important day thai

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น "วันสุนทรภู่ "


ในสมัยรัชกาลที่ ๑


  พระ สุนทรโวหาร หรือที่รู้จักกัน ในนามของ "สุนทรภู่" เกิดเมื่อ วันจันทร์ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือนแปด ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๓๘ ซึ่งตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชสมัยรัชกาลที่ ๑ บิดาของท่านเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง ส่วนมารดาเป็นคนกรุงเทพฯ สันนิษฐานว่าน่าจะทำหน้าที่เป็นพระนมในพระธิดาของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ภายหลังได้แยกกันอยู่โดยไม่ทราบสาเหตุและบิดาของท่านได้กลับไปอยู่ที่เมือง แกลง ทำให้สุนทรภู่ต้องอยู่กับมารดาจนเติบโตขึ้นจึงได้รับการถวายตัวเป็นข้าราช บริพารในกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขนั่นเองสุนทรภู่ได้เรียนหนังสือตั้งแต่ยัง เล็ก ณ สำนักวัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบันดังปรากฏหลักฐานที่ท่านสุนทรภู่ เขียนไว้ในนิราศสุพรรณ ตอนที่เดินทางผ่านวัดนี้เมื่อเติบใหญ่ขึ้นได้รับราชการในกรมพระคลังข้างสวน ซึ่งมีหน้าที่เก็บอากรสวน และวัดระวางแต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปอยู่ที่พระราชวังสถานพิมุขอย่างเดิม ณ ที่นี้จึงได้เกิดรักใคร่ชอบพอกับข้าราชบริพารหญิงชื่อ "จัน"จนต้องถูกลงอาญา ดังที่สุนทรภู่บรรยายไว้ในนิราศเมืองแกลงซึ่งสุนทรภู่แต่งขึ้นในคราวที่เดิน
ทาง ไปพบบิดา หลังจากเกิดเรื่องราว และพ้นโทษแล้ว ในราวปี พ.ศ.๒๓๔๙หลังจากกลับจากเมืองแกลงสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นข้าราชบริพารใน พระองค์เจ้าปฐมวงศ์และได้แต่งงานกับ "แม่จัน" คนรักสมประสงค์แต่ชีวิตคู่ของท่านมักจะมีปัญหาเสมอเพราะสุนทรภู่ชอบดื่มสุรา เมามายเป็นประจำซึ่งในเรื่องนี้สุนทรภู่เขียนไว้ในนิราศภูเขาทอง

ในสมัยรัชกาลที่ ๒

ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ชีวิตของสุนทรภู่ดีขึ้นถึงขั้นเจริญรุ่งเรืองที่สุดเพราะสุนทรภู่ได้สร้างผล งานที่แสดงถึงความเป็นยอดด้านกลอนโดยท่านเป็นกวีผู้หนึ่งที่รัชกาลที่๒ทรง โปรดมาก เนื่องจากสามารถใช้ปฏิภาณเสนอแนะบทกลอนที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นภาลัย มีพระราชประสงค์ที่จะแก้ไขกลอนที่เป็นบทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนนางสีดาผูกคอตาย ซึ่งเป็นบทพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๑ โดยที่มีเนื้อความกล่าวถึงนางสีดาจะผูกคอตายแต่หนุมานเข้าช่วยไว้ได้ทันแต่ บทพระราชนิพนธ์นั้นใช้กลอนถึง ๘ คำกลอนรัชกาลที่ ๒ ทรงเห็นว่าชักช้าเกินไป ไม่ทันการณ์จึงทรงแก้ไขใหม่เพื่อให้ดีขึ้น แต่ทรงติดขัดว่าจะพระราชนิพนธ์ต่ออย่างไรที่แสดงให้เห็นว่าหนุมานได้เข้ามา ช่วยได้อย่างทันท่วงทีซึ่งท่านสุนทรภู่ได้กราบทูลกลอนต่อได้ทันที สุนทรภู่คงจะได้แสดงถึงปรีชาญาณของท่านสนองพระเดชพระคุณอีกหลายครั้งจนในที่ สุด รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น"ขุนสุนทรโวหาร" กวีที่ปรึกษาในกรมพระอาลักษณ์ผลงานที่สร้างชื่อเสียงอีกชิ้นหนึ่งในขณะนั้น คือบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงามในขณะที่ชีวิตกำลังรุ่งโรจน์นั้น กลับต้องตกอับลงเพราะการดื่มสุราเป็นสาเหตุถึงขั้นต้องถูกลงอาญาด้วยการจำ คุกเป็นที่สันนิษฐานกันว่า "พระอภัยมณี" ได้เกิดขึ้นในขณะที่ถูกจำคุกครั้งนี้เองในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗เป็นช่วงที่สุนทรภู่พ้นจากโทษแล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรง ทราบดีถึงความสามารถของท่านจึงได้โปรดเกล้าฯให้สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็นพระราชโอรสทั้ง ๓ พระองค์จนเกิดวรรณคดีสำคัญอีก ๒ เรื่องคือ สวัสดิรักษาและสิงหไกรภพ

ในสมัยรัชกาลที่ ๓

พ.ศ. ๒๓๖๗ สิ้นรัชกาลที่๒แล้ว ชีวิตของสุนทรภู่ต้องตกระกำลำบากจนถึงขั้นถูกถอดยศและต้องหนีราชภัยด้วยไม่ เป็นที่ทรงโปรดของรัชกาลที่ ๓ดังที่ท่านพรรณนาความไว้ในนิราศภูเขาทองตอนหนึ่งจากการที่ไม่ทรงโปรดสุนทร ภู่ดังหลักฐานจากการที่เมื่อมีการประชุมเหล่ากวีในสมัยนั้นเพื่อร่วมกันแต่ง คำประพันธ์จารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามซึ่งถือเป็นงานใหญ่ แต่กลับไม่มีชื่อของสุนทรภู่อยู่ด้วยเรื่องนี้สุนทรภู่ได้กล่าวไว้ในนิราศ ภูเขาทอง ช่วงที่ชีวิตตกต่ำที่สุดนั้นผู้เชี่ยวชาญกรมศิลปากรมีความเห็นว่าคงจะเป็น ช่วงปี พ.ศ.๒๓๗๑ซึ่งเป็นปีที่แต่งนิราศภูเขาทอง เพราะเนื้อหาใจความหลายตอนที่ท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาความไว้พ.ศ. ๒๓๗๒ สุนทรภู่ได้กลับมาเป็นพระอาจารย์ถวายพระอักษรแก้เจ้าฟ้ากลาง และเจ้าฟ้าปิ๋วอีกครั้งโดยท่านได้แต่งเพลงยาวถวายโอวาทถวาย ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๗๔ - ๒๓๗๕ เป็นช่วงที่สุนทรภู่บวชเป็นพระโดยจำพรรษาอยู่หลายวัดนอกจากนั้นได้ออกเดิน ทางไปเมืองต่างๆ และได้แต่งนิราศขึ้นเช่น เมืองเพชรบุรีได้แต่งนิราศเมืองเพชร วัดเจ้าฟ้าเมืองอยุธยา เพื่อเสาะหายาอายุวัฒนะ ได้แต่งนิราศวัดเจ้าฟ้านอกจากนั้นยังได้แต่ง นิราศอิเหนาซึ่งเป็นนิราศเรื่องเดียวที่ไม่ได้เขียนบันทึกการเดินทางแต่นำ เอาเรื่องอิเหนา ตอนนางบุษบาถูกลมพายุหอบและอิเหนาออกติดตามหาแต่งพรรณนาความตามแนวที่ท่าน ถนัดเพื่อถวายพระองค์เจ้าลักขณานุคุณในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๒ - ๒๓๘๓ ได้เกิดนิราศสุพรรณภายหลังจากที่ท่านเดินทางไปเมืองสุพรรณบุรีโดยนิราศ เรื่องนี้แต่งเป็นคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพนอกจากนั้นยังได้แต่งเรื่องกาพย์ พระไชยสุริยาซึ่งเป็นคำกาพย์ที่ใช้สำหรับการสอนอ่าน การผันสระและตัวสะกดมาตราต่างๆ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตำราเรียนภาษาไทยก็ได้ รวมทั้งท่านยังได้แต่งนิทานเป็นคำกลอนเรื่องสิงหไกรภพ (ตอนจบ) และเรื่องลักษณวงศ์ขึ้นอีกด้วยเช่นกัน พ.ศ. ๒๓๘๕ แต่งเรื่องรำพันพิลาป ซึ่งนักวรรณคดีเชื่อว่าท่านสุนทรภู่ได้พรรณนาเกี่ยวกับชีวิตของท่านมีผู้ เข้าใจว่าท่านเขียนขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งผลงานชิ้นสุดท้ายทั้งนี้เพราะ ท่านเกิดสังหรณ์ขึ้นมาว่าในขณะนั้นอาจจะเป็นวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของท่านอีก ทั้งยังเกิดนิมิตเป็นความฝันนอกจากรำพันพิลาปแล้วยังได้แต่งนิราศพระประธม เมื่อคราวเดินทางไปนมัสการพระปฐมเจดีย์

