important day thai

วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

วันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี  เป็น "วันลูกเสือแห่งชาติ "

        ่กอง ลูกเสือกองแรกของโลกได้ถูกตั้งขึ้นมา ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ.2450 โดยท่าน ลอร์ด บาเดน เพาเวลส์ และกิจการลูกเสือก็ได้แพร่หลายขยายตัวไปทั่วโลกโดยได้รับการยอมรับว่า ลูกเสือเป็นขบวนการของเยาวชน ที่ทรงคุณประโยชน์ทั้งตัวของเยาวชนเอง และสังคม

        สำหรับ ประเทศไทย หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งกองลูกเสือป่า ขึ้นมา เพื่อให้บรรดาข้าราชการพลเรือน ได้รับการฝึกอบรมให้เป็นบุคคลที่มีใจรักชาติ มีความเสียสละและมีความสามัคคีต่อกัน ดังพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตรัสไว้ว่า " ชาติจะเจริญรุ่งเรืองได้ คนในชาติต้องเป็นคนดีก่อน การที่จะสอนให้คนรักชาติก็ดี ให้คิดทำประโยชน์เพื่อชาติก็ดี ต้องมุ่งอบรมคนในชาติเป็นประการแรก" และได้ทรงพิจารณาเห็นว่า บรรดาบุตรของเสือป่าทั้งหลายควรได้รับการอบรมให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติแต่ เยาว์ในทำนองไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก สิ่งที่ดีงามทั้งหลายทั้งปวงที่พลเมืองที่ดีพึงจะมีจะได้ฝังแน่นในกระแส เลือดของเยาวชนไทย คุณภาพแห่งการเป็นมนุษย์ จะได้เกิดขึ้นมาในสังคมไทย

        เมื่อ วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2454 นั้นเอง จึงได้มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ประกาศตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงซึ่งปัจจุบันคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เรียกว่า กองลูกเสือกรุงเทพ ที่ 1 ภายหลังที่ทรงตั้งกองเสือป่าได้เพียง 2 เดือนเท่านั้น ประเทศไทยจึงนับว่าเป็นประเทศที่ 3 ของโลก ที่มีกิจการลูกเสือ รองมาจากอเมริกา จากนั้น นานาชาติในยุโรปจึงได้จัดตั้งกองลูกเสือของตนขึ้น ลูกเสือกลายเป็นองค์การสากลและมีความสัมพันธ์กันทั่วโลกเป็นสื่อผูกไมตรีกัน โดยใช้กฎของลูกเสือ 10 ประการ ผูกสัมพันธ์กันได้ไม่เว้นเชื้อชาติใด ศาสนาใดทั้งสิ้น ถือว่า ลูกเสือทั่วโลกเป็นพี่น้องกันหมด

        กอง ลูกเสือกองแรกทรงโปรดเกล้าฯ ให้เป็นกองลูกเสือหลวง กระทำพิธีเข้าประจำกอง เมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ.2454 ทรงพระราชทานคติพจน์แก่ลูกเสือว่า "เสียชีพ อย่าเสียสัตย์" และผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกเสือไทยคนแรก คือ นาย ชัพพ์ บุนนาค

        หลัง จาก ทรงสถาปนา กิจการลูกเสือขึ้นมาแล้ว ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้ตราข้อบังคับลักษณะการปกครองลูกเสือ และตั้งสภากรรมการจัดการลูกเสือแห่งชาติขึ้นโดยพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งสภานายก ต่อมาทุกครั้งที่พระองค์เสด็จไปยังจังหวัดใดก็ตามก็จะทรงโปรดเกล้าฯ ให้กระทำพิธีเข้าประจำกองลูกเสือประจำจังหวัดนั้น ๆ ให้ด้วย

        ต่อ มา กิจการลูกเสือไทยได้เจริญก้าวหน้าเป็นที่ยอมรับของนานาชาติดังจะเห็นได้จาก การที่ กองลูกเสือที่ 8 ของประเทศอังกฤษ ได้ขอพระราชทานนามกองลูกเสือของตนกองนี้ต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัวว่า "กองลูกเสือในพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม" (The King of siam own boy scout group) มีเครื่องหมายช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์

        เมื่อ สิ้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงฟื้นฟูกิจการลูกเสือไทยต่อไปอีก โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2470 และจัดการชุมนุม ครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ.2473 ณ พระราชอุทยาน สราญรมย์ นอกจากนี้ยังโปรดเกล้า ฯ ให้มีการอบรมผู้กำกับลูกเสือที่โรงเรียนผู้กำกับ ที่เคยเปิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่พระราชวังบ้านปืน จังหวัดเพชรบุรีโดยคัดเลือกเอาผู้กำกับจังหวัดละหนึ่งคนเข้ามาอบรมช่วงเวลา ปิดภาคเรียน ปีละครั้ง จนถึง พ.ศ.2475 เป็นรุ่นสุดท้าย

        หลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองกิจการลูกเสือไทยได้มุ่งไปในการบำเพ็ญประโยชน์เสีย เป็นส่วนใหญ่ มีการอบรมควบคู่กันไปกับการอบรมยุวชนทหารและเหตุการณ์ สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้กิจการลูกเสือซบเซาลงไปมากต่อมาได้มีการฟื้นตัวขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.2498 โดยที่กิจการลูกเสือไทยได้เข้าสู่ระบบสากลมีการสร้างค่ายลูกเสือแห่งชาติ ที่ตำบล บางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัด ชลบุรี มีชื่อว่า "ค่ายวชิราวุธ" มีการเปิดอบรมผู้บังคับบัญชาลูกเสือสำรองขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2501 และจัดตั้งกองลูกเสือสำรองกองแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2501 และในที่สุดกิจการลูกเสือก็เข้าสู่ยุคของประชาชนทั่วไป โดยมีการพระราชทานกำเนิดลูกเสือชาวบ้าน และเปิดอบรมขึ้นเป็นครั้งแรกที่ บ้านเหล่ากอหก ตำบลแสงพา อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ.2514

        นับ ว่าเป็นการบังเอิญที่กิจการลูกเสือไทย และลูกเสือโลกมีจุดมุ่งหมายในการสถาปนาคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ระยะเริ่มต้นการลูกเสือไทยมุ่งเน้นเรื่อง ความรักชาติการป้องกันภัยของประเทศเป็นหลัก พร้อมกับวางแนวทางอบรมเยาวชนให้เป็นคนดีมีคุณภาพ ในปัจจุบันกิจการลูกเสือไทยก็ดำเนินไปเหมือนกับกิจการลูกเสือโลกเกือบทุก ประการ จะมีความแตกต่างกับการลูกเสือประเทศอื่นก็คือ การเข้ามาสู่ขบวนการลูกเสือของเยาวชนในแต่ละประเทศนั้น จะเป็นลักษณะของสโมสร เอกชน และ กลุ่มสนใจ ไม่ผูกติดกับระบบโรงเรียน การเข้ามาของสมาชิกลูกเสือเข้ามาด้วยใจสมัคร ไม่มีการบังคับเป็นกิจกรรมนอกเวลาเรียน แต่สำหรับประเทศไทยปัจจุบัน ลูกเสือถือว่า เป็นกิจกรรมและวิชาหนึ่ง ในหลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียน เกือบทุกระดับชั้นเรียน ดังนั้นปริมาณลูกเสือในเมืองไทยจึงมีจำนวนมากมายกว่า ลูกเสือในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

        กิจการ ลูกเสือไทยเป็นกิจการที่พระราชทานกำเนิดโดยองค์พระประมุขของชาติแม้ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการนี้มาโดยตลอดทรง ดำรงพระองค์ในฐานะ องค์พระประมุขแห่งการลูกเสือไทย ขบวนการและกิจการลูกเสือไทย เป็นขบวนการและกิจการที่ดีของเยาวชน

        กิจการ ลูกเสือไทยถือเป็นประเพณีว่าเมื่อถึงวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี ลูกเสือจะได้จัดให้มีพิธี ทบทวนคำปฏิญาณตนและสวนสนาม ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ เฉพาะที่กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้า ฯ เสด็จฯ ไปเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ ณ สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ และอีกสิ่งหนึ่งถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานก็คือ ทุก ๆ 4 ปี จะจัดให้มีการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติขึ้น เพื่อให้พี่น้องลูกเสือทั่วประเทศ ได้มาร่วมกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และทำกิจกรรมร่วมกัน


        การลูกเสือ    คือ ขบวนการเยาวชนที่ให้การศึกษานอกเหนือการเรียนทำให้เป็นคนดี มีความรักชาติเคารพศาสนา เทิดทูนพระมหากษัตริย์ อบรมให้ใช้ชีวิตกลางแจ้ง บำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม รู้จักพัฒนาตนเอง ไม่มีกีดกันในเรื่องศาสนาหรือเชื้อชาติใด ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

        วัตถุประสงค์    การลูกเสือ คือ การฝึกอบรมบ่มนิสัย ให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณีของบ้านเมืองอุดมคติดังต่อไปนี้
            1. ให้มีนิสัยในการสังเกตและจำ เชื่อฟังและพึ่งตนเอง
            2. ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัย และเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
            3. ให้รู้จักบำเพ็ญตนเพื่อสาธารณประโยชน์
            4. ให้รู้จักทำการฝีมือ
            5. ให้มีการพัฒนาในทางกาย จิตใจ และศีลธรรม
             ทั้งนี้โดยไม่เกี่ยวข้องกับลัทธิการเมืองใด ๆ

