียาที่จะช่วยไม่ว่าจะเป็น ยาชนิดรับประทาน และสารนิโคติดที่ใช้เป็นแผ่นพาสเตอร์สำหรับติดบริเวณหน้าอก ซึ่งเป็นสารทดแทน แทนที่จะเสพย์เข้าไปทางการสูบบุหรี่เข้าไป ก็จะช่วยลดปฏิกิริยาของการติดนิโคตินได้ในระดับหนึ่ง

        ถาม: หน่วยบริการที่ให้คำแนะนำในการเลิกสูบบุหรี่ อยู่ที่ใด

        ตอบ: เราสามารถให้คำแนะนำได้ใน ร.พ. ของรัฐทุกแห่ง ในสถานที่ที่มีบริการทางด้านอายุรศาสตร์ แพทย์ที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคทางอายุรศาสตร์นั้นสามารถที่จะ ให้คำแนะนำการหยุดบุหรี่ได้ ซึ่งแน่นอนว่า เราจะต้องอาศัยความตั้งใจของผู้ที่จะหยุดบุหรี่ จากประสบการณ์พบว่า ถ้าคนที่มาปรึกษาไม่ได้ตั้งใจที่จะหยุดบุหรี่เอง เช่น ภรรยาพามา ลูกพามา ขอคำปรึกษาที่จะหยุดบุหรี่ พบว่าโอกาสที่จะล้มเหลวนั้นสูงมาก นั้นก็คือ ผู้ที่จะขอคำปรึกษานั้นไม่ได้มีความตั้งใจเองที่จะหยุดบุหรี่ เพราะฉะนั้นความสำเร็จ จะสูง ถ้าคนที่ต้องการที่จะหยุดบุหรี่มาขอรับคำปรึกษาโดยตรง เพราะฉะนั้นโดยสรุป ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความตั้งใจอันแน่วแน่ของบุคคลนั้น ๆ

        ถาม: ขอคำแนะนำเรื่องในโอกาสวันงดสูบบุหรี่โลก

        ตอบ: บุหรี่นั้นเป็นยาเสพย์ติดชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสาธารณสุขของ ประเทศต่างๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยของเราด้วย ในประเทศไทยของเรานั้นมีผู้ที่สูบบุหรี่ไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน ซึ่งจะมีผลกระทบทำให้มีความถดถอยของสมรรถภาพการทำงานของปอดทำให้มีอุบัติการ ของโรคมะเร็งปอดเพิ่มมากขึ้น อุบัติการณ์ของโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง อุบัติการณ์ของโรคถุงลมโป่งพองเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ที่เป็นโรคนี้มีความเสื่อมในการปฏิบัติภาระกิจประจำวัน มีความสูญเสียในเชิงเศรษฐศาสตร์จะต้องดูแลรักษาตัวเอง นอกจากนั้น ยังต้องเสียเวลาแรงงานสำหรับผู้ที่อยู่ใกล้ชิดที่ต้องมาดูแลผู้ป่วยดังกล่าว เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้น ผมขอแนะนำว่าผู้ใดก็ตามที่ยังไม่เคยสูบบุหรี่ก็อย่าไปสูบบุหรี่ โดยเฉพาะวัยรุ่น ผู้ที่สูบบุหรี่แล้วควรที่จะตัดสินใจที่จะเลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่วันนี้ เพื่อสุขภาพของตัวท่านเองและผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านครับ

        ป่าไม้ นับเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญในด้านสังคมและเศรษฐกิจ เมื่อจำนวนประชากรของประเทศเพิ่มขึ้น ความต้องการในด้านบริโภคย่อมขยาตัว ตามไปด้วย แต่เนื่องจากทรัพยากรบางประเภทมีอยู่อย่างจำกัด เช่น ที่ดิน ป่าไม้ สินแร่ ถ่านหิน น้ำมัน ฯลฯ โดยเฉพาะ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นสิ่งที่สามารถนำมาใช้ได้โดยง่าย แต่การปลูกทดแทนต้องรอเวลาและใช้งบประมาณสูงในการดูแลรักษาทำนุบำรุง
       ดัง นั้นปลายปี พ.ศ.2528 รัฐบาลจึงได้ประกาศนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เพื่อให้การจัดการและการพัฒนาทรัพยากรป่าไม้ สามารถกระทำได้อย่างต่อเนื่องเป็นแผนระยะยาว และประสานสอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรชนิดอื่นๆ และเพื่อให้ส่วนราชการรวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้มีความเข้าใจร่วมกันและถือปฏิบัติไปในทางเดียวกัน
       นโยบาย ป่าไม้แห่งชาติ ได้กำหนดไห้ให้มีพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ ทั้งนี้ได้กำหนดไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและป้องกันภัย ธรรมชาติอันเกิดจากน้ำท่วมและการพังทลายของดิน ตลอดทั้งเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยและนันทนาการของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 15 ของพื้นที่ประเทศ ส่วนอีกร้อยละ 25 นั้น รัฐบาลได้กำหนดไว้เป็นป่าเศรษฐกิจเพื่อการผลิตไม้และของป่า
        คุณประโยชน์ป่าไม้สำหรับมนุษย์และสัตว์โลกนั้น มัทั้งทางตรงและทางอ้อม
ทางตรงได้แก่การนำมาเป็นอาหาร ยารักาาโรค ที่อยู่อาศัย ทำเส้นใยเครื่องนุ่งห่ม ทำสิ่งปลูกสร้างอาศัย ใช้เป็นวัตถุเคมี ฯลฯ