ในสมัยรัชกาลที่ ๔

หลัง จากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ชีวิตของท่านสุนทรภู่ได้กลับฟื้นมาดีอีกคำรบหนึ่งโดยได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหารเจ้ากรมอาลักษณ์จากองค์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวใน ช่วงชีวิตบั้นปลายของท่านกลับได้รับความเจริญรุ่งเรืองเสมือนในรัชกาลที่ ๒ และได้ทำให้เกิดผลงานขึ้นอีกหลายเรื่องได้แก่ บทละครเรื่อง อภัยนุราช เสภาพระราชพงศาวดารบทเห่เรื่องกากี พระอภัยมณี โคบุตร และบทเห่กล่อมจับระบำเพื่อถวายเป็นบทเห่กล่อมเจ้านายที่ทรงพระเยาว์ในที่สุด บั้นปลายแห่งชีวิตก็สิ้นสุดลงในปี พ.ศ. ๒๓๙๘รวมอายุได้ ๖๙ ปี ท่านสุนทรภู่ถือได้ว่าเป็นกวีสามัญชนที่สร้างผลงานอันทรงคุณค่ามากที่สุดบท กลอนของท่านได้เป็นแบบอย่างที่คนไทยยึดถือมาจนถึงปัจจุบันนี้นอกจากนั้นท่าน ยังได้ชื่อว่าเป็นกวีเอกของโลกท่านหนึ่งโดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และ วัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือที่รู้จักกันในนามของ ยูเนสโก ( UNESCO )ได้ประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ในวาระที่ครบรอบ ๒๐๐ ปีเกิดของท่าน
“ สุนทรภู่เป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก ในวาระครบ 200 ปี เกิดเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2329 ” นับว่าท่านเป็นกวีสามัญชนคนแรกที่ได้รับการประกาศ เกียรติคุณเช่นนี้
สำหรับ การประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลสำคัญของชาติต่าง ๆ ในโอกาสครบรอบวันเกิด หรือวันตายที่นับเป็นศตวรรษหรือ 100 ปีขึ้นไป ของยูเนสโกนี้ก็เพื่อเป็นการเผยแพร่เกียรติคุณ และผลงานของผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลกของชาติต่าง ๆ ให้ปรากฏแก่มวลสมาชิกทั้งโลก และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้มีส่วนร่วมในการจัดงานเฉลิมฉลองร่วมกับประเทศที่มีผู้ได้รับการประกาศ ยกย่องเพื่อก่อให้เกิดความคุ้นเคยซึ่งกันและกันโดยอาศัยบุคคลสำคัญของชาติ ต่าง ๆ เป็นสื่อกลาง โดยบุคคลนั้น ๆต้องเป็นบุคคลสำคัญของชาติที่มีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางในสากล เพื่อการพัฒนาด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม หรือสื่อสารมวลชนซึ่งในส่วนประเทศไทยยูเนสโกได้มีการประกาศยกย่องเชิดชู เกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก จนถึงปัจจุบันในปีนี้มีดังนี้ ฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อ 21 มิถุนายน 2505- ฉลองวันประสูติครบ 100 พรรษา ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เมื่อ 28 เมษายน 2506- ฉลองวันพระบรมราชสมภพ ครบ 200 พรรษา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2511- ฉลองวันพระบรมราชสมภพ ครบ 100 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2524



มีอยู่มากมาย มีทั้งที่เป็น
ประเภทนิราศ เช่น นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร ฯ
ประเภทนิทาน เช่น โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ
ประเภทบทเสภา เช่น ขุนช้างขุนแผน พระราชพงศาวดาร
ประเภทบทเห่กล่อม เช่น เห่จับระบำ เห่เรื่องพระอภัยมณี เห่เรื่องโคบุตร
คำ กลอนสอนใจให้เรารู้จักรอบคอบและระมัดระวังในการคบคน เพราะจิตใจของมนุษย์นั้น ยากที่ใครจะคาดเดาได้แม้แต่ตัวของผู้นั้นเองท่านเปรียบให้เห็นว่าแม้ เถาวัลย์จะคดโค้งอย่างไร ก็ยังเห็นไม่เหมือนใจคนและว่าน้ำใจความรักของพ่อแม่จึงจะเชื่อได้ อีกทั้งสอนว่าคนที่เราจะพึ่งพิงได้นั้นคือตัวของเรานั่นเอง
นอก จากนี้ท่านยังว่าวิชาความรู้ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้เลี้ยงชีพต่อไปได้ แต่การมีวิชาความรู้ ก็ต้องรู้จักเอาตัวรอดด้วยจึงเป็นผลดี ในประโยคหลังนี้มีหลายคนไปตีความในทางลบ กล่าวว่าผู้ที่เอาตัวรอดนั้นเป็นคนเห็นแก่ตัวแต่โดยนัยความหมายที่แท้จริง แล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะท่านหมายถึงการที่คนเราต้องรู้จักหาทางช่วยตัวเองด้วยสติปัญญาอย่าให้ อับจนหนทางต่างหาก
นอกจากนี้ยังมีสุภาษิต สำนวน คติธรรมคำสอนอีกเป็นอันมากที่เราสามารถนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างดี เช่น
โบราณ ว่าถ้าเหลือกำลังลาก จงออกปากบอกแขกช่วยแบกหามการนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดกินองค์พระปฏิมายังราคิน มนุษย์เดินดินหรือจะพ้นคนนินทาอันรักษาศีลสัตย์กัตเวที ย่อมเป็นที่สรรเสริญเจริญคนทรลักษณ์อักตัญญูตาเขา เทพเจ้าก็จะแช่งทุกแห่งหนหรืออย่างใน “สวัสดิรักษาคำกลอน” ซึ่งเป็นวรรณกรรมอีกเรื่องหนึ่งของสุนทรภู่ก็สอนถึงข้อปฏิบัติในชีวิตประจำ วัน และการพูดจาเพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ตน เช่นสอนให้ควบคุมอารมณ์ในตอนเช้าให้แจ่มใส- ว่าเช้าตรู่สุริโยอโณทัย ตื่นนอนให้ห้ามโมโหอย่าโกรธา- แล้วเอื้อนอรรถตรัสความที่ดีก่อน จะถาวรพูนเกิดประเสริฐศักดิ์- อนึ่งอย่าด่าว่าแดดแลลมฝน อย่ากังวลเร่งวันให้พลันดับ- วันกำเนิดเกิดสวัสดิ์ อย่าฆ่าสัตว์เสียสง่าทั้งราศีอายุน้อยถอยเลื่อนทุกเดือนปี แล้วมักมีทุกข์โศกโรคโรคาฯลฯ
ตัวอย่าง เหล่านี้มันเป็นส่วนน้อยนิดที่ปรากฏในผลงานของท่านสุนทรภู่หากใครสนใจก็ สามารถหาอ่านได้อย่างละเอียดในแต่ละเรื่องที่ท่านประพันธ์ไว้ซึ่งแต่เพียง แค่นี้เรายังได้เห็นถึงอัจฉริยะภาพในเชิงวรรณศิลป์ ตลอดจนเนื้อหาที่ให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ อย่างน่าทึ่งสมกับที่ท่านเป็นกวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และยูเนสโกได้ ประกาศยกย่องให้เป็น ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลก เมื่อครบปีเกิด 200 ปี วันที่ 26 มิถุนายน 2529 ที่ผ่านมา ซึ่งทุกวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปีถือเป็น “ วันสุนทรภู่ ” วันกวีไทยวันที่เราจะระลึกถึงกวีเอกของเราด้วยความภาคภูมิใจ.