        จุดหรืออุดมการณ์ของคณะลูกเสือแห่งชาติ
        เพื่อพัฒนาลูกเสือทั้งทางกาย จิตใจ และศีลธรรม ให้เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบช่วยสร้างสรรค์สังคมที่ตนอยู่ให้ดีขึ้น ประเทศชาติมีความมั่นคง

        วิธีการฝึกลูกเสือ
            1. ให้เยาวชนทั้งชาย หญิง เป็นสมาชิกของลูกเสือหรือเนตรนารีตามความสมัครใจโดยมีผู้ใหญ่เป็นผู้แนะนำ สั่งสอน อบรมฝึกการปกครองกันเองภายในกองของตน และเพิ่มวิธีการฝึกอบรมมากขึ้นตามอายุ
            2. ให้เด็กชายปฏิบัติกิจกรรมตามที่ตนถนัดในที่แจ้งเป็นส่วนใหญ่ และมีโอกาสบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่นด้วย
            3. ให้เด็กชายได้ฝึกหัดการรับผิดชอบตัวเองและต่อบุคคลผู้อื่นเป็นขั้น ๆ และเพิ่มการฝึกให้กว้างขวางยิ่งขึ้นเพื่อว่าจะได้เกิดความสามารถ ความเชื่อมั่นในตนเองมีนิสัยใจคอดีเป็นที่ไว้ใจได้ สามารถในการเป็นผู้นำและปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่น

        สิ่งที่เด็กต้องการ
            1. ผจญภัย (Adventure) ได้แก่การเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ที่ตื่นเต้น และไม่คาดหมายมาก่อน
            2. ได้เพื่อน (Comradeship) ได้แก่การที่มีเด็กอื่น ๆ เป็นเพื่อน
            3. เถื่อนธาร (The Out Door World) ได้แก่ โลกภายนอกซึ่งประกอบไปด้วยป่าเขา ลำเนาไพรลำธารทุ่งนา
            4. การสนุก (Good Fun) ได้แก่ การสนุกสนานในการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ
            5.สุขสม (Afeeling Of Achievement) ได้แก่ ความรู้สึกภูมิใจในสิ่งที่ตนได้ทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนประสบความสำเร็จ
 
ความหมายของสี
  สีเขียว   หมายถึง   ลูกเสือสำรอง
  สีเหลือง   หมายถึง   ลูกเสือสามัญ
  สีน้ำตาล   หมายถึง   ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่
  สีแดง   หมายถึง   ลูกเสือวิสามัญ
 
ประเภทลูกเสือ, อายุชั้นเรียน
  ลูกเสือสำรอง   อายุ 8-11   เทียบชั้นเรียน ป.1-ป.4
  ลูกเสือสามัญ   อายุ 12-13   เทียบชั้นเรียน ป.5-ป.6
  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่   อายุ 15-17   เทียบชั้นเรียน ม.1-ม.3
  ลูกเสือวิสามัญ   อายุ 17-23   เทียบชั้นเรียน ม.4-ม.6
  เนตรนารีเหมือนลูกเสือ
  ลูกเสือชาวบ้าน 15-18 ปี
 
คติพจน์ของลูกเสือประเภทต่าง ๆ
  ลูกเสือสำรอง   ทำดีที่สุด (DO YOUR BEST)
  ลูกเสือสามัญ   จงเตรียมพร้อม (BE PREPARED)
  ลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่   มองไกล (LOOK WIDE)
  ลูกเสือวิสามัญ   บริการ (SERVICE)
  ลูกเสือทั่วไป   เสียชีพอย่าเสียสัตย์
  ลูกเสือชาวบ้าน   เสียชีพอย่าเสียสัตย์

เหล่าลูกเสือมี 3 เหล่า คือ


        ลูกเสือเสนา (SCOUT)
        ลูกเสือสมุทรเสนา (SEA SCOUT) เครื่องแบบกากี และขาว
        ลูกเสืออากาศเสนา (AIR SCOUT) เครื่องแบบสีเทา

องค์ประกอบที่สำคัญของลูกเสือคือ

        1. ลูกเสือ
        2. ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ
        3. กิจกรรมกลางแจ้ง
        4. อุดมการณ์
        5. การบริหารงานของลูกเสือ

แหล่งอ้างอิง : หนังสือพิมพ์ สยามรัฐ ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2538 โดย ทวี รัดงาม
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย มุทิตากุล
                         หนังสือ วันสำคัญของไทย โดย สภักดิ์ อนุกูล
                         หนังสือ ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก โดย วรนุช อุษณกร


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque volutpat volutpat nibh nec posuere. Donec auctor arcut pretium consequat. Contact me 123@abc.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น