       ในทาง อ้อม ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้ฝนตก และทำให้เกอดความชุ่มชื้น ช่วยบรรเทาความร้ายแรงของพายุ ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า ฯลฯ
       แต่ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ป่าไม้ได้ถูกทำลายอย่างรวดเร็วทั้งจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า แต่สิ่งที่อันตรายที่สุดก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า อันเป็นทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดมาใช้อย่างขาดแผนการดูแลบำรุงรักษาและปลูกทด แทน
       เพื่อ ให้ทรัพยากรป่าไม้คงอยู่คู่เมืองไทยตลอดไป คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดให้ปี พ.ศ.2528 - 2531 เป็นปีต้นไม้แห่งชาติและกำหนดให้วันวิสาขบูชา เป็นวันต้นไม้แห่งชาติ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและกระตุ้นให้คนไทยตระหนักและหวงแหนทรัพยากรป่าไม้อัน จะเป็นหนทางนำไปสู่การอนุรักษ์และรู้จักการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ อย่างคุ้มต่า เพื่อเก็บรักษาไว้ให้ลูกหลานต่อไปในอนาคต


  กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฎิบัติในวันต้นไม้แห่งชาติ
       1. จัดนิทรรศการ เอกสารเผยแพร่คุณประโยชน์และความสำคัญของป่าไม้ รวมทั้งการอนุรักษ์
       2. ร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับวันต้นไม้แห่งชาติ ซึ่งจัดโดยภาครัฐบาล หรือเอกชนต่างๆ เช่นปลูกต้นไม้ การป้องกันไฟป่า ฯลฯ
        คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน 7

        วัน วิสาขบูชา เป็นวันที่มีความสำคัญอีกวันหนึ่งในพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุการณ์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าถึง 3 ประการด้วยกันคือ
       1. เป็นวันประสูติ เมื่อพระนางสิริมหามายาอัครมเหสีในพระเจ้าสุโททะนะ ทรงมีพระประสูติกาลคือ เจ้าชายสิทธัตถะ ณ ป่าลุมพินีวัน ซึ่งเป็นดินแดนระหว่างกรุงกบินลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล ครั้งนั้นตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ ก่อนพุทธศักราช 80 ปี
       2. เป็นวันตรัสรู้ หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะทรงถือเพศฆราวาสมา 29 พรรษา จนมีพระโอรสคือ พระราหุล แล้วทรงเบื่อหน่ายทางโลก จึงเสร็จออกบรรพชา ทรงประจักษ์หลักธรรมขึ้นในพระปัญญษ และได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยสมบูรณ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ปัจจุบันอยู่ที่เมืองคยา แคว้นพิหาร ประเทศอินเดีย ตรงกับวันพุธ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา ก่อนพุทธศักราช 45 ปี ขณะนั้นพระพุทธองค์มีพระชนม์มายุได้ 35 พรรษา
       3. วันปรินิพพาน หลังจากพระพุทธเจ้าองค์ทรงใช้เวลาทั้งหมดเผยแพร่พระศาสนาและสั่งสอนธรรมแก่ ประชาชน จนพระชนมายุได้ 80 พรรษาก็เสร็จดับขันธปรินิพาน ณ สาลวโนทยาน แขวงเมืองกุสินารา ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ก่อนพุทธศักราช 1 ปี
        นับ ว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง 3 เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกัน นับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิต ได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ   พระปัญญาธิคุณ   และพระบริสุทธิคุณ   ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก

        วันวิสาขบูชานี้ ปรากฏตามหลักฐานว่า ได้มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ซึ่งสันนิษฐานว่า คงจะได้แบบอย่างมาจากลังกา กล่าวคือ เมื่อประมาณ พ.ศ. 420 พระเจ้าภาติกุราช กษัตริย์แห่งกรุงลังกา ได้ประกอบพิธีวิสาขบูชาอย่างมโหฬาร เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา กษัตริย์ลังกาในรัชกาลต่อ ๆ มา ก็ทรงดำเนินรอยตาม แม้ปัจจุบันก็ยังถือปฏิบัติอยู่
        สมัย สุโขทัยนั้น ประเทศไทยกับประเทศลังกามีความสัมพันธ์ด้านพระพุทธศาสนาใกล้ชิดกันมาก เพราะพระสงฆ์ชาวลังกาได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่พระพุทธศาสนา และเชื่อว่าได้นำการประกอบพิธีวิสาขบูชามาปฏิบัติในประเทศไทยด้วย ในหนังสือนางนพมาศได้กล่าวบรรยากาศการประกอบพิธีวิสาขบูชาสมัยสุโขทัยไว้ พอสรุปใจความได้ว่า " เมื่อถึงวันวิสาขบูชา พระเจ้าแผ่นดิน ข้าราชบริพาร ทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ตลอดทั้งประชาชนชาวสุโขทัยทั่วทุกหมู่บ้านทุกตำบล ต่างช่วยกันทำความสะอาด ประดับตกแต่งพระนครสุโขทัยเป็นการพิเศษ ด้วยดอกไม้ของหอม จุดประทีปโคมไฟแลดูสว่างไสวไปทั่วพระนคร เป็นการอุทิศบูชาพระรัตนตรัย เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
        พระ มหากษัตริย์ และบรมวงศานุวงศ์ ก็ทรงศีล และทรงบำเพ็ญพระราชกุศลต่างๆ ครั้นตกเวลาเย็น ก็เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และนางสนองพระโอษฐ์ตลอดจนข้าราชการทั้งฝ่ายหน้า และฝ่ายใน ไปยังพระอารามหลวง เพื่อทรงเวียนเทียนรอบพระประธาน
        ส่วน ชาวสุโขทัยชวนกันรักษาศีล ฟังธรรมเทศนา ถวายสลากภัต ถวายสังฆทาน ถวายอาหารบิณฑบาต แด่พระภิกษุ สามเณรบริจาคทรัพย์แจกเป็นทานแก่คนยากจน คนกำพร้า คนอนาถา คนแก่ คนพิการ
        บาง พวกก็ชวนกันสละทรัพย์ ปล่อยสัตว์ 4 เท้า 2 เท้า และเต่า ปลา เพื่อชีวิตสัตว์ให้เป็นอิสระ โดยเชื่อว่าจะทำให้คนอายุยืนยาวต่อไป "
        ใน สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยอำนาจอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ เข้าครอบงำประชาชนคนไทย และมีอิทธิพลสูงกว่าอำนาจของพระพุทธศาสนา จึงไม่ปรากฎหลักฐานว่า ได้มีการประกอบพิธีบูชาในวันวิสาขบูชา
        จนมา ถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (พ.ศ. 2360) ทรงดำริกับสมเด็จพระสังฆราช (มี) สำนักวัดราชบูรณะ มีพระราชประสงค์จะให้ฟื้นฟู การประกอบพระราชพิธีวันวิสาขบูชาขึ้นใหม่โดย สมเด็จพระสังฆราช ถวายพระพรให้ทรงทำขึ้น เป็นครั้งแรกในวันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 พ.ศ. 2360 และให้จัดทำตามแบบอย่างประเพณีเดิมทุกประการ เพื่อมีพระประสงค์ให้ประชาชนประกอบการบุญการกุศลเป็นหนทางเจริญอายุ และอยู่เญ็นเป็นสุขปราศจากทุกข์โศกโรคภัย และอุปัทวันตรายต่างๆ โดยทั่วหน้ากัน
        ฉะนั้น การประกอบพิธีในวันวิสาขบูชาในประเทศไทย จึงได้รื้อฟื้นให้มีขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และถือปฏิบัติมาจวบจนกระทั่งปัจจุบัน
        การ จัดงานเฉลิมฉลองในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่กว่าทุกยุคทุกสมัย คงได้แก่การจัดงานเฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา พ.ศ.2500 ซึ่งทางราชการเรียกว่างาน " ฉลอง 25 พุทธศตวรรษ " ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 18 พฤษภาคม รวม 7 วัน ได้จัดงานส่วนใหญ่ขึ้นที่ท้องสนามหลวง ส่วนสถานที่ราชการ และวัดอารามต่างๆ ประดับธงทิวและโคมไฟสว่างไสวไปทั่วพระราชอาณาจักร ประชาชนถือศีล 5 หรือศีล 8 ตามศรัทธาตลอดเวลา 7 วัน มีการอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์รวม 2,500 รูป ประชาชน งดการฆ่าสัตว์ และงดการดื่มสุรา ตั้งแต่วันที่ 12 ถึง 14 พฤษภาคม รวม 3 วัน มีการก่อสร้าง พุทธมณฑลจัดภัตตาหาร เลี้ยงพระภิกษุสงฆ์วันละ 2,500 รูป ตั้งโรงทานเลี้ยงอาหารแก่ประชาชน วันละ 200,000 คน เป็นเวลา 3 วัน ออกกฎหมาย สงวนสัตว์ป่าในบริเวณนั้น รวมถึงการฆ่าสัตว์ และจับสัตว์ในบริเวณวัด และหน้าวัดด้วย และได้มีการปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ อย่างพร้อมเพรียงกัน เป็นกรณีพิเศษ ในวันวิสาขบูชาปีนั้นด้วย
        ปัจจุบัน เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการ ราชการหยุด 1 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ปล่อยนก ปล่อยปลา หรือไปบำเพ็ญกุศล ถวายสังฆทานที่วัด รับศีล ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล อุโบสถ ในตอนเข้า ครั้งถึงเวลาเย็นหรือกลางคืน ก็นำดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสักการะมาชุมนุมรอบพระอุโบสถ หรือเจดีย์ที่ทางวัดกำหนดจัดพิธีไว้ ไหว้พระสวดมนต์คารวะพระรัตนตรัยแล้วก็ทำการประทักษิณ คือ ประนมมือถือดอกไม้ ธุปเทียน เดินเวียนรอบพุทธสัญลักษณ์ พลางเปล่งวาจาสรรเสริญพระคุณจนครบ 3 รอบ จากนั้นก็อาจมีพระธรรมเทศนาเรื่องปฐมสมโพธิ ซึ่งเป็นพระพุทธประวัตินับแต่ตอนวิวาหมงคล ระหว่างพระเจ้าสิริสุทโธทนะ กับพระนางสิริมหามายา จนถึงพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพาน

        ทาง ราชการประกาศชักชวนให้ประชาชน และหน่วยงานต่างๆ ทั้งเอกชน และราชการประดับตกแต่งอาคารสถานที่ด้วย ธงชาติธงเสมาธรรมจักรจุดประทีบโคมไฟ แต่โดยทางปฎิบัติแล้ว ใช้หลอดไฟประดับหลากสี ในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 6พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จประกอบพระราชกุศล ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงบาตร ในตอนเช้า ในตอนเย็น ทรงนำเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ และสดับพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถ พร้อมทั้งถวายไทยธรรม
         จัดงานส่งเสริมพระพุทธศาสนาที่บริเวณท้องสนามหลวงเป็นประจำทุกปี แต่ละปีมีกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา หลากหลายหน่วยงาน ทั้งทางราชการ และเอกชนทั้งฝ่ายบรรพชิต และคฤหัสถ์ ร่วมกันจัดงานอันยิ่งใหญ่สร้างความศรัทธา ให้แก่พุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล มีการทำบุญตักบาตร ให้ทานรักษาศีลฟังธรรม สนทนาธรรม เวียนเทียน เจริญภาวนา เป็นที่ประทับใจยิ่งนัก
        สถานที่จัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชาที่ยิ่งใหญ่อีกแห่งหนึ่งก็ คือ ณ บริเวณพุทธมณฑล ซึ่งมีหน่วยงานกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธการร่วมกับประชาชนทั่วไป ได้จัดกิจกรรมปฎิบัติธรรมทั้งฝ่าย พระสงฆ์ และฆวาส มีจำนวนหลายหมื่นได้ ร่วมทำบุญตักบาตรให้ทานรักษาศีล ฟังธรรม สนทนาธรรม และเจริญภาวนาแผ่เมตตาถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ ๗๒ พรรษา และในวันวิสาขบูชา ณ บริเวณพุทธมณฑลนี้เอง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานทรงเวียนเทียนทุกปีด้วย
        พระสงฆ์ผู้จัดรายการธรรม ทางสถานีวิทยุ เกือบทุกรายการทั่วประเทศเมื่อถึงสำคัญ คือ วันวิสาขบูชาเช่นนี้ ก็มี การประชาสัมพันธ์เชิญชวนพุทธศาสนิกชนบำเพ็ญกุศล เป็นกรณีพิเศษ คือ บรรพชาอุปสมบทนาคหมู่ และบวช เนกขัมมะ เพื่อปฎิบัติธรรมถวายเป็นพุทธบูชะ ธรรมบูชา เป็นการช่วยสนับสนุน ส่งเสริม สร้างความสงบสุขให้แก่บุคคลและสร้าง ความสามัคคีธรรมให้แก่สังคม ตลอดถึงประเทศชาติอีกด้วย
        สรุปแล้ววันวิสาขบูชาปีนี้ คงจะได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทางราชการและเอกชนตลอดทั้งผู้จัดรายการ ธรรมะ ทางสถานีวิทยุทั่วประเทศช่วยกันประชาสัมพันธ์ เชิญชวนสาธุชนผู้ศรัทธา จัดกิจกรรมปฎิบัติธรรม บำเพ็ญมหากุศลอัน ยิ่งใหญ่เป็นกรณีพิเศษเหมือนที่เคยปฎิบัติมาทุกๆ ปี