ที่
ประเภท
เรื่อง
ความยาว
ปี พ.ศ.
รัชกาลที่
วัตถุประสงค์เพื่อ
กลอนนิราศ เมืองแกลง ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๕๐   ต้นปี ที่ ๑ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ พระบาท ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๕๐   ปลายปี ที่ ๑ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ ภูเขาทอง ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๗๑ ที่ ๓ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ วัดเจ้าฟ้า ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๗๕ ที่ ๓ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ อิเหนา ๑ เล่มสมุดไทย     สดุดีพระเกียรติ ร.๒
โคลงนิราศ สุพรรณ ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๗๙ ที่ ๓ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ รำพันพิลาป ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๘๕ ที่ ๓ บันทึกชีวิต
กลอนนิราศ พระประธม ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๘๕ ที่ ๓ บันทึกการเดินทาง
กลอนนิราศ เพชรบุรี ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๙๒ ที่ ๓ บันทึกการเดินทาง
๑๐ นิทานคำกลอน โคบุตร ๘ เล่มสมุดไทย ๒๓๕๖ ที่ ๑ การบันเทิง
๑๑ นิทานคำกลอน พระอภัยมณี ๙๔ เล่มสมุดไทย ๒๓๕๘ ที่ ๒ - ๓ เล่นละครนอก
๑๒ นิทานคำกาพย์ พระไชยสุริยา ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๘๓ ที่ ๓ ตำราเรียน
๑๓ นิทานคำกลอน ลักษณวงศ์ (ตอนต้น) ๙ เล่มสมุดไทย     การบันเทิง
๑๔ นิทานคำกลอน สิงหไตรภพ ๑๕ เล่มสมุดไทย ๒๓๘๓ ที่ ๒ - ๓ การบันเทิง
๑๕ กลอนบทละคร อภัยนุราช ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๙๔ ที่ ๔ การแสดงละคร
๑๖ กลอนเสภา ขุนช้าง-ขุนแผน
(ตอนกำเนิดพลายงาม)
๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๖๗ ที่ ๒ การขับเสภา
๑๗ กลอนเสภา พระราชพงศาวดาร ๒ เล่มสมุดไทย ๒๓๙๔ ที่ ๔ การขับเสภา
๑๘ สุภาษิตคำกลอน สวัสดิรักษา ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๖๗ ที่ ๒ ถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์
๑๙ สุภาษิตคำกลอน เพลงยาวถวายโอวาท ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๗๓ ที่ ๓ ถวายเจ้าฟ้ากลางและเจ้า
ฟ้าปิ๋ว
๒๐ สุภาษิตคำกลอน สุภาษิตสอนหญิง ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๘๐-๘๒ ที่ ๓ สอนสตรีทั่วไป
๒๑
๒๒
๒๓
๒๔
บทเห่กล่อม เห่ จับระบำ ๑ เล่มสมุดไทย ๒๓๙๔ ที่ ๔ ขับกล่อมพระบรรทม
พระโอรส ธิดา ในรัชกาล
ที่ ๔
เห่ กากี
เห่ พระอภัยมณี
เห่ โคบุตร


งานสร้างสรรค์ของท่านสุนทรภู่
ประเภทนิราศ
กลอน นิราศ เป็นรูปแแบบกลอนของสุนทรภู่ โดยท่านได้นำเอาวิธีการของกลอนเพลงยาว มาปรับปรุงเพิ่มเติมวิธีการบรรยายและพรรณนาสถานที่ที่ผ่านแล้วสอดแทรกบทคร่ำ ครวญ อาลัยอาวรณ์ที่ต้องพลัดพรากจากมา เช่น
 
แสนอาลัยใจหายไม่วายห่วง
  ดังศรศักดิ์ปักซ้ำระกำทรวง เสียดายดวงจันทราพงางาม
  เจ้าคุมแค้นแสนโกรธพิโรธพี่ แต่เดือนยี่นี่ก็ย่างเข้าเดือนสาม
หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า
  พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
  พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
เนื้อ ความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น
  ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
  ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า
  ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
  เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
  แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
  เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
จะ เห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลง นิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น
  ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
  โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
และ
  ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
  แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
ลักษณะ สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น
  เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
  ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
  ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
  เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
  นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง
ดัง นั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้ แต่คนเดียว


นิราศเมืองแกลง
นิราศ เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลาย อย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน
นิราศ เรื่องนี้เป็นเรื่องแรกของท่านสุนทรภู่ แต่งในปี พ.ศ. ๒๓๕๐เมื่อคราวเดินทางโดยเรือจากพระนคร และไปขึ้นบกเดินทางด้วยเท้าต่อไปถึงเมืองแกลง เพื่อไปเยี่ยมบิดาซึ่งบวชอยู่ที่ วัดบ้านกร่ำเมืองแกลง (ในเขตจังหวัดระยองปัจจุบัน)นิราศเมืองแกลงนี้พรรณนาสภาพความเป็นไปหลาย อย่างของกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ ๑ นอกจากนั้นยังจะบรรยาย และพรรณนาถึงสภาพบ้านเมืองตามหัวเมืองแถบชลบุรี ระยอง ทั้งยังแสดงประวัติชีวิตวัยหนุ่มอันเกี่ยวกับหญิงคนรักที่ชื่อ จัน ซึ่งเป็นภรรยาคนแรกไว้อย่างชัดเจน
  ขอให้น้องครองสัตย์ปฏิญาณ ได้พบพานภายหน้าเหมือนอารมณ์
  พอควรคู่รู้รักประจักษ์จิต จะได้ชิดชื่นน้องประคองสม
  ถึงต่างแดนแสนไกลไพรพนม ให้ลอยลมลงมาแอบแนบอุรา
  อย่ารู้จักผลักพลิกทั้งหยิกข่วน แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา แขนแต่รอยเล็บเจ็บหนักหนา
  ให้แย้มยิ้มพริ้มพร้อมน้อมวิญญาณ์ แล้วก็อย่าขี้หึงตะบึงบอน
หรือในนิราศเมืองแกลงที่สุนทรภู่ต้องจากแม่จันไปโดยมิได้ร่ำลาว่า
  พี่จากไปได้แต่รักมาฝากน้อง มากกว่าของอื่นอื่นสักหมื่นแสน
  พอเป็นค่าผ้าห่มที่ชมแทน อย่าเคืองแค้นเลยที่ฉันไม่ทันลา
เนื้อ ความในนิราศจะยกเอาสถานที่ ภูมิประเทศ หรือเหตุการณ์ หรือแม้แต่พันธุ์ไม้ที่ได้พบเห็นแล้วพรรณนา หรือบรรยายความรู้สึกถึงผู้ที่ท่านกำลัง มีจิตผูกพันอยู่ในขณะนั้น ด้วยลีลา และสำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของท่าน เช่น
  ถึงสามโคกโศกถวิลถึงปิ่นเกล้า พระพุทธเจ้าหลวงบำรุงซึ่งกรุงศรี
  ประทานนามสามโคกเป็นเมืองตรี ชื่อปทุมธานีเพราะมีบัว
หรือในนิราศพระประธมซึ่งสุนทรภู่เขียนถึงแม่นิ่ม ภรรยาอีกคนของท่านซึ่งได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยท่านพรรณนาความไว้ว่า
  ถึงคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
  เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
  แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
  เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
จะ เห็นได้ว่าวิธีการดังกล่าวนี้มีมากกว่าที่พบได้ในบทกลอนเพลงยาวหรือโคลง นิราศที่มีมาก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นสิ่งที่เราจะพบได้อีกประการหนึ่งคือ การที่สุนทรภู่กล่าวถึงภรรยาหรือคนรัก ตลอดจนสิ่งแวดล้อมทั้งในด้านที่ก่อให้เกิดความเศร้าโศกทุกข์ยาก หรือเป็นสุขนั้น ท่านได้มาจากเรื่องจริงๆของตัวท่านเองทั้งสิ้น มิใช่เป็นเรื่องปรุงแต่ง หรือสร้างขึ้นมาแต่อย่างใดดังนั้นเมื่อเราอ่านนิราศทุกเรื่องของท่าน เราจึงได้ทราบชีวประวัติของท่านไปด้วย นี่คือความดีเด่น ในด้านเนื้อหานอกจากจะแต่งกลอนด้วยความชำนาญเป็นพิเศษแล้ว ยังแฝงไว้ด้วยคติข้อคิดสุภาษิตต่างๆ ซึ่งท่านได้ยกมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจแก่ผู้อ่านอย่างมากมาย เช่น
  ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
  โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
และ
  ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
  แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจา
ลักษณะ สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ สุนทรภู่ เป็นผู้ที่มีอารมณ์สนุก บางเรื่องหรือบางเหตุการณ์ท่านได้หยิบยกขึ้นมาถ่ายทอด เราในฐานะผู้อ่านคงจะอดอมยิ้มมิได้แน่ เช่น
  เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
  ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
  ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
  เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
  นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง
ดัง นั้น นิราศ จึงเป็นผลงานในเชิงสร้างสรรค์ที่ทรงคุณค่า ที่มีรูปแบบเฉพาะของท่าน ดังจะเห็นได้จากที่ ไม่มีกวีคนใดในรุ่นหลังที่จะสามารถแต่งกลอนนิราศได้ดีเท่าท่านสุนทรภู่แม้ แต่คนเดียว

