important day thai

วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2555

     วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ" เหตุเพราะเป็นวันที่สหกรณ์แห่งแรกในประเทศไทย คือสหกรณ์ "วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" ที่อำเภอเมือง จังหวัด พิษณุโลกได้รับการจดทะเบียนจากกรมหมื่นพิทยาลงกรณ(นายทะเบียนสหกรณ์ในขณะ นั้น) เป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์แรกของไทย ซึ่งเป็นนิติบุคคลสหกรณ์แห่งแรกในสยามประเทศ
     สหกรณ์ในประเทศต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าส่งผลดีในการพัฒนาประเทศ สำหรับประเทศไทยเมื่อ พ.ศ.2458 นโยบายแห่งรัฐ เห็นสมควรนำวิธีการสหกรณ์ เข้ามาช่วยพัฒนาประเทศให้ประชาชนได้หลุดพ้นจากความยากจน โดยเฉพาะเกษตรกร พระราชวรวงค์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย ได้ทรงส่งเสริมให้ก่อตั้งสหกรณ์แห่งแรกคือ สหกรณ์วัดจันทร์ ไม่จำกัดสินใช้ ณ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกและทรงเป็นนายทะเบียนสหกรณ์ รับจดทะเบียนเป็นสหกรณ์แห่งแรก เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459ตามรูปแบบสหกรณ์ เครดิตแบบไรฟ์ไฟเซน ที่ได้รับความสำเร็จ มาแล้วใน อินเดีย และพม่า ซึ่งทั้งสองประเทศได้ส่งคนไปศึกษาจากประเทศเยอรมันนี และเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2527 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น "วันสหกรณ์แห่งชาติ "
     สหกรณ์ถือกำเนิดมาจากปัญหาในปลายสมัยรัฐกาลที่ 5 ซึ่งขณะนั้นอาชีพหลักของประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย คือการทำนา เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น นับเนื่องตังแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นต้นมา ทำให้ระบบ "เพื่อเลี้ยงตัวเองในชนบท" มาสู่ระบบเศรษฐกิจ "เพื่อการค้า" ความต้องการเงินทุนเพื่อขยายการผลิตและการครองชีพเพิ่มมากขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ 85 เปอร์เซ็นต์เป็นเกษตรกรอยู่ในฐานะยากจน ขาดแคลนเงินทุนต้องกู้หนี้ยืมสินจากพ่อค้านายทุน "คหบดี" ซึ่งมักถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ให้กู้ยืมเหล่านี้ทุกวิถีทาง เช่น การกำหนดดอกเบี้ยในอัตราสูง การทำสัญญาส่งใช้เป็นข้าวเมื่อเก็บเกี่ยงแล้ว ในเรื่องช่างตวงวัดก็กำหนดเอาตามพอใจ ทำให้ชาวไร่ชาวนาเสียเปรียบเป็นอย่างมาก
     ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นใน ปีพ.ศ.2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้าๆ จนถึงสิ้น ปีพ.ศ.2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2471 ขึ้น และจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่นๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ.2495 ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ.2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
     การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิมเพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงาน อิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2515
     ผลการดำเนินงานทางสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้รับความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมานเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันสหกรณ์ ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัวของสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมี ความสำคัญต่อเศรษฐกิจ ของประเทศโดยเฉพาะต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชานให้ดีขึ้น
     รัฐและขบวนการสหกรณ์ไทยได้ร่วมจิตใจจัดงาน "วันสหกรณ์แห่งชาติ" ขึ้นเป็นประจำทุกปีไม่ว่าจะศก.ปีใด จัดขึ้นเพื่อร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาคุณขององค์ผู้ให้กำเนิด"สหกรณ์" พระองค์ท่านไม่ใช่เป็นเพียงผู้รับจดทะเบียนเท่านั้น แต่เป็น "พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย" ยังเป็นผู้ปูพื้นฐานและทรงเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่และจัดตั้งขยายกิจการ การสร้างความผาสุกแก่ประชาชนเพื่อการกินดีอยู่ดี เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญ


           ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตมรสุม มีดินฟ้าอากาศเหมาะแก่การเกษตร อาชีพส่วนใหญ่ของพลเมืองคือการประกอบการเกษตรสาขาต่าง ๆ การผลิตในสมัยก่อน ๆ ผู้ผลิตคนหนึ่ง ๆ ผลิตเพียงแต่เลี้ยงครอบครัว มิได้มุ่งหวังเพื่อขาย ส่วนสินค้าที่ผลิตไม่ได้ก็เอาสินค้าที่ผลิตได้ไปแลกเปลี่ยน ต่อมาบ้านเมืองเจริญขึ้น การพาญิชย์ที่ใช้เงินเป็นสื่อกลางก็เจริญขึ้น การเอาของมาแลกกันก็น้อยลง ในขณะเดี๋ยวกันประชากรก็เพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นความต้องการสินค้าอุปโภคของประชากรจึงปริมาณสูงขึ้นด้วย
           ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตข้าวพอเลี้ยงครอบครัวเท่านั้นไม่ได้ ต้องผลิตให้มากขึ้นเพื่อขายเอาเงินเพื่อซื้อสินค้า เมื่อมีการผลิตข้าวมากขึ้นก็ต้องใช้ปัจจัยทุนในการผลิตมากขึ้นด้วย ถ้าผู้ผลิตรายใดไม่มีปัจัยทุน ก็ต้องกู้ยืมจากธนบดี ในอัตราดอกเบี้ยสูง เมื่อผลิตข้าวได้แล้วก็นำไปขายเพื่อชำระหนี้ การชำระหนี้ดังกล่าวจะดำเนินไปด้วยดีก็ต่อเมื่อมีการผลิตข้าวได้ผลดี แต่ระบบการผลิตข้าวในสมัยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศทั้งนั้น กล่าวคือถ้าปีใดฝนตกตามฤดูกาล และมีปริมาณน้ำฝนพอเหมาะแก่ความต้องการ การผลิตข้าวก็ได้ผลดี แต่ถ้าปีใดสภาพดินฟ้าอากาศไม่ดี ผลผลิตที่ได้จะลดน้อยลง มีผลทำให้การบริโภคไม่เพียงพอ และไม่มีข้าวสำหรับชำระหนี้ด้วย และต้องมีการจำนองที่นาและทรัพย์สินเป็นหลักประกันเงินกู้ด้วย ในที่สุดก็ไม่มีที่ดินในการทำมาหากินเป็นของตนเอง
           สถานการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้เป็นมูลเหตุแห่งความดำริของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่จะช่วยเหลือเกษตรกร โดยครั้งแรกมีผู้ดำริที่จะจัดตั้งธนาคารเกษตรขึ้นที่ส่วนกลางและมีสาขาตามภูมิภาค เพื่อให้เครดิตแก่เกษตรกรโดยตรง แต่เมื่อได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็พบปัญหาการชำระหนี้ไม่ได้ตามสัญญา การตั้งธนาคารเกษตรเลยไม่ประสบความสำเร็จ
จากนั้นพระเจ้าพี่ยาเธอกรมพระจันทบุรีนฤนาท เสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุลเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงดำริที่จะนำสหกรณ์มาใช้ การสหกรณ์จะอำนวยประโยชน์ให้แก่ประชาชนเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงได้ทรงมอบให้ กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ซึ่งพระราชวรวงศ์ เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีอยู่ในขณะนั้นเป็นผู้เริ่มชักนำสหกรณ์เข้ามาสู่ประเทศไทย
           การเริ่มจัดตั้งสหกรณ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทรงศึกษาพิจารณาประเภทสหกรณ์ซึ่งมีอยู่ในต่างประเทศ เพื่อเลือกสรรนำมาใช้ในประเทศไทย ในที่สุดได้เห็นว่าสหกรณ์หาทุน (สหกรณ์เครดิตแบบไรพ์ไฟเซน) เหมาะที่สุดสำหรับชนบทไทย


           ระยะแรก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มต้นด้วยการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ประเภทหาทุนขึ้นในปี พ.ศ. 2459 การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกจึงดำเนินไปอย่างช้า ๆ จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2470 ซึ่งเป็นเวลา 12 ปี นับตั้งแต่เริ่มนำสหกรณ์เข้ามาในประเทศไทย ได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทนี้ขึ้นมาเพียง 81 สมาคมเท่านั้น ซึ่งจัดตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด คือ พิษณุโลก ลพบุรีและอยุธยา โดยมีเงินทุนให้กู้ยืมเพียง 300,000 บาทเศษ เมื่อเป็นที่ประจักษ์ว่าสหกรณ์เป็นสิ่งที่สามารถจัดทำได้สำเร็จ จึงประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ขึ้นและจัดหาทุนมาให้กู้ยืมมากขึ้น หลังจากนั้น 5 ปี ได้มีการขยายสาขาออกไปได้อีก 7 จังหวัด
           เมื่อเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 การสหกรณ์จึงได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมสหกรณ์ มีการจัดตั้งสหกรณ์ประเภทอื่น ๆ ขึ้น เช่น สหกรณ์ออมทรัพยร์ สหกรณ์ที่ดิน ร้านสหกรณ์ ต่อมาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ขยายงานสหกรณ์จากระดับกรมขึ้นมาเป็นระดับกระทรวง เมื่อปี พ.ศ. 2495
           ระยะอยู่ตัว หลังจากปี พ.ศ. 2497 อัตราการขยายตัวของสหกรณ์ลดลงเนื่องจาก เป็นระยะที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสหกรณ์มาก่อน จนไม่สามารถจะดูแลให้ทั่วถึง ในขณะเดียวกันกระทรวงสกหรณ์ถูกยุบไปรวมกับกระทรวงการพัฒนาการแห่งชาติ ขาดกำลังเจ้าหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพ
           การเปลี่ยนแปลงของสหกรณ์คือมีการยุบกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2515 ซึ่งมีผลทำให้กรมสหกรณ์ทีดิน กรมสหกรณ์พาณิชย์และธนกิจ และสำนักงานปลัดกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเดิม ถูกยุบมารวมเป็น "กรมส่งเสริมสหกรณ์" เพียงกรมเดียว ส่วนกรมตรวจสอบบัญชีสหกรณ์ยังคงอยู่ในฐานะเดิม เพราะงานตรวจสอบบัญชีเป็นงานอิสระ กรมส่งเสริมสหกรณ์และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ขึ้นกับกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2515


           สหกรณ์ที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้มีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกตามความในพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 กำหนดสหกรณ์ออกเป็น 6 ประเภท คือ
           1. สหกรณ์ร้านค้า
           2. สหกรณ์ประมง
           3. สหกรณ์การเกษตร
           4. สหกรณ์บริการ
           5. สหกรณ์นิคม
           6. สหกรณ์ออมทรัพย์


แหล่งอ้างอิง
ผศ.สมัย รื่นสุข. การสหกรณ์. กรุงเทพฯ:แพร่วิทยา


Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Pellentesque volutpat volutpat nibh nec posuere. Donec auctor arcut pretium consequat. Contact me 123@abc.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น