        1. ความกตัญญู
        คือความรู้อุปการคุณที่มีผู้ทำไว่ก่อน เป็นคุณธรรมคู่กับความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่น ทำไว้นั้น
        บิดามารดา มีอุปการคุณแก่ลูก ในฐานะผู้ให้กำเนิดและเลี้ยงดูจนเติบโต ให้การศึกษาอบรมสั่งสอน ให้เว้นจากความชั่ว มั่นคงในการทำความดี เมื่อถึงคราวมีคู่ครองได้จัดหาคู่ครองที่เหมาะสมให้ และมอบทรัพย์สมบัติให้ไว้เป็นมรดก
        ลูกเมื่อรู้อุปการะคุณที่บิดามารดาทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการประพฤติตัวดี สร้างชื่อเสียงให้ แก่วงศ์ตระกูล เลี้ยงดูท่าน และช่วยทำงานของ ท่าน และเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่าน
         ครูอาจารย์มีอุปการคุณแก่ศิษย์ ในฐานะเป็นผู้ประสาทความรู้ให้ ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี สอนศิลปวิทยาให้อย่าง ไม่ปิดบังยกย่องให ้ปรากฎแก่คนอื่น และช่วยคุ้มครองให้ศิษย์ทั้งหลาย
        ศิษย์เมื่อรู้อุปการคุณที่ครูอาจารย์ทำไว้ ย่อมตอบแทนด้วยการตั้งใจเรียน ให้เกียรติ และให้ความเคารไม่ล่วงละเมิด โอวาทของครู
        ความกตัญญูและความกตเวทีนี้ ถือว่าเป็นเครื่องหมายของคนดี ส่งผลให้ครอบครัว และสังคมมีความสุขได้เพราะ บิดามารดาจะรู้จักหน้าที่ของตนเอง ด้วยการทำอุปการคุณให้ก่อน และลูกก็จะรู้จักหน้าที่ของตนเองด้วยการทำดีตอบแทน
        นอกจากบิดากับลูก และครูอาจารย์กับศิษย์แล้ว คุณธรรมข้อนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้แม้ระหว่าง นายจ้างกับลูกจ้าง อันจะส่งผลให้สังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข
        ในทางพระพุทธศาสนาพระพุทธเจ้า ทรงเป็นบุพการรีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนา และทรงสอนทางพ้นทุกข์ ให้แก่เวไนยสัตว์
        พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชาและปฎิบัติบูชากล่าวคือการจัดกิจกรรม ในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ต่อพระองค์ด้วยการทำนุ บำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาและประพฤติปฎิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนาสืบไป

2. อริยสัจ 4
         อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ หมายถึงความจริงของชีวิตที่ไม่ผันแปร เกิดมีได้แก่ทุกคน มี 4 ประการ
        1. ทุกข์ ความลำบาก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
         ทุกข์ ได้แก่ปัญหาของชีวิตพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ก็เพื่อให้ทราบว่ามนุษย์ทุกคนมีทุกข์เหมือนกัน ทั้งทุกข์ขั้นพื้นฐานและทุกข์เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน ทุกข์ขั้นพื้นฐานคือทุกข์ที่เกิดจาก การเกิด การแก่ และการตาย ส่วนทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตประจำวัน คือทุกข์ที่เกิด จากการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากการประสบกันสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ทุกข์ที่เกิดจากไม่ได้ตั้งใจปรารถนา รวมทั้งทุกข์ที่เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อาทิความ ยากจน
        2. สมุทัย เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
        สมุทัย คือ เหตุแห่งปัญหาพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์ทั้งหมดซึ่งเป็นปัญหาของชีวิตล้วนมีเหตุให้เกิดเหตุนั้น คือ ตัญหา อันได้แก่ความอยากได้ต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วยความยึดมั่น
        3. นิโรธ ความดับทุกข์
        นิโรธ คือ การแก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็เพื่อให้ทราบว่า ทุกข์คือปัญหาของชีวิต ทั้งหมดที่สามารถแก้ไขได้นั้นต้องแก้ไขตามทางหรือวิธีแก้ 8 ประการ(ดูมัชฌิมาปฎิปทา)
        4. มรรค ข้อปฏิบัติให้เกิดความดับแห่งทุกข์