นิราศพระบาท
นิราศ เรื่องนี้แต่งขึ้นหลังจากนิราศเมืองแกลง เล่าเรื่องการเดินทางตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ ที่ผนวชเป็นพระ และได้เสด็จไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เมืองสระบุรี ทำให้ผู้อ่านสามารถรู้เรื่องราวการไปทำบุญฉลองสมโภชพระพุทธบาท อันเป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนในสมัยนั้นทั้งยังได้แสดงประวัติส่วนตัวของ ผู้แต่งด้วยว่า เมื่อได้แต่งงานกับแม่จันแล้วก็มักมีเรื่องระหองระแหงกันอยู่เสมอๆ ขณะนั้นสุนทรภู่ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็ก ในพระภิกษุพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ พระโอรสในกรมพระราชวังหลังสุนทรภู่เขียนนิราศเรื่องนี้ไว้อย่างดี การบรรยาย และพรรณนาเด่นชัดทำให้เกิดภาพพจน์ ประกอบการใช้สำนวนเปรียบเทียบชัดเจนให้ความรู้สึกกินใจแก่ผู้อ่าน เช่น
  กำแพงรอบคอบคูก็ดูลึก ไม่น่าศึกอ้ายพม่าจะมาได้
  ยังให้มันข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้อย่างไรเหมือนบุรีไม่มีชาย
  หรือธานินทร์สิ้นเกณฑ์จึงเกิดยุค ไพรีรุกรบได้ดังใจหมาย
  เหมือนทุกวันแล้วไม่คัณนาตาย ให้ใจหายหวั่นหวั่นถึงจันทร์ดวง
  พี่ดูใจภายนอกออกหนักแน่น ดังเขตแคว้นคูขอบนครหลวง
  ไม่เห็นจริงใจนางในกลางทรวง ชายทะลวงเข้ามาบ้างหรืออย่างไร

นิราศภูเขาทอง
นิราศ เรื่องนี้ท่านแต่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตอนที่ชีวิตของท่านตกอับมาก และยังบวชเป็นพระ ซึ่งเข้าใจกันว่าเป็นการบวชเพื่อหลบราชภัยที่สุนทรภู่เกรงว่าอาจจะมีมาถึง ตัวท่านก็ได้ ทำให้ต้องพรรณนาความรู้สึกนึกคิดได้อย่างถึงแก่น ประกอบกับความชำนาญในลีลาของกลอนที่มากขึ้นดังนั้นนิราศภูเขาทองนี้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดแม้ว่าจะมีความยาวไม่มาก นัก คือ ๑๗๖ คำกลอนเท่านั้นนอกจากนั้นเนื้อหายังแตกต่างไปจากนิราศเรื่องอื่นๆ เพราะไม่ได้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก ความพิศวาส แต่จะพรรณนาถึงความจริงแท้ของชีวิตมนุษย์ โดยท่านยกเอาชีวิตของท่านเป็นตัวอย่าง เพราะฉะนั้นนิราศภูเขาทองจึงเด่นด้วยปรัชญา ความคิดที่ลึกซึ้ง เช่น
  ทั้งองค์ฐานรานร้าวถึงเก้าแฉก เผยอแยกยอดทรุดก็หลุดหัก
  โอ้เจดีย์ที่สร้างยังร้างรัก เสียดายนักนึกน่าน้ำตากระเด็น
  กระนี้หรือชื่อเสียงเกียรติยศ จะมิหมดล่วงหน้าทันตาเห็น
  เป็นผู้ดีมีมากแล้วยากเย็น คิดก็เป็นอนิจจังเสียทั้งนั้น
หรืออีกตอนหนึ่งว่า
  ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง มีคันโพงผูกสายไว้ปลายเสา
  โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าให้น่าอาย
  ทำบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
  ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป

นิราศวัดเจ้าฟ้า
นิราศ เรื่องนี้แต่งขึ้นภายหลังนิราศภูเขาทอง เนื่องจากว่าขณะนั้นท่านยังเป็นพระอยู่ การจะเขียนพร่ำพรรณนาถึงความรักในเชิงโลกียวิสัยหรือแม้แต่การที่ยังเกี่ยว ข้องอยู่ด้วยอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆเป็นสิ่งอันไม่สมควรกับสมณเพศเช่นท่าน ดังนั้นท่านจึงเลี่ยงเสียโดยใช้ชื่อของ หนูพัด ซึ่งเป็นเณรบุตรชายของท่าน และได้ติดตามไปด้วยเป็นผู้แต่งขึ้น ถึงกระนั้นก็ดีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีต่างก็ลงความเห็นเหมือนๆ กันว่า เป็นสำนวนกลอนของท่านอยู่ดีนิราศวัดเจ้าฟ้านี้เป็นนิราศที่เล่าถึงเรื่องการ เดินทางไปค้นหายาอายุวัฒนะที่กรุงศรีอยุธยาตามลายแทงที่ได้มาว่ามีอยู่ที่ วัดเจ้าฟ้า ซึ่งเป็นวัดอยู่กลางทุ่งเมืองกรุงเก่า ในการเดินทางไปครั้งนั้นทำให้ต้องผจญกับเรื่องเร้นลับต่างๆและในที่สุดก็ไม่ สามารถค้นพบสิ่งที่ต้องการนั้นได้ตัวอย่างความบางตอนจากนิราศวัดเจ้าฟ้า ในตอนที่ท่านผ่านเมืองสามโคกซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญ สุนทรภู่บันทึกเรื่องราวไว้ดังนี้
  เห็นพวกชายฝ่ายมอญแต่ก่อนมา ล้วนสักขาเขียนหมึกจารึกพุง
  ฝ่ายสาวสาวเกล้ามวยสวยสะอาด แต่ขยาดอยู่ว่านุ่งผ้าถุง
  ทั้งผ้าห่มตาถี่เหมือนสีรุ้ง ทั้งผ้านุ่งนั้นก็ออมลงกรอมดิน
  เมื่อยกเท้าก้าวย่างสว่างแวบ เหมือนฟ้าแลบแลผาดแทบขาดศีล
  นี่หากเห็นเป็นเด็กเหมือนเจ๊กจีน เจียนจะปีนซุ่มซ่ามไปตามนาง

นิราศอิเหนา
นิราศ เป็นนิราศที่แต่งขึ้นจากจินตนาการของท่าน โดยอาศัยเค้าเรื่องจากบทละครเรื่องอิเหนาตอน บุษบาถูกลมพายุหอบ และอิเหนาออกติดตามค้นหา ซึ่งจะแตกต่างจากนิราศเรื่องอื่นๆ ซึ่งเกิดจากการเดินทางใช้วิธีพรรณนาเกี่ยวกับสถานที่โดยสอดแทรกความรู้สึก ของตนที่มีต่อคนรักเป็นส่วนใหญ่ แต่เรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากการเดินทางแต่อย่างใดคงใช้วิธีการให้อิเหนาที่ ต้องพลัดพรากจากนางบุษบาไปจึงพรรณนาคร่ำครวญเสียดายนางบุษบา เช่น
  จะหักอื่นขืนหักก็จักได้ หักอาลัยนี่ไม่หลุดสุดจะหัก
  สารพัดตัดขาดประหลาดนัก แต่ตัดรักนี่ไม่ขาดประหลาดใจ
คำประพันธ์บางบทแม้ว่าจะใช้คำธรรมดา แต่เมื่อสุนทรภู่ได้นำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันแล้ว ให้ทั้งอารมณ์ ความรู้สึกที่ลึกซึ้ง เช่น
  ตะลึงเหลียวเปลี่ยวเปล่าให้เหงาหงิม สุชลปริ่มเปี่ยมเหยาะเผาะเผาะผอย