3. ความไม่ประมาท
        ความ ไม่ประมาทคือ การมีสติเสมอทั้ง ขณะทำขณะพูด และขณะคิด สติคือการระลึกได้ ในภาคปฎิบัติเพื่อนำ มาใช้ ในชีวิตประจำวัน หมายถึง การระลึกรู้ทันการเคลื่อนไหว ของอริยาบท ๔ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน
        การฝึกให้เกิดสติทำได้โดยตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของอริยา บท กล่าวคือ ระลึกทันทั้งในขณะ ยืน เดิน นั่ง และนอน รวมทั้ง ระลึกรู้ทัน ในขณะพูดคิด และขณะทำงานต่างๆ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความไม่ประมาท
        การทำงานต่างๆ สำเร็จได้ก็ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือผู้ทำย่อมต้องมีสติระลึกรู้อยู่ว่า ตนเองเป็นใครมีหน้าที่อะไร และกำลังทำอย่างไร หากมีสติระลึกรู้ได้อย่างนั้น ก็ย่อมไม่ผิดพลาด
 
   วันพืชมงคล (อังกฤษ: Royal Ploughing Ceremony) เป็นวันสำคัญที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย มีการจัดพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพระราชพิธีโบราณ สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคล และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีนี้กระทำที่ท้องสนามหลวง
ทางราชการกำหนดให้วันพืชมงคลเป็นวันเกษตรกร และกำหนดให้วันนี้เป็นวันหยุดราชการ ยกเว้นธนาคารและบริษัทเอกชนบางแห่งไม่หยุดทำการ วันพืชมงคลจะไม่ตรงกับวันเดิมตามสุริยคติหรือจันทรคติของทุกปี แต่สำนักพระราชวังจะเป็นผู้ประกาศวันพืชมงคล ให้เป็นวันใดวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม แล้วแต่ในแต่ละปี


               พระราชพิธิพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีกรรม 2 พิธีที่กระทำร่วมกัน คือ พิธีพืชมงคล กับพิธีแรกนาขวัญ
    พิธีพืชมงคลแรกนาขวัญ เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ้าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงาม
    พิธีแรกนาขวัญ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหวานเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว
    พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณ ในหนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กล่าวถึงพระราชพิธีแรกนาขวัญไว้ดังนี้

              การ แรกนาที่ต้องเป็นธุระของผู้ซึ่งเป็นใหญ่ในแผ่นดินเป็นธรรมเนียมโบราณ เช่น ในเมืองจีนเมื่อสี่พันปีล่วงมาแล้ว พระเจ้าแผ่นดินก็ทรงไถนาเองเป็นคราวแรก ส่วนจดหมาย ส่วนจดหมายเรื่องราวอันใดในประเทศสยามนี้ ที่ปรากฏอยู่ในการแรกนานี้ก็มีอยู่เสมอ ด้วยการนี้ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินทำเองเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ราษฎร ชักนำให้มีความมั่นใจในการทำนา เพราะเป็นสิ่งสำคัญจะได้เลี้ยงชีวิตทั่วหน้า
              การแรกนาขวัญในกรุงเทพ นี้ มีเสมอมาตั้งแต่รัชกาลไม่ได้ยกเว้น แต่ถือเป็นตำแหน่งเจ้าพระยาพลเทพคู่กับยืนชิงช้า เจ้าพระยาพลเทพแรกนายืนชิงช้าผู้เดียว ไม่ได้ผลัดเปลี่ยน ครั้นต่อมาภายหลังเมื่อเจ้าพระยาเทพพลป่วย ก็โปรดให้พระยาประชาชีพแทนบ้าง
              ในครั้งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เกือบตกเป็นธรรมเนียมว่าผู้ใดยืนชิงช้าผู้นั้นเป็นผู้แรกนาด้วย
              ครั้นมาในสมัยสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรแรกนาที่ทุ่งส้มป่อยครั้งหนึ่ง ภายหลังโปรดให้มีการแรกนาที่กรุงเก่าและที่เพชรบุรี และทรงเพิ่มพิธีสงฆ์นอกเหนือจากเมื่อก่อน มีเฉพาะพิธี เมื่อทรงเพิ่มพิธีสงฆ์ในพระราชพิธีต่าง ๆ จึงได้เพิ่มในจรดพระนังคัลแรกนาขวัญนี้ด้วย แต่ยกเป็นพิธีหนึ่งตากหากเรียกว่าพืชมงคล พราหมณ์ และทรงสร้างหอพระเป็นที่ไว้พระคันธารราษฏร ์ เมื่อโปรดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลขึ้น จึงได้มีนางเทพีสี่คน จัดเจ้าจอมเถ้าแก่ที่มีทุนรอนพาหนะพอจะแต่งตัวและที่เครื่องใช้ไม้สอย ติดตามไปหาบกระเช้าข้าวโปรย เมื่อวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล ก็ให้ฟังสวดพร้อมด้วยพระยาแรกนาและให้มีการราชบัณฑิตเชิญพระเต้าเทวบิฐ ซึ่งเป็นพระเจ้าเกิดในสมัยรัชกาลนั้นประพรมที่แผ่นดินนำหน้าพระยาที่แรกนา
    พระราชพิธีนี้ ในเวลาบ่ายวันที่จะสวดมนต์ก็มรกระบวนการแห่พระพุทธรูป ออกไปจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม .........................พระราชพิธีจรดพระนังคัล เริ่มแต่บ่ายวันสวดมนต์พระราชพิธีพืชมงคล มีกระบวนแห่ๆ พระเทวรูปพระอิศวร 1 พระอุมาภควดี 1 พระนารายณ์ 1 พระมหาวิฆเนศวร 1 พระพลเทพแบกไถ 1 กระบวนแห่ มีธง มีคู่แห่เครื่องสุงกลองชนะ คล้ายกันกับที่แห่พระพุทธรูป เป็นแต่ลดหย่อนลงมาบ้าง ออกจากพระบรมมหาราชวังไปทางบก เข้าโรงพิธีทุ่งสัมป่อยหน้าหลวง เวลาค่ำพระมหาราชครูพิธีทำการพระราชพิธีเหมือนอย่างพิธีทั้งปวง วันรุ่งขึ้นเวลาตั้งแต่เช้า กระบวนแห่ต่าง ๆ พระยาผู้แรกนา กำหนดเกณฑ์คนเข้ากระบวนแห่ 500 กระบวน เมื่อถึงโรงพระราชพิธีเข้าจุดเทียนบูชาพระพุทธรูป แล้วตั้งจิตอธิษฐานจับผ้า 3 ผืน เมื่อจับได้ผ้าผืนใดก็นุ่งผ้าผืนนั้น นุ่งอย่างบ่าวขุนออกไปแรกนา มีราชบัญฑิตคนหนึ่ง เชิญเต้าเทวบิฐประน้ำพระพุทธมนต์ไปหน้า พราหมณ์เชิญพระพลเทพคนหนึ่งเป่าสังฆ์ 2 คน พระยาจับยามไถ พระมหาราชครูพิธียืนประตักด้านหุ้มแดงไถดะ ไปโดนรี 3 รอบ แล้วไถแปรโดยกว้าง 3 รอบ นางเทพีทั้งสี่จึงหาบกระเช้าข้าวปลูก กระเช้าทอง 2 คน กระเช้าเงิน 2 คน ออกไปให้พระยาโปรยหว่านข้าว และไถกลบอีกสามรอบ หลังจากนั้นปลดพระโคออกกินเลี้ยงของเสี่ยงทาย 7 สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า ถ้าพระโคกินสื่งใดก็จะมีคำทำนาย
               การเกษตรกรรมนับว่ามีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษย์อย่างมาก เพราะธัญญาหารที่บรรดาเหล่าเกษตรกรปลูกได้ในแต่ละปี ถูกนำมาใช้เป็นอาหาร ดัดแปลงเป็นอุปโภคต่าง ๆ เช่น ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค
              วันพืชมงคล เป็นวันที่จัดขึ้นเพื่อเกี่ยวกับการเพาะปลูก เนื่องจากเห็นความสำคัญของการเมล็ดพืชพันธุ์อันเป็นปัจัจัยสำคัญต่อวิถีการ ผลิตแบบพึ่งพิงธรรมชาติ นอกเหนือจาการมีแผนดินที่อุดมสมบูรณ์ น้ำฝนที่มีปริมาณเพียงพอ และปัจจัยอื่น ๆ แล้ว หากได้เมล็ดพืชพันธุ์ที่ได้รับการเลือกสรร รวมทั้งเกษตรกรมีขวัญกำลังใจ มีความเชื่อมั่นในการลงทุนเพาะปลูก ทางราชการหรือผู้ปกครองตนให้การดูแลเอาใจใส่ การเกษตรของประเทศจะพัฒนามากยิ่งขิ้น
              ด้วยเหตุนี้ ทุกปีทางราชการจึงจัดให้มีพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญขึ้น โดยกำหนดในเดือนพฤษภาคม ของทุกปี