นิราศสุพรรณ
เป็น นิราศเรื่องเดียวที่แต่งด้วยคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพ และเป็นหนึ่งในสองเรื่องที่ท่านมิได้แต่งด้วยกลอน (เรื่องแรกคือ กาพย์พระไชยสุริยา )รูปแบบของโคลงสี่สุภาพที่ท่านแต่งนั้นก็เป็นไปในลักษณะเฉพาะของท่านกล่าว คือ มีการเล่นสัมผัสในวรรค ทั้งสัมผัสสระ และสัมผัสอักษรเช่นเดียวกับกลอนที่ท่านถนัด เช่น
  กาเหยี่ยวเที่ยวว้าว่อน เวหา
  ร่อนร่ายหมายมัจฉา โฉบได้
ฯลฯ
  บูราณท่านว่าน้ำ สำคัญ
  ป่าต้นคนสุพรรณ ผ่องแผ้ว
  แดนดินถิ่นสุวรรณ ธรรมชาติ มาศเอย
  ผิวจึ่งเกลี้ยงเสียงแจ้ว แจ่มน้ำคำสนอง
ในนิราศสุพรรณนี้สุนทรภู่ได้เขียนรำลึกถึงความหลังเมื่อยังหนุ่ม เช่นตอนที่ท่านผ่านวัดชีปะขาว ได้เขียนไว้ว่า
  วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ แรกเรียน
  ทำสูตรสอนเสมียน สมุดน้อย
  เดินระวางระวังเวียน หว่างวัด ปะขาวเฮย
  เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทน้องกลางสวน

นิราศเมืองเพชร
นิราศ เรื่องนี้นักวรรณคดีลงความเห็นกันว่า เป็นนิราศที่มีความยอดเยี่ยมในสำนวนกลอนรองลงมาจากนิราศภูเขาทอง อาจจะเป็นเพราะความเชี่ยวชาญที่เพิ่มพูนขึ้นจากประสบการณ์ที่สั่งสมมายาวนาน นายตำรา ณ เมืองใต้ กล่าวว่า สุนทรภู่มีความชำนาญเรื่องการใช้คำอย่างยิ่ง เช่น ตอนพรรณนาถึงพวกลิงไว้ว่า
  เวทนาวานรอ่อนน้อยน้อย กระจ้อยร่อยกระจิริดจิ๊ดจิ๊ดจิ๋ว
เห็นได้ว่าท่านจัดเอาคำซึ่งแสดงว่า เล็กลงตามลำดับได้หมดหรือลีลาการเล่นสัมผัสทั้งสระและอักษร เช่น
  จนไม่มีที่รักเป็นหลักแหล่ง ต้องคว้างแคว้งควานหานิจจาเอ๋ย
  โอ้เปลี่ยวใจไร้รักที่จักเชย ชมแต่เตยแตกงามเมื่อยามโซ
ใน ขณะนี้ได้มีผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา และวรรณคดีไทยบางท่านโดยเฉพาะคณะแห่งสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และนักวิชาการของกรมศิลปากรได้เสนอแนวคิดว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นชาวเมืองเพชรบุรีดังเช่นที่ ภิญโญ ศรีจำลองได้นำเสนอเอกสารที่เกี่ยวกับนิราศเมืองเพชรซึ่งค้นพบใหม่มีเนื้อ ความแตกต่างไปจากเดิมว่า
  ทั้งโบสถ์บ้านฐานที่ยังมีอยู่ แต่ท่านผู้ญาติกานั้นอาสัญ
  เพราะกรุงแตกแยกย้ายพลัดพรายกัน จึงสิ้นพันธุ์พงศาเอกากาย
  ที่เหล่ากอหลอเหลือในเนื้อญาติ เป็นเชื้อชาติชาวเพชรบุรียังมีหลาย
  แต่สิ้นผู้ปู่ย่าพวกตายาย ญาติทั้งหลายมิได้รู้เรื่องบูราณ
นอกจากนั้นยังได้หลักฐานจากการที่สุนทรภู่นั้นเดินทางไปเพชรบุรีหลายครั้งจนมีภรรยาที่เป็นชาวเมืองเพชรด้วย

นิราศพระประธม
เป็น นิราศที่ท่านแต่งขึ้นเมื่อครั้งไปนมัสการพระปฐมเจดีย์ ซึ่งในสมัยนั้นเรียกกันว่า พระประธม นิราศเรื่องนี้สุนทรภู่ไดพยายามรำลึกถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะเรื่องความรัก ที่มีต่อหญิงหลายๆคน บางคนที่ท่านมีความผูกพันมากก็จะพร่ำพรรณนาไว้อย่างลึกซึ้ง กินใจ เช่นเมื่อเดินทางผ่านไปถึงคลองบางกรวย สุนทรภู่มีจิตระลึกถึงแม่นิ่มซึ่งภรรยาอีกคนหนึ่ง และเป็นคนในท้องที่นั้น ท่านพรรณนาไว้ว่า
  เห็นคลองขวางบางกรวยระทวยจิต ไม่ลืมคิดนิ่มน้อยละห้อยหา
  เคยร่วมสุขทุกข์ร้อนแต่ก่อนมา โอ้สิ้นอายุเจ้าได้เก้าปี
  แต่ก่อนกรรมทำสัตว์ให้พลัดพราก จึงจำจากนิ่มน้องให้หมองศรี
  เคยไปมาหาน้องในคลองนี้ เห็นแต่ที่ท้องคลองนองน้ำตา
ความ ดีเด่นของนิราศเรื่องนี้อีกประการหนึ่งคือ การใช้โวหารเปรียบเทียบได้อย่างไพเราะงดงาม และกินใจมาก เช่น ในตอนที่ท่านอธิษฐานถึงความรักต่อองค์พระปฐมเจดีย์ว่า
  แม้นเป็นไม้ให้พี่นี้เป็นนก ให้ได้กกกิ่งไม้อยู่ไพรสัณฑ์
  แม้นเป็นนารีผลวิมลจันทร์ ขอให้ฉันเป็นพระยาวิชาธร
  แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นแมลงภู่ ได้ชื่นชูเชยชมสมเกสร
  เป็นวารีพี่หวังเป็นมังกร ์ ได้เชยช้อนชมทะเลทุกเวลา
  แม้นเป็นถ้ำน้ำใจใคร่เป็นหงส์ จะได้ลงสิงสู่ในคูหา
  แม้นเนื้อเย็นเป็นเทพธิดา พี่ขออาศัยเสน่ห์เป็นเทวัญ

รำพันพิลาป
รำพัน พิลาปแม้มิได้เป็นบันทึกการเดินทางเช่นนิราศเรื่องอื่นๆแต่ผู้เชี่ยวชาญด้าน ภาษาและวรรณคดีก็จัดให้อยู่ในประเภทนิราศด้วยรำพันพิลาปนี้เป็นบันทึกเรื่อง ราวเกี่ยวกับชีวิตของท่านโดยมีมูลเหตุจากสังหรณ์บางอย่างที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นความเชื่อของคนไทยสมัยนั้น กล่าวคือ
  เงียบสงัดวัดวาในราตรี เสียงเป็ดผีหวีหวีดจังหรีดเรียง
  หริ่งหริ่งเรื่อยเฉื่อยชื่นสะอื้นอก สำเนียงนกแสกแถกแสกแสกเสียง
  เสียงแมงมุมอุ้มไข่มาใต้เตียง ตีอกเพียงผึงผึงตะลึงฟัง
จาก นั้นยังฝันไปอีกด้วย ดังนั้นเมื่อตื่นขึ้นทำให้ท่านต้องแต่งรำพันพิลาปขึ้นมาคล้ายกับเพื่อเป็น อนุสรณ์แห่งชีวิตของท่านนั่นเอง ดังเช่นเขียนไว้ว่า
  นักเลงกลอนนอนฝันเป็นสันดาน เคยเขียนอ่านอดใจไม่ใคร่ฟัง
  จะฝากดีฝีปากจะฝากรัก ด้วยจวนจักจากถิ่นถวิลหวัง
  ไว้อาลัยให้ละห้อยจงคอยฟัง จะร่ำสั่งสิ้นสุดอยุธยา
นอกจากนั้นท่านยังบรรยายถึงวัดเทพธิดาราม ซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ในขณะนั้นด้วย


ประเภทนิทาน


โคบุตร
เป็น นิทานเรื่องแรกของสุนทรภู่ แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้านายในพระราชวังหลังพระองค์หนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับ โคบุตรซึ่งเป็นลูกของพระอาทิตย์และนางอัปสร โดยฝากเลี้ยงไว้กับพญาราชสีห์ และนางไกรสร เมื่อเจริญชันษาโคบุตรซึ่งได้รับของวิเศษจากพระอาทิตย์ คือ แหวน และสังวาล และได้รับมอบใบยาวิเศษที่สามารถชุบชีวิตคนตายให้มีชีวิตได้จากราชสีห์ ต่อจากนั้นจึงเป็นเรื่องาวการผจญภัยของโคบุตร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งในตอนท้ายที่โคบุตรมีพระมเหสีสองคน คือ นางอำพันมาลา และมณีสาคร นางอำพันมาลาเห็นโคบุตรรักนางมณีสาครมากกว่าตน จึงทำเสน่ห์ให้โคบุตรหลงรัก แต่อรุณกุมารได้แก้ไขเสน่ห์ โคบุตรโกรธมากถึงกับสั่งประหาร แต่อรุณกุมารขอร้อง โคบุตรจึงขับไล่นางอำพันมาลาออกจากวัง ดังต่อไปนี้
  โฉมอำพันมาลาน้ำตาไหล เห็นชาวในพระสนมมาคับคั่ง
  ค่อยหยุดยืนฝืนองค์ทรงประทัง เหลียวมาสั่งสาวสวรรค์กำนัลใน
  จงปกป้องครองกันเป็นผาสุก อย่ามีทุกข์เศร้าสร้อยละห้อยไห้
  เรามีกรรมจำลาเจ้าคลาไคล หักพระทัยออกจากทวารา