    พระ ราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญในปัจจุบันได้ดำเนินตามแบบอย่างโบราณราช ประเพณี เว้นแต่บางอย่างได้มีการดัดแปลงให้เหมาะสมกับกาลสมัย อาทิ พิธีของพราหมณ์ก็มีการตัดทอนให้เหลือน้อยลง พระยาแรกนาขวัญก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรพระราชพิธีทุกปี มีข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทูตานุฑูต และประชาชนจำนวนมากมาชมการแกรนาขวัญ
    เมื่อเสร็จพิธี ประชาชนจะพากันแย่งเก็บเมล็ดข้าว นำไปผสมกับพันธุ์ข้าวที่ปลูกหรือเก็บไว้เป็นถุงเงินเพื่อความเป็นสิริมงคล

    หมายเหตุ วันพืชมงคลในแต่ละปีจะไม่ตรงกัน
    กิจกรรมต่าง ๆ ที่ควรกระทำในวันพืชมงคล
    1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
    2. จัดนิทรรศการ แสดงประวัติความเป็นมา และความสำคัญของวันพืชมงคลรวมทั้งพระราชพิธีนังคัลแระนาขวัญ


แหล่งอ้างอิง
    ธนากิต เรียบเรียง. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ปิรามิด,2541



ความสำคัญ
       วัน ฉัตรมงคล เป็นวันที่ระลึกในการครบรอบปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงรับพระบรมราชาภิเษกเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยโดยสมบูรณ์ คือพระองค์ได้ขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2489 แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาอยู่ ณ ทวีปยุโรป จนกระทั่งทรงบรลุ นิติภาวะแล้วจึงได้เสร็จนิวัติประเทศไทย และรัฐบาลไทยได้น้อมเกล้าฯ จักพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวาย เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2493 เหล่าพสกนิกรชาวไทย ได้ถือเอาวันที่ 5 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันฉัตรมงคลรำลึก

พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก
1. ขั้นเตรียมงานพระราชพิธี เริ่มตั้งแต่พิธีตักน้ำ และทำพิธีเสกน้ำ ณ เจดีย์สถานสำคัญจากสถานที่ตักน้ำ ก่อนที่จะส่งเข้ามาทำพิธีต่อไปในพระนคร น้ำที่เสกนี้ใช้สำหรับถวายสำหรับถวายเป็น น้ำอภิเษก และสรงมุรธาภิเษก โดยมีระเบียบกำหนดให้ใช้น้ำจากแม่น้ำ 5 สาย ได้แก่ แม่น้ำคงคา ยมนา อิรวดี มหิ และสรภู ในชมพูทวีป หรือที่เรียกว่า "ปัญจมหานที" แต่เนื่องจากประเทศไทยอยู่ห่างจากชมพูทวีปมาก ไม่สะดวกในการเดินทาง จึงเปลี่ยนมาใช้น้ำจากแม่น้ำ18 แห่ง จากภายในพระราชอาณาจักรแทน นอกจากนี้ยังมีพิธีจารึกดวงพระราชสมภพในพระสุพรรณบัฏ และแกะพระราชสัญจกร
2.พิธีเบื้องต้น เริ่มตั้งแต่ตั้งนำวงด้าย จุดเทียนชัย และเจริญพระพุทธมนต์
3. พระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก เริ่มจากสรงมุรธาภิเษก ต่อจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปประทับเหนือพระ ที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และพราหมณ์นั่งประจำทิศทั้ง 8 กล่าวคำถวายพระพรชัยมงคล และถวายดินแดนให้อยู่ในความคุ้มครองของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นทรงรับน้ำอภิเษก ขึ้นสู่พระที่นั่งภัทรบิฐพระราชอาสน์องค์ใหม่ พระมหาราชครูเริ่มร่ายเวทย์พิธีพราหมณ์เมื่อร่ายเวทย์เสร็จแล้วจึงกราบทูล เชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวลงพระปรมาภิไธย ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ คือ เครื่องหมายแสดงความเป็นพระมหากษัตริย์ ได้แก่พระมหาพิชัยมงกุฎ พระแสงขรรค์ชัยศรี ธารพระกร วาลวิชนี ฉลองพระบาทเมื่อทรงรับพระมหาพิชัยมงกุฎมาสวมพระเศียร เจ้าพนักงานจะประโคมดนตรี ทหารยิงปืนใหญ่ พระสงฆ์เคาะระฆัง และสวดชัยมงคลคาถาทั่วพระราชอาณาจัก หลังจากนั้นพราหมณ์ถวายพระแสงศาสตราวุธเป็นอันเสร็จพระราชพิธีพระบรม ราชาภิเษก
4. พิธีเบื้องปลาย เมือเสร็จพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกแล้ว จะเสด็จออก ณ มหาสมาคม เพื่อให้เหล่าข้าราชการ และประชาชนได้ถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวโรกาสทรงเข้าพระราชพิธีพระบรม ราชาภิเษก และตั้งแต่รัชกาลที่ 7 เป็นต้นมา ได้มีพระราชพิธีประกาศสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินี นอกจากนั้นเสร็จพระราชดำเนินเพื่อประกาศพระองค์เป็นศาสนูปถัมภกษัตริยาธิราช เจ้า ในพระบรมมหาราชวัง
5. เสด็จเยี่ยมราษฎร เมื่อทรงเสร็จพระราชพิธีต่างๆ ที่เกี่ยงข้องแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนิน ให้ราษฎรได้มีโอกาสชมพระบารมี

การจัดพระราชพิธีเฉลิมฉลองวันฉัตรมงคลในอดีต


       แต่ เดิมเป็นงานพิธีเฉลิมฉลองของเจ้าพนักงานในพระราชฐานที่มีหน้าที่รักษา เครื่องราชชูปโภคและพระทวารประตูวัง ได้จัดการสมโภชสังเวยเครื่องราชูปโภคที่ตนรักษาทุกปีในหกเดือน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำดิว่า ในอารยประเทศย่อมนับถือว่า วันคล้ายวันบรมราชาบรมราชาภิเษกเป็นวันมงคลสมัยควรเฉลิมฉลอง จึงทรงริเริ่มวันฉัตรมงคลขึ้นแต่เนื่องจากเป็นธรรมเนียมใหม่อธิบายใหฟังก็ ไม่เข้าใจ เผอิญวันบรมราชาภิเษกไปตรงกับวันสมโภชเครื่องราชูปโภคที่มีแต่เดิม จึงทรงอธิบายว่า ฉัตรมงคลเป็นวันสมโภชเครื่องราชูปโภคทำให้ไม่มีใครติดใจสงสัย
        พระบาทสมเด็จพระจอมเจ้าอยู่หัวได้ มีการเฉลิมฉลองโดยนิมนต์พระสงฆ์มาสวดเจริญพุทธมนต์ในวันขึ้น 13 ค่ำเดือน 6 รุ่งขึ้นมีการถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทด้วยเหตุ นี้จึงถือว่า การเฉลิมฉลองพระราชพิธีฉัตรมงคลเริ่มมีในรัชกาลของพระบาลสมเด็จพระจอมเจ้า เจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก
       ในสมัยรัชกาลที่ 5 วันบรมราชาภิเษกตรงกับเดือน 12 จะโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานฉัตรมงคลในเดือน 12 ก็ไม่มีผู้ใหญ่ท่านใดยินยอม จึงทรงแก้ไขด้วยการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยตราจุลจอมเกล้าสำหรับตระกูลขึ้น ให้มีพระราชทานตรานี้ตรงตรงกับวันคล้ายบรมราชาภิเษก ท่านผู้หลักผู้ใหญ่จึงยินยอมให้เลื่อนงานฉัตรมงคลมาตรงกับวันบรมราชาภิเษก แต่ยังให้รักษาประเพณีสมโภชเครื่องราชูโภคอยู่ตามเดิม รูปงานวันฉัตรมงคลจึงเป็นดังนี้จนถึงปัจจุบัน

การจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน
       ใน ขั้นตอนการจัดงานวันฉัตรมงคลในปัจจุบัน มักกำหนดให้เป็น 3 วัน คือ วันที่ 3 พฤษภาคม มีงานบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุประทาน คือ พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่พระบรมราชบุพการี ซึ่งเป็นพิธีสงฆ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ซึ่งในวันนี้ได้เพิ่มพระราชพิธีตรึงหมุดธงชัยเฉลิมพลที่จะพระราชทานแก่หน่วย ทหารบางหน่วยเข้าไว้ด้วย
       ในวัน ที่ 4 พฤษภาคม เป็นวันเริ่มพระราชพิธีฉัตรมงคล เจ้าพนักงานจะได้อัญเชิญเครื่องราชกกุธภัณฑ์ขึ้นประดิษฐานบนพระแท่นใต้พระ มหาปฎลเศวตฉัตร พระครูหัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีฉัตรมงคล แล้วทรงสดับพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
       ในวัน ที่ 5 ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ทรงบูชาเครื่องกกุธภัณฑ์ พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช พระมหาเศวตฉัตรและราชกกุธภัณฑ์
       ตอนเย็น พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าแก่ผู้มีความดีความชอบ แล้วเสด็จนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และถวายบังคมพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ปราสาทพระเทพ บิดร เป็นเสร็จพระราชพิธี
       ในวันฉัตรมงคลสำนักพระราชวังได้เปิดปราสาทหลายแห่งให้ประชาชนได้เข้าชมและถวายบังคม
       งานพระ ราชพิธีฉัตรมงคล เป็นเครื่องหมายยืนยันว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาครบรอบปีด้วยดีอีกวาระหนึ่ง และตลอดเวลาที่ผ่านมา พระองค์ได้ประกอบพระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์ต่อประเทศชาติ และปวงชนชาวไทยนับอเนกอนันต์
       ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ประชาชนชาวไทยจึงได้จัดให้มีการเฉลิมฉลองเนื่องในวันฉัตรมงคลเป็นประจำทุกปี
       และ เนื่องในมหามงคลสมัย ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบรอบปี 50 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2539 ทางราชการจัดงานพระราชพิธีกาญจนาภิเษก เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลยิ่ง

กิจกรรมที่ควรปฏิบัติเนื่องในวันฉัตรมงคล
       1. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการ
       2. ร่วมทำบุญตักบาตร ประกอบพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศล
       3. น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยพร้อมเพรียงกัน กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดี ถวายชัยมงคลให้ทรงพระเกษมสำราญ ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน เป็นมหามิ่งขวัญแก่พสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลยิ่งยืนนาน


           แหล่งอ้างอิง
        1. ธนากิต วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2541.
        2. ธนากิต ประเพณี พิธีมงคล และ วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก,2539.
        3. วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์,2528.
        ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานถือเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งที่ก่อให้เกิดผลผลิต พลังของผู้ใช้แรงงานจะแฝงอยู่ในผลผลิตทุกชิ้น ดังนั้นความมั่นคงก้าวหน้าหรือความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ แรงงานย่อมมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ในความเป็นจริงแล้ว ยังมีผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง ทั้งในด้านผลประโยชน์ค่าตอบแทน และสวัสดิการ ฯลฯ
        ดัง นั้นเพื่อเป็นการยกย่องและชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของแรงงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งในคุณภาพ ความเป็นอยู่ ตลอดจนสิทธิอันชอบธรรมที่ผู้ใช้แรงงานสมควรจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่าง จริงจัง รัฐบาลจึงได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปีเป็น "วันแรงงานแห่งชาติ" ตามที่คณะพรรคสังคมนิยมระหว่างชาติได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2432
        ในประเทศยุโรปส่วนมาก ก็กำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงานเช่นเดียวกัน และเรียกว่า "วันกรรมกรสากล" หรือ วันเมย์เดย์ ยกเว้น ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา ที่ถือเอาวันจันทร์แรกของเดือนกันยายนเป็นวันแรงงาน
        ในเมืองไทยเริ่มมีการจัดการบริหารแรงงานขึ้นใน พ.ศ.2475 เมื่อรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ.2475
        การบริหารแรงงาน หมายถึงการจัดสรรและพัฒนาแรงงาน คุ้มครองดูแลสภาพการทำงาน สร้างรากฐานและขบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาระการสร้างงานประกอบอาชีพ
        เพื่อ พ.ศ. 2477 ได้มีการจัดตั้งกองกรรมกรขึ้น ทำหน้าที่ด้านการจัดหางาน และศึกษาภาวะความเป็นอยู่ของคนงานทั่วไป พ.ศ.2499 รัฐบาลได้ขยายกิจการสัมพันธ์มากขึ้น และประกาศใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฉบับแรก พ.ศ.2508 และปีเดียวกันนี้ได้มีการจัดตั้งกรมแรงงานขึ้น อีกทั้งประกาศใช้พระ ราชบัญญัติกำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน ในปัจจุบันใช พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518
        ปัจจุบันการบริหารงานอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม



  1    การจัดหางาน ด้วยการช่วยเหลือคนว่างงานให้มีงานทำ ช่วยเหลือนายจ้างให้คนมีคุณภาพในการทำงาน รวบรวมเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับการทำงาน แหล่งงาน ภาวะตลาดแรงงาน

  2    งานแนะแนวอาชีพ ให้คำปรึกษาแก่เยาวชนและผู้ประสงค์จะทำงานเพื่อให้สามารถเลือกแนวทางประกอบ อาชีพเหมาะตามความถนัด ความสามารถทางร่างกาย คุณสมบัติ บุคลิกภาพและความเหมาะสมแก่ความต้องการเศรษฐกิจ
  3    การพัฒนาแรงงาน ส่งเสริมพัฒนาฝีมือแก่คนงานและเยาวชน ที่โอกาสศึกษาต่อ
  4    งานคุ้มครองแรงงาน วางหลักการและวิธีการเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน วันหยุดงาน ตลอดจนสวัสดิการต่าง ๆ
  5    งานแรงงานสัมพันธ์ ทำการส่งเสริมและสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

        ด้านกรรมกร ได้จัดตั้งกลุ่มสหภาพแรงงานขึ้นหลายกลุ่ม และรวมกันตั้งสภาองค์การลูกจ้างขึ้น ทำหน้าที่พิทักษ์สิทธิให้กับผู้ใช้แรงงาน ปัจจุบันมี 3 สภา ได้แก่
        1    สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย
        2    สภาองค์การลูกจ้างแห่งประเทศไทย
        3    สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย




แหล่งอ้างอิง :
                          สมเจตน์ มุทิตากุล. วันสำคัญของไทย กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์ ,2531
                          ธนากิต. วันสำคัญของไทย กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2541