พระอภัยมณี
ถือว่าเป็นผล งานชิ้นเอกของท่านสุนทรภู่ บางตอนท่านแต่งเพื่อหาเงินประทังชีวิตขณะที่กำลังตกยาก บางตอนก็แต่งเพื่อถวายเจ้านายที่ให้การอุปการะ พระอภัยมณีมีความยาวถึง ๖๔ ตอน เป็นนิทานที่มีเนื้อหาสนุกสนาน ตื่นเต้น เต็มไปด้วยจินตนาการของท่านสุนทรภู่ในเรื่องที่แปลกประหลาดเหนือจริง เป็นที่ถูกใจผู้ที่ได้ฟังได้อ่าน อีกทั้งบางตอนมีข้อคิดสอนใจ ปัจจุบันทางกระทรวงศึกษาธิการได้นำตอนต่าง ๆ ของพระอภัยมณีมาใส่ไว้ในแบบเรียน เนื่องจากเป็นนิทานที่มีคุณค่าในหลาย ๆ ด้าน พระอภัยมณี เป็นเรื่องราวของการผจญภัยของพระอภัยมณี และศรีสุวรรณน้องชาย ทั้งสองถูกขับไล่ออกจากเมืองเนื่องจากพระอภัยมณีไปเรียนวิชาเป่าปี่ ส่วนศรีสุวรรณไปเรียนวิชากระบี่กระบอง ทำให้ท้าวสุทัศน์และพระนางปทุมเกสรพระบิดาและพระมารดา เกิดความไม่พอพระทัยจนขับไล่ออกจากเมือง พระอภัยมณีถูกนางผีเสื้อสมุทรจับไปจนมีลูกด้วยกันคน
หนึ่งชื่อว่าสินสมุทร และหนีออกมากับนางเงือกและมีลูกด้วยกันอีกคนหนึ่ง ชื่อว่าสุดสาคร ต่อมาได้พบกับนางสุวรรณมาลี และนางละเวง ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่งที่มีความไพเราะเป็นที่นิยมมาก ดังต่อไปนี้
  ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
  แม้เกิดในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
  แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
  แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมประทุมทอง
  เจ้าเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
  จะติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
  เป็นสัจจังหวังจิตสนิทถนอม งามละม่อมมิ่งขวัญอย่าหวั่นไหว
  จงโอนอ่อนผ่อนตามความอาลัย ให้ชื่นใจเสียรู้แล้วเถิดแก้วตา

พระไชยสุริยา
ท่าน สุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๓ - ๒๓๘๕ ขณะที่บวชเป็นพระอยู่ทีวัดเทพธิดาราม ท่านแต่งเป็นกาพย์ซึ่งแทรกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย ในเรื่องของมาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ เช่น แม่กก กง กน กด กบ และเกย เป็นต้น นอกจากนั้นยังสอดแทรกคติธรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย

ต่อมาใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสให้พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งตำราภาษาไทยขึ้น ท่านได้นำกาพย์พระไชยสุริยามาแทรกไว้ในหนังสือมูลบท บรรพกิจ ซึ่งเป็นแบบเรียนเล่มแรกในทั้งหมด ๖ เล่ม

พระไชยสุริยาเป็น เรื่องราวของพระไชยสุริยากษัตริย์ครองเมืองด้วยความสงบเรียบร้อยมาตลอด จนกระทั่งวันหนึ่งมีน้ำท่วมจนบ้านเมืองล่มสลายไป พระไชยสุริยาพร้อมกับนางสุมาลีพระมเหสีและนางกำนัลหนีลงเรือ แต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก คลื่นซัดพระไชยสุริยากับพระนางสุมาลีเข้าฝั่ง ทั้งสองต้องเดินทางอยู่กลางป่าจนพบกับฤาษีตนหนึ่ง ฤาษีได้บอกถึงสาเหตุที่ทำให้บ้านเมืองพังพินาศว่า ด้วยข้าราชสำนักทั้งหลายประพฤติชั่ว รับสินบนไม่รักษาความยุติธรรม ฟ้าดินจึงลงโทษให้ได้รับความเดือดร้อน ฤาษีได้แนะนำให้พระไชยสุริยา และพระนางสุมาลีรักษาศีลปฏิบัติธรรม ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ออกบวชและบำเพ็ญธรรมจนสิ้นพระชนม์ชีพ ดังจะคัดมาเป็นตอนของแม่กงมาให้อ่าน ดังต่อไปนี้
  กลางไพรไก่ขันบรรเลง ฟังเสียงเพียงเพลง ซอเจ้งจำเรียงเวียงวัง
  ยูงทองร้องกระโต้งโห่งดัง เพียงฆ้องกลองระฆัง แตรสังข์สังสดาลขานเสียง
  กะลิงกะลางนางนวลนอนเรียง พระยาลอคลอเคียง แอ่นเอี้ยงอีโก้งโทงเทง
  ค้อนทองเสียงร้องป๋องเป๋ง เพลินฟังวังเวง อีเก้งเริงร้องลองเชิง
  ฝูงละมั่งฝังดินกินเพลิง คางแข็งแรงเริง ยืนเบิ่งบึ้งหน้าตาโพลง
  ป่าสูงยูงยางช้างโขลง อึงคะนึงผึงโผง โยงกันเล่นน้ำคล่ำไป


ลักษณวงศ์
เป็น นิทานคำกลอนเป็นเรื่องของ ลักษณวงศ์พระโอรสของท้าวพรหมทัต และนางสุวรรณอำภา ครั้งหนึ่งทั้งสามได้ออกประพาสป่า ขณะที่ทั้งสามกำลังบรรทมอยู่นั้น มีนางยักษ์ตนหนึ่งมาพบท้าวพรหมทัตและเกิดหลงรัก จึงแปลงตนเป็นสาวงามทำให้ท้าวพรหมทัตหลงใหล จนสั่งให้ประหารนางสุวรรณอำภาและลักษณวงศ์ แต่เพชรฆาตสงสารจึงปล่อยตัวทั้งสองไป ต่อจากนั้นเป็นเรื่องการผจญภัยของลักษณวงศ์และของนางทิพย์เกสร ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  พอสิ้นแสงสุริยาในอากาศ ก็โอภาสจันทร์แจ่มจำรัสฉาย
  น้ำค้างโรยโปรยปรายกระจายพราย พระพายชายพัดเชยรำเพยพาน
  เสาวคนธ์หล่นโรยมารื่นรื่น เจ้าพลิกฟื้นวรองค์น่าสงสาร
  ไม่เห็นองค์มารดายุพาพาล ยิ่งแดดาลเดือดดิ้นอยู่โดยเดียว


สิงหไตรภพ
ท่าน สุนทรภู่เริ่มแต่งตอนต้นเรื่องประมาณต้นรัชกาลที่ ๒ และแต่งต่อในตอนท้ายขณะที่บวชอยู่ ณ วัดเทพธิดาราม เพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ตอนหนึ่ง และถวายกรมหมื่นอัปสรเทพสุดา ฯ อีกตอนหนึ่งสิงหไตรภพเป็นนิทานพื้นบ้านอีกเรื่องหนึ่งของท่านสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ สิงหไตรภพซึ่งเป็นโอรสของท้าวอินณุมาศ เจ้าเมืองโกญจา และนางจันทร์แก้วกัลยาณี พระมเหสี ทั้งสองได้รับบุตรจอมโจรสลัดมาเลี้ยงเป็นโอรสบุญธรรมชื่อว่า คงคาประลัย คงคาประลัยเป็นคนพาลตามนิสัยของบิดา วันหนึ่งคงคาประลัยได้ก่อกบฏยึดอำนาจภายในเมือง เนื่องจากเกดความโกรธแค้นที่พ่อถูกฆ่าตาย และอิจฉาพระโอรสที่อยู่ในครรภ์ของนางจันทร์แก้วกัลยาณี ทำให้กษัตริย์ทั้งสองต้องหนีออกจากเมืองไปอาศัยอยู่ในป่าและให้กำเนิดพระ โอรสในป่า ต่อมาพราหมณ์เทพจินดาได้ลักพาตัวสิงหไตรภพไป ด้วยพราหมณ์เทพจินดาผู้เป็นบุตรของพราหมณ์วิรุณฉาย ซึ่งสามารถทำนายเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ทราบว่าจะมีผู้มีบุญลงมาเกิด ก่อนตายได้สั่งพราหมณ์เทพจินดาบุตรชายให้ตามหาเด็กชายที่มีลักษณะตามตำรา วันหนึ่งพราหมณ์เทพจินดาและสิงหไตรภพได้พบยักษ์ชื่อพินทุมาร และอาศัยอยู่กับพินทุมารจนโต เมื่อสิงหไตรภพเติบโตจึงได้ขโมยใบไม้วิเศษที่เมื่อกินเข้าไปแล้ว สามารถแปลงกายเป็นสัตว์ได้ ต่อจากนั้นเป็นเรื่องราวของการผจญภัยของสิงหไตรภพ ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  ซึ่งสัจจังที่ตั้งเมตตาจิต มิได้คิดแสร้งเสกอุเบกษา
  ด้วยเลี้ยงคงคาประลัยจนใหญ่มา ทั้งเวลากินนอนไม่ร้อนรน
  มันกลับขวิดคิดร้ายทำลายล้าง ฆ่าผู้สร้างสืบสายฝ่ายกุศล
  เสียชีวิตก็เพราะคิดเมตตาคน ทั้งสากลจงเห็นเป็นพยาน


ประเภทสุภาษิต

สุภาษิตสอนหญิง
มี เนื้อเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้เป็นกุลสตรีของผู้หญิงไทย โดยเริ่มตั้งแต่การเลือกคู่ครอง การทำหน้าที่ในฐานะภรรยาที่ดีของสามี และแม่ที่ดีของลูก ซึ่งสุภาษิตสอนหญิงนี้ได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้ ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
  จงใช้น้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน
  ไม่ควรซื้อก็อย่าไปพิไรซื้อ ให้เป็นมื้อเป็นคราวทั้งคาวหวาน
  เมื่อพ่อแม่แก่เฒ่าชรากาล จงเลี้ยงท่านอย่าให้อดรันทดใจ
  ด้วยชนกชนนีนั้นมีคุณ ได้การุณเลี้ยงรักษามาจนใหญ่
  อุ้มอุทรป้อนข้าวไปเท่าไร หมายจะได้พึ่งพาธิดาดวง

เพลงยาวถวายโอวาท
เป็น เนื้อเรื่องเกี่ยวกับคติธรรม สุภาษิตโบราณ และคำถวายโอวาท ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๓ เนื่องด้วยในขณะนั้นท่านถูกขับไล่ออกจากวัดราชบูรณะ จึงแต่งขึ้นเพื่อถวายให้กับเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของท่านสุนทรภู่ ดังจะคัดตอนหนึ่งของเพลงยาวถวายโอวาทมา ดังต่อไปนี้
  อันอ้อยตาลหวานลิ้นแล้วสิ้นซาก แต่ลมปากหวานหูไม่รู้หาย
  แม้นเจ็บอื่นหมื่นแสนจะแคลนคลาย เจ็บจนตายนั้นเพราะเหน็บให้เจ็บใจ
  จะรักชังทั้งสิ้นเพราะลิ้นพลอด เป็นอย่างยอดแล้วพระองค์อย่าสงสัย
  อันช่างปากยากที่จะมีใคร เขาชอบใช้ช่างมือออกอื้ออึง
  จงโอบอ้อมถ่อมถดพระยศศักดิ์ ถ้าสูงนักแล้วเขาเข้าไม่ถึง
  ครั้นต่ำนักมักจะผิดคิดรำพึง พอก้ำกึ่งกลางนั้นขยันนักฯ
สวัสดิรักษาคำกลอน
สุนทร ภู่แต่งขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๖๔ - ๒๓๖๗ โดยท่านนำสวัสดิรักษาคำฉันท์ ที่มีผู้แต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งฉบับนั้นแต่งเป็นภาษาบาลี ท่านสุนทรภู่นำมาแต่งใหม่เป็นคำกลอน เพื่อให้ผู้อ่าน เข้าใจได้ง่ายขึ้น สวัสดิรักษาคำกลอนมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เช่น การแต่งกาย การักษาความสะอาดของร่างกายและบ้านเรือน ความไม่ประมาท การนอน เป็นต้น ซึ่งจะคัดตอนที่เกี่ยวกับการแต่งกายมาให้อ่าน ดังต่อไปนี้
  อนึ่งภูษาผ้าทรงณรงค์รบ ให้มีครบเครื่องเสร็จทั้งเจ็ดสี
  วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล
  เครื่องวันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว จะยืนยาวชันษาสถาผล
  อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาไม่ราวี
  เครื่องวันพุธสุดดีด้วยสีแสด กับเหลืองแปดปนประดับสลับสี
  วันพฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม
  วันเสาร์ทรงดำจึงล้ำเลิศ แสนประเสริฐเสี้ยนศึกจะนึกขาม
  อนึ่งพาชีขี่ขับประดับงาม ให้ต้องตามสีสันจึงกันภัย


ประเภทบทละคร

อภัยนุราช
ท่าน สุนทรภู่ได้แต่งบทละครเพียงเรื่องเดียวเท่านั้น คือ เรื่องอภัยนุราช เพื่อถวายพระองค์เจ้า ดวงประภา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเรื่องของท้าวอภัยนุราช กษัตริย์ครองเมืองรมเยศร ครั้งหนึ่งทรงต้องการออกประพาสป่า แต่ไม่ยอมเซ่นสังเวยแสดงความเคารพต่อผีป่าเสียก่อน และได้กล่าวลบหลู่ดูถูก ผีป่าจึงดลบันดาลให้ท้าวอภัยนุราชต้องเสียบ้านเสียเมือง พร้อมทั้งพระนางทิพยมาลีพระมเหสี พระอนันต์พระโอรส และวรรณาพระธิดา ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  เหมือนเขาเปรียบเทียบความเมื่อยามรัก น้ำผักต้มขมก็ชมหวาน
  เมื่อจืดจางห่างเหินเนิ่นนาน น้ำตาลว่าเปรี้ยวไม่เหลียวดู


ประเภทเสภา


ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม
สุนทร ภู่แต่งต่อจากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งเล่าตั้งแต่นางวันทองให้กำเนิดพลายงาม ถูกขุนช้างลวงไปฆ่า นางวันทองจึงนำไปฝากไว้กับขรัวครูที่วัด พลายงามเดินทางไปหานางทองประศรีผู้เป็นย่าที่กาญจนบุรี จนกระทั่งพลายงามถวายตัวเข้ารับราชการ ดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  พลายงามดิ้นสิ้นเสียงสำเนียงร้อง ยกแต่สองมือไหว้หายใจฝ่อ
  มันห้ามว่าอย่าร้องก็ต้องรอ เรียกหม่อมพ่อเจ้าขาอย่าฆ่าเลย
  จงเห็นแก่แม่วันทองของลูกบ้าง พ่อขุนช้างใจบุญเจ้าคุณเอ๋ย
  ช่วยฝังปลูกลูกไว้ใช่เช่นเคย ผงกเงยมันก็ทุบฟุบลงไป
  บีบจมูกจุกปากลากกระแทก เสียงแอ็กแอ็กอ่อนซบสลบไสล
  พอผีพรายนายขุนแผนผู้แว่นไว เข้ากอดไว้ไม่ให้ถูกลูกของนาย

พระราชพงศาวดาร
แบ่ง ออกเป็น ๒ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ มีความยาว ๒๗๔ คำกลอน เริ่มตั้งแต่พระเจ้าอู่ทองทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี จนถึงเกิดความขัดแยังขึ้นระหว่างไทยและขนอม และไทยสามารถตีขอมจนแตกพ่ายไป ตอนที่ ๒ มีความยาว ๙๗๐ คำกลอน เริ่มตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิได้ช้างเผือก ๗ เผือก ทำให้พระเกียรติเป็นที่เลื่องลือโดยทั่วไป กษัตริย์หงสาวดีต้องการจึงส่งสารมาขอช้างเผือก ๗ เชือก ถ้าไม่ให้จะยกทัพมา แต่มุขมนตรีมีความเห็นว่าไม่ควรให้ พระเจ้าหงสาวดีจึงสั่งเกณฑ์ไพร่พลเพื่อยกทัพมาตีไทย อันเป็นสาเหตุของสงครามไทยกับพม่า จนกระทั่งเสียกรุงครั้งที่ ๑ เป็นเรื่องดังที่จะคัดมาตอนหนึ่ง ที่เป็นการต่อสู้ระหว่างทหารไทย และทหารมอญ ดังต่อไปนี้
  พวกชาวกรุงมุ่งแม้นพุ่งแหลนหลาว ถูกมอญลาวเลือดโซมชะโลมไหล
  ที่เหลือตายนายมอญต้อนเข้าไป พาดกระไดก้าวปีนตีนกำแพง
  พวกที่ป้อมหลอมตะกั่วคั่วทรายสาด คบไฟฟาดรามัญกันด้วยแผง
  โยนสายโซ่โย้เหนี่ยวด้วยเรี่ยวแรง ชาวเมืองแทงถูกตกหกคะเมน
  พม่ามอญต้อนคนขึ้นบนฝั่ง ถือแตะบังตัวบ้างป้องกางเขน
  ถูกปืนใหญ่ไพร่นายตานระเนน ในเมืองเกณฑ์กองหลวงทะลวงฟัน
  เสียงดาบฟาดฉาดฉับบ้างรับรบ บ้างหลีกหลบไล่ฆ่าให้อาสัญ
  เหลือกำลังทั้งพม่าลาวรามัญ ต่างขยั้นย่นแยกแตกตื่นแดนฯ


ประเภทบทเห่กล่อม

ท่าน สุนทรภู่แต่งบทเห่กล่อมนี้ เพื่อถวายสำหรับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านสุนทรภู่แต่งบทเห่กล่อมไว้ทั้งหมด ๔ เรื่อง ดังต่อไปนี้
เห่เรื่องโคบุตร
เป็น นิทานเรื่องแรกที่ท่านสุนทรภู่แต่งขึ้นเมื่อยังหนุ่ม ท่านได้นำตอนที่โคบุตรส่งสารรักถึงนางอำพันมาแต่งเป็นบทเห่ เป็นเรื่องที่สร้างความเพลิดเพลินอย่างมากแก่เด็ก และทำให้เด็กอยากรู้เรื่องราวในตอนต่อไปจนต้องหาหนังสือมาอ่านต่อ หรือให้ผู้ใหญ่เล่าให้ฟัง ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
       เห่เอยเห่ถวาย ถึงเรื่องนิยายแต่ปางหลัง
  ให้พระองค์ทรงฟัง เมื่อแรกตั้งโลกา
       มีพระมิ่งมงกุฎ ชื่อโคบุตรสุริยา
  ได้ข่าวพระธิดา ตรึกตราตรอมใจ
เห่เรื่องกากี
ท่าน สุนทรภู่ได้นำมาจากวรรณคดีเรื่อง กากี ตอนที่พญาครุฑพากากีเหาะชมทัศนียภาพบนสวรรค์ยุคนธร เขาพระสุเมรุ ภูเขาสัตภัณฑ์ แม่น้ำสีทันดร และป่าหิมพานต์ ซึ่งมีสัตว์นานาชนิดทั้ง กินนร กินรี หงส์ เหรา สิงห์ นอกจากนี้ยังมีต้นนารีผล ที่ออกผลมาเป็นผู้หญิงที่มีหน้าตาสวยงาม ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
       เห่เอยเหกล่าว ถึงเรื่องราวสกุณา
  ครุฑราชปักษา อุ้มกากีบิน
       ล่องลมชมทวีป ในกลางกลีบเมฆิน
  ข้ามศรีสิขรินทร์ มุจลินท์ชโลธร
       ชี้ชมพนมแนว นั่นเขาแก้วยุคนธร
  สัตภัณฑ์สีทันดร แลสลอนล้วนเต่าปลา

เห่จับระบำ
บท เห่จับระบำมีเนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่ ตอนแรกเป็นเรื่องราวของนางฟ้า และเทวดาพากันร่ายรำ ท่ามกลางสายฝนบนวิมานเขาไกรลาส ตอนที่ ๒ เป็นเรื่องของนางเมขลา นางฟ้าที่มีหน้าที่เฝ้ามหาสมุทรกำลังร่ายรำพร้อมกับนางฟ้าทั้งหลาย ตอนที่ ๓ เป็นเรื่องของนางเมขลามาเจอกกับรามสูร รามสูรนั้นมีขวานเป็นอาวุธ ทั้งสองได้มาเจอกันรามสูรได้ขว้างขวานใส่นางเมขลา แต่ด้วยฤทธิ์ของแก้วมณีทำให้พลาดไป ทำให้เกิดเป็นตำนานฟ้าแลบฟ้าร้อง บทเห่จับระบำนี้มีเนื้อหาเรื่องราวที่สนุกสนานเป็นที่ชื่นชอบของเด็กที่ได้ ฟัง เนื่องจากเป็นเรื่องการต่อสู้ระหว่างยักษ์กับนางฟ้า เมื่อเด็กได้ฟังก็จะตื่นเต้นไปกับเนื้อเรื่องด้วย ดังจะคัดส่วนหนึ่งของตอนแรกมา ดังต่อไปนี้
       เห่เอยเห่สวรรค์ เมื่อวสันต์ฤดูฝน
  นักขัตฤกษ์เบิกบาน ให้มืดมนเมฆษ
       เทวาลาหก ให้ฝนตกลงมา
  ฝูงเทพเทวา กับนางฟ้าฟ้อนรำ
เห่เรื่องพระอภัยมณี
ท่าน ได้นำตอนหนึ่งของนิทานเรื่องเอก พระอภัยมณี มา แต่เป็นเห่ มีทั้งหมด ๘ ตอน ได้แก่ ตอนที่ ๑ ศรีสุวรรณรำพันรักและชมโฉมนางเกษรา ตอนที่ ๒ นางสุวรรณมาลีบวชชีโดยมีสินสมุทรกับอรุณรัศมีบวชตามมาอยู่ด้วย ตอนที่ ๓ กล่าวถึงนางสุวรรณมาลี ตอนที่ ๔ กล่าวถึงสินสมุทรและอรุณรัศมี ตอนที่ ๕ นางละเวงเดินไพรโดยควบม้าหนีพระอภัย ตอนที่ ๖ พระอภัยติดท้ายรถนางละเวงและพยายามตามเกี้ยว ตอนที่ ๗ พระอภัยมณีพยายามเข้าพบนางละเวง ตอนที่ ๘ นางละเวงใจอ่อน ดังจะคัดมาตอนหนึ่ง ดังต่อไปนี้
  เห่เอยเห่กล่าว ถึงดาวบศนี
  องค์สุวรรณมาลี บวชด้วยมีศรัทธา
  กับสินสมุทรสุดสวาท อรุณราชนัดดา
  แบ่งส่วนกุศลผลบุญ ให้องค์อรุณรัศมี
  สาวสุรางค์นางชี แต่ล้วนมีศรัทธา



๑.

จัดกิจกรรมเพื่อระลึกถึงความสามารถของท่านสุนทรภู่

๒.

จัดการประกวดร้อยกรองประเภทต่าง ๆ เช่น โคลง นิราศ เป็นต้น

๓.

จัดนิทรรศการเกียวกับผลงานของท่านสุนทรภู่



เพื่อเป็น การยกย่องเกียรติคุณ ของพระสุนทร โวหารภู่ ให้ปรากฎแพร่หลายยิ่งขึ้น รัฐบาลสมัยจอมพลป. พิบูลย์สงคราม โดยกรมศิลปากร ได้ดำเนินการจัด สร้างอนุสาวรีย์ สุนทรภู่ขึ้นที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง เริ่มดำเนินการในปี ๒๔๙๘ แล้วเสร็จในปี ๒๕๑๓เนื่องจากติดขัดในเรื่องงบประมาณ บริเวณอนุสาวรีย์ ก่อสร้างในลักษณะเป็นสวน สาธารณะ บริเวณกว้างขวางร่มรื่น โดยมีรูปหล่อโลหะ ท่านภู่นั่งแท่นเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินดิน ด้านหน้าอนุสาวรีย์มีรูปปั้นตัวละครเอก ในเรื่องพระอภัยมณีเป็นองค์ประกอบที่งดงามยิ่ง
แหล่งอ้างอิง :
     หนังสือ วันและประเพณีสำคัญ โดย ศิริวรรณ คุ้มโห้


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque volutpat volutpat nibh nec posuere. Donec auctor arcut pretium consequat. Contact me 123@abc